งานวิจัยที่เพิ่งตีพิมพ์ในวารสาร JAMA Internal Medicine ได้ระบุว่ามีหลักฐานที่แสดงความเชื่อมโยงระหว่างการใช้ยาในกลุ่ม anticholinergic เช่น diphenhydramine' target='_blank'>Benadryl กับการเกิดโรคความจำเสื่อม
ยาในกลุ่ม anticholinergic นั้นจะไปยั้บยั้งการออกฤทธอ์ของ acetylcholine ซึ่งเป็นสารที่ทำหน้าที่ส่งสารภายในระบบประสาทของร่างกาย acetylcholine ในสมองยังมีส่วนในการเรียนรู้และความจำ ในขณะที่ acetylcholine ในส่วนอื่นๆ ของร่างกายนั้นจะกระตุ้นการหดตัวของกล้ามเนื้อ ตัวอย่างยาในกลุ่ม anticholinergic ประกอบด้วยยาแก้แพ้บางตัว. ยาต้านเศร้ากลุ่ม tricyclic, ยาที่ใช้ควบคุมการทำงานของกระเพาะปัสสาวะที่มากเกินไป และยาที่ใช้บรรเทาอาการของโรคพาร์กินสัน
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
สิ่งที่งานวิจัยค้นพบ
งานวิจัยที่เพิ่งตีพิมพ์นั้นได้ทำการติดตามผู้ชายและผู้หญิงที่มีอายุมากกว่า 65 ปีและทำการเก็บข้อมูลยาทุกชนิดที่พวกเขารับประทานในช่วง 10 ปีก่อนเข้าร่วมงานวิจัย ร่วมกับการติดตามข้อมูลการตรวจสุขภาพของแต่ละคนประมาณคนละ 7 ปี
นักวิจัยได้ค้นพบว่าการใช้ยาในกลุ่ม anticholinergic นั้นมีแนวโน้มที่จะทำให้เกิดโรคความจำเสื่อมได้มากขึ้น นอกจากนั้นหากมีการรับประทานยาสะสมมากขึ้น ก็จะเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคความจำเสื่อมให้มากขึ้นเช่นกัน การรับประทานยากลุ่ม anticholinergic เป็นเวลาอย่างน้อย 3 ปีหรือเทียบเท่านั้นทำให้เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคความจำเสื่อมถึง 54% เมื่อเทียบกับการรับประทานยาในกลุ่มดังกล่าวน้อยกว่า 3 เดือน
งานวิจัยนี้จึงเป็นหลักฐานที่สนับสนุนว่าไม่ควรใช้ยาในกลุ่ม anticholinergic ในระยะยาว ร่างกายมนุษย์มีการหลั่งสาร acetylcholine ลดลงเรื่อยๆ เมื่อมีอายุมากขึ้น ดังนั้นการไปยับยั้งการทำงานของสารนี้ในผู้สูงอายุจึงจะทำให้ผลข้างเคียงของยาเช่นมีปัญหาเกี่ยวกับความจำระยะสั้น, การให้เหตุผล สับสน, ง่วงนอน. ปากแห้ง. ปัสสาวะไม่ออกและท้องผูกเพิ่มขึ้น
งานวิจัยนี้ยังได้ล้มล้างความเชื่อที่ว่าหากรับประทานยาต้านเศร้าในกลุ่ม tricyclic นั้นจะช่วยลดอาการระยะเริ่มต้นของโรคความจำเสื่อมอีกด้วย
งานวิจัยนี้จึงเป็นเครื่องย้ำเตือนให้ทุกคนต้องคอยตรวจเช็ครายการยาที่ตนเองกำลังรับประทานอยู่เป็นระยะ เพื่อดูว่ายาดังกล่าวนั้นช่วยรักษาอาการของคุณได้อยู่หรือไม่
ยาหลายตัวจะมีผลข้างเคียงที่รุนแรงมากขึ้นให้ผู้สูงอายุ เนื่องจากผู้สูงอายุนั้นมีอายุที่มากขึ้น, การทำงานของไตและตับนั้นเกิดขึ้นช้าลงทำให้กำจัดยาออกจากเลือดได้ช้าลง ทำให้มียาคงอยู่ในกระแสเลือดได้นานขึ้น นอกจากนั้นผู้สูงอายุยังมีไขมันที่มากขึ้นและมีกล้ามเนื้อลดลงซึ่งจะไปเปลี่ยนแปลงการกระจายตัวและการสะสมของยาในเนื้อเยื่อส่วนต่างๆ ของร่างกาย ผู้สูงอายุยังมักจะมีการรับประทานยาหลายชนิดซึ่งอาจเกิดปฏิกิริยาระหว่างกันและส่งผลต่อประสิทธิภาพของยาได้
คุณควรทำอย่างไร?
คุณสามารถเข้าไปดูรายชื่อในกลุ่ม anticholinergic และดูว่ายาที่คุณกำลังรับประทานอยู่นั้นมีผลข้างเคียงที่เกี่ยวกับเรื่องของความจำรุนแรงในระดับใด เพราะว่าในบางกรณีก็สามารถเปลี่ยนไปใช้ยากลุ่มอื่นแทนได้ เช่นการเปลี่ยนจากการรับประทานยาต้านเศร้ากลุ่ม tricyclic ไปเป็นยาในกลุ่ม selective serotonin re-uptake inhibitor (SSRIs) เช่น citalopram (Celexa) หรือ fluoxetine (Prozac) หรือการรับประทานยาแก้แพ้กลุ่มใหม่เช่น loratadine (Claritin) แทน diphenhydramine หรือ chlorpheniramine (Chlor-Trimeton) การฉีดโบทอกซ์และการฝึกความทรงจำนั้นก็สามารถช่วยลดอาการกลั้นปัสสาวะไม่ได้ได้เช่นกัน
แต่วิธีที่ง่ายที่สุดที่คุณควรทำก็คือการนำยาทั้งหมดที่คุณกำลังรับประทานอยู่ทั้งยาที่แพทย์สั่งและยาที่ซื้อมารับประทานเองไปให้แพทย์ดูเมื่อพบแพทย์ครั้งถัดไป