กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

ไส้ติ่งแตกคืออะไร?

เผยแพร่ครั้งแรก 10 ก.ย. 2019 อัปเดตล่าสุด 29 มี.ค. 2021 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
ไส้ติ่งแตกคืออะไร?

ไส้ติ่งแตกสามารถเป็นอันตรายถึงชีวิต

ลำไส้ใหญ่แบ่งออกเป็นหลายส่วนได้แก่ โคลอน (colon) เรกตัม (rectum) เอนัลคาเนล (anal canal) และซีกัม (cecum) ซึ่งเป็นกระเปาะเล็กๆ ในส่วนโคลอนของลำไส้ใหญ่ ไส้ติ่ง คือ อวัยวะที่มีลักษณะเป็นท่อคล้ายนิ้วมือขนาดยาวประมาณ 4 นิ้วต่อกับส่วนซีกัม หน้าที่ของไส้ติ่งยังไม่ทราบแน่ชัดนักแต่นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าไส้ติ่งช่วยให้แบคทีเรียที่มีประโยชน์สามารถกลับมาเจริญเติบโตในลำไส้ใหญ่ได้หลังจากมีการติดเชื้อที่รุนแรง

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ผ่าตัดไส้ติ่ง วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 56,050 บาท ลดสูงสุด 6,100 บาท

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

อย่างไรก็ตามผู้ป่วยที่ผ่าจัดเอาไส้ติ่งออกไปก็ไม่ทำให้เกิดปัญหาสุขภาพ ถ้าการอักเสบในท้องแพร่กระจายไปไส้ติ่งหรือโพรงไส้ติ่งอุดตันจะทำให้ไส้ติ่งอักเสบเละมีหนอง (ของเหลวที่เกิดจากเซลล์ที่ตาย) กลายเป็นไส้ติ่งอักเสบ ซึ่งจะมีอาการเจ็บแปลบที่ท้องด้านล่างขวาที่ไส้ติ่งอยู่ อาการเจ็บจะแย่ลงเมื่อขยับตัว หายใจลึก ไป และจาม  อาการของไส้ติ่งอักเสบอื่นๆ ได้แก่

การรักษามาตรฐานของไส้ติ่งอักเสบ คือ การผ่าตัดไส้ติ่งออก แต่ถ้าแพทย์ไม่ได้ผ่าตัดไส้ติ่งออกโดยเร็ว (มักจะภายใน 24-72 ชั่วโมงหลังจากเริ่มมีอาการ) ไส้ติ่งจะแตกได้ และที่สำคัญ ไส้ติ่งแตกนั้นไม่เหมือนกับการเป่าลูกโป่งแล้วลูกโป่งแตกแต่ไส้ติ่งที่แตกจะมีรอยแผลเล็กๆ ซึ่งทำให้ของเหลวในไส้ติ่งรั่วออกมาในช่องท้องทำให้เกิดการติดเชื้อส่วนอื่นๆ ได้ เช่น การติดเชื้อในกระแสเลือดที่เรียกว่าเซพติกซีเมีย (septicemia)

ไส้ติ่งแตกได้อย่างไร?

เมื่อไส้ติ่งติดเชื้อและอุดตันเชื้อแบคทีเรียที่ปกติอาศัยอยู่ในไส้ติ่งจะเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว ไส้ติ่งจะอักเสบและเป็นหนอง ซึ่งหนองที่ข้นนี้จะมีแบคทีเรีย เซลล์เนื้อเยื่อ และเม็ดเลือดขาวที่ตาย การติดเชื้อจะทำให้ความดันในโพรงไส้ติ่งเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ความดันที่เพิ่มขึ้นทำให้เลือดไหลผ่านผนังไส้ติ่งลดลง เนื้อเยื่อของไส้ติ่งก็จะขาดเลือดและเริ่มตาย หากยังดำเนินต่อไปเรื่อยๆ จนชั้นกล้ามเนื้อจุดใดจุดหนึ่งบางลงก็จะปริแตกออกทำให้หนองที่มีแบคทีเรียอยู่จากในโพรงไส้ติ่งทำลักออกมาในช่องท้อง

