July 25, 2019 14:53
ตอบโดย
วชิรวิทย์ สุทธิศักดิ์ (แพทย์ทั่วไป) (นพ.)
ยาเร่งประจำเดือนไม่มีนะครับ ประจำเดือนเป็นเลือดตามกลไกการตกไข่ของร่างกาย พวกยาสตรีต่างๆ ไม่ได้ช่วยตรงนั้นครับ
หลังรับประทานยาคุมฉุกเฉินจะมีเลือดออกทางช่องคลอดได้ ประมาณ ภายใน1 สัปดาห์หลังกินยา ซึ่งไม่ใช่เลือดประจำเดือน (อาจจะมากระปริบกระปรอย หรือ ไม่มีก็ได้ครับ)
ส่วนประจำเดือนจะมาไกล้เคียงกับรอบประจำเดือนปกติ เเต่อาจมาเร็วหรือช้ากว่ารอบเดือนปกติได้ 1-3สัปดาห์
ดังนั้น หากเกิน3สัปดาห์ไปเเล้วจากวันที่ประจำเดือนควรจะมา
ให้ตรวจการตั้งครรภ์ครับ
........
การจะให้ชัวร์ว่าไม่ท้องก็ต้องรอประจำเดือนจริงๆมาครับ ซึ่งก็อาจจะเลื่อนได้จากผลของยา
หากต้องการตรวจการตั้งครรภ์ ตรวจได้เร็วที่สุด2สัปดาห์หลังมีเพศสัมพันธ์ครับ ระหว่างนี้ถ้ามีเพศสัมพันธ์ใช้ถุงยางไปก่อนครับ
เเละการคุมกำเนิดโดยการคุมกำเนิดฉุกเฉินไม่ควรใช้เกินสองแผงต่อเดือนครับ
...........
หลังจากนี้ถ้าชัวร์ว่าไม่ท้องเเละประจำเดือนมาเเล้ว เเนะนำเลือกวิธีคุมกำเนิด เช่น ยาคุมรายเดือน ฝังยาคุม ฉีดยาคุม หรือใช้ถุงยางอนามัยครับ
.........
ส่วนโอกาสตั้งครรภ์
หากรับประทานยาคุมกำเนิดฉุกเฉินภายใน 12-24 ชม.แรกของการมีเพศสัมพันธ์ จะคุมกำเนิดได้ประมาณ 85% รับประทานภายใน 72 ชม. ประมาณ 75%
ส่วนถ้าเกิน 72 ชม.แต่ยังไม่เกิน 120 ชม. จะประมาณ 60% ครับ
สรุปคือยิ่งรับประทานช้า จะยิ่งมีโอกาสท้องครับ
อย่างที่บอกยาคุมกำเนิดฉุกเฉิน ไม่ควรรับประทานเกิน2แผงต่อเดือนครับ ถ้ามีเพศสัมพันธ์บ่อยๆ เเนะนำเป็นคุมกำเนิดรายเดือน หรือใช้ถุงยางอนามัยดีกว่าครับ
เนื่องจากยาคุมกำเนิดฉุกเฉินเป็นฮอร์โมนขนาดสูง
ในระยะยาวมีผลต่อรังไข่ได้ครับ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
ตอบโดย
จินตนา แสงโพธิ์ (เภสัชกร)
1. ไม่มีวิธีคุมกำเนิดใดที่สามารถป้องกันการตั้งครรภ์ได้ 100% โดยเฉพาะ การใช้ยาคุมฉุกเฉินซึ่งมีประสิทธิภาพต่ำกว่าวิธีคุมกำเนิดมาตรฐาน ก็มีโอกาสตั้งครรภ์ได้ 15 - 25% แม้จะใช้ครบขนาดและทันเวลา
แล้วเหตุใด ผู้ถามจึง "มั่นใจว่ายังไงก็ไม่ท้อง" ล่ะคะ
2. หากไม่มีการตั้งครรภ์ ผู้ใช้ยาคุมฉุกเฉินส่วนใหญ่ก็จะมีประจำเดือนมาตรงตามรอบประจำเดือนปกติ หรือคลาดเคลื่อน (เร็วหรือช้าก็ได้) เพียงไม่กี่วันอยู่แล้ว
ผู้ถามมีเหตุจำเป็นใดจึงต้องการเร่งให้ประจำเดือนมาเร็วขึ้นคะ
3. "ยาเร่งประจำเดือน" ที่ผู้ถามต้องการใช้ คือยาอะไรคะ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ตอบโดย
กันตณัฏฐ์
อยู่ตรีรักษ์ (แพทย์ทั่วไป)
(นพ.)
General physician
สวัสดีครับ
หลังการรับประทานยาคุมฉุกเฉินจะยังมีโอกาสผิดพลาดตั้งครรภ์ได้ประมาณ 15-25% ครับ ดังนั้นในกรณีนี้จึงไม่สามารถมั่นใจว่าจะไม่ตั้งครรภ์แน่ๆได้
ในกรณีที่ประจำเดือนขาดหายไปหมอก็แนะนำให้ลองตรวจการตั้งครรภ์ยืนยันดูก่อน โดยให้ตรวจห่างจากการมีเพศสัมพันธ์ครั้งสุดท้ายอย่างน้อย 14 วันและใช้ปัสสาวะแรกหลังตื่นนอนตอนเช้าในการตรวจ ก็จะให้ผลตรวจที่เชื่อถือได้ 97-99% ครับ
ถ้าหากตรวจแล้วไม่พบการตั้งครรภ์ประจำเดือนที่มาช้าก็อาจเกิดจากสาเหตุอื่น เช่น
- ไม่มีการตกไข่ในรอบเดือนที่ผ่านมา
- ระดับฮอร์โมนในเลือดที่ผิดปกติ
- ภาวะมีถุงน้ำหลายใบในรังไข่ (PCOS)
- ต่อมไทรอยด์ทำงานผิดปกติ
- การออกกำลังกายอย่างหักโหม
- น้ำหนักตัวที่มากหรือน้อยเกินไป
- ความเครียด
- ผลข้างเคียงของยาบางชนิด
ซึ่งในกรณีนี้ก็อาจรอประจำเดือนต่อไปก่อนได้ แต่ถ้าหากประจำเดือนขาดหายไปนานกว่า 3 เดือนหรือมีปัญหาประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมออยู่บ่อยๆก็ควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุครับ
ทั้งนี้หใอไม่แนะนำให้หายาใดๆมารับประทานเพื่อเร่งประจำเดือนด้วยตนเองจนกว่าจะทราบสาเหตุที่แน่ชัดครับ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ทำเลสิกวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 25,500 บาท ลดสูงสุด 35%!!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
กินยาคุมฉุกเฉินไปเมื่ออาทิตย์ที่แล้ว แต่มั่นใจว่ายังไงก็ไม่ท้อง สามารถกินยาเร่งประจำเดือนได้ไหมคะ เพราะปกติรอบเดือนมาสิ้นเดือนแต่ตอนนี้ยังไม่มา กินยาเร่งได้ไหมคะ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรคหรือการรักษา คุณควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจหากมีอาการน่ากังวล)