อันตรายของไส้ติ่งแตก

เมื่อไส้ติ่งแตกก็จะเริ่มรู้สึกดีขึ้นเนื่องจากอาการปวดลดลง แต่จะดีอยู่ไม่นานเนื่องจากไส้ติ่งที่แตกจะทำให้เกิดปัญหาตามมาฝีหนองจะเริ่มเกิดรอบๆ ไส้ติ่ง แผลเป็นและเนื้อเยื่อในท้องจะมาล้อมรอบไส้ติ่งที่เป็นฝีและของเหลวที่ซึมออกมาเพื่อป้องกันไม่ให้การติดเชื้อแพร่กระจาย ถ้าไส้ติ่งเป็นฝีก็จะมีอาการคล้ายไส้ติ่งอักเสบ ได้แก่

  • ปวดที่ท้องด้านล่างขวา
  • ถ่ายเหลว
  • ไม่อยากอาหาร
  • คลื่นไส้
  • อาเจียน

และยังมีอาการอื่นๆ ได้ที่ไม่พบในไส้ติ่งอักเสบทั่วไป เช่น ไม่มีแรง หนาวสั่น ไข้สูง และปวดถ่ายหน่วง นอกจากนี้ของเหลวที่ติดเชื้อที่รั่วจากไส้ติ่งจะทำให้เกิดเยื่อบุช่องท้องอักเสบซึ่งเป็นการติดเชื้อของเยื่อบุบางๆ คล้ายผ้าไหมที่บุผนังด้านในช่องท้อง การอักเสบและอาการเจ็บจะกระจายทั่วท้องและจะแย่ลงเมื่อขยับตัว อาการอื่นของเยื่อบุช่องท้องอักเสบ ได้แก่

  • ไม่อยากอาหาร
  • ไข้
  • คลื่นไส้
  • กระหายน้ำอย่างมาก
  • อาเจียน
  • หนาวสั่น
  • ปัสสาวะออกน้อยหรือไม่มีปัสสาวะ

การรักษาไส้ติ่งแตก

แพทย์จะรักษาฝีและเยื่อบุช่องท้องอักเสบก่อนผ่าตัดไส้ติ่ง การรักษาทำด้วยหารระบายหนองในท้องออกและรักษาการติดเชื้อด้วยยาปฏิชีวนะที่มีฤทธิ์แรงเป็นเวลา 6-8 สัปดาห์ อย่างไรก็ตามงานวิจัยบางชิ้นแนะนำว่า การผ่าตัดไส้ติ่งออกอย่างรวดเร็วหลังจากแตกจะฟื้นตัวได้เร็วกว่าและมีภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัดน้อยกว่าโดยเฉพาะในเด็ก

โดยไส้ติ่งแตกทำให้เสียชีวิตได้ถ้าไม่รักษา ทำให้การติดเชื้อในเยื่อบุช่องท้องจะแพร่กระจายไปอย่างรวดเร็วเกิดเป็นการติดเชื้อในกระแสเลือด ร่างกายจะหลั่งสารเคมีเข้าสู่กระแสเลือดเพื่อสู้กับการติดเชื้อกระตุ้นให้เกิดการตอบสนองต่ออักเสบทั่วร่างกายที่เรียกว่า เซพซิส (sepsis) และปฏิกิริยาต่างๆ ของร่างกายจะเกิดขึ้นตามมาเป็นลำดับจนกระทั่งความดันโลหิตต่ำจากการติดเชื้อส่งผลให้อวัยวะหลายอวัยวะล้มเหลวในที่สุดและในกรณีที่แย่ที่สุดคือเสียชีวิต


5 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Smink D, et al. Management of acute appendicitis in adults. https://www.uptodate.com/contents/search.
Martin RF. Acute appendicitis in adults: Clinical manifestations and differential diagnosis. https://www.uptodate.com/contents/search.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
ดูแลและจัดการอย่างไร เมื่อเป็นโรคไส้ติ่งอักเสบ
ดูแลและจัดการอย่างไร เมื่อเป็นโรคไส้ติ่งอักเสบ

รวมสาเหตุ วิธีรักษา การป้องกันโรคไส้ติ่งอักเสบ ทำได้อย่างไรบ้าง

อ่านเพิ่ม