ยารักษาโรคกรดไหลย้อนมีผลข้างเคียงเกี่ยวกับเรื่องความจำหรือไม่?

เผยแพร่ครั้งแรก 13 ก.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
ยารักษาโรคกรดไหลย้อนมีผลข้างเคียงเกี่ยวกับเรื่องความจำหรือไม่?

งานวิจัยล่าสุดได้กล่าวว่าการใช้ยาในกลุ่ม proton pump inhibitor เพื่อรักษาโรคกรดไหลย้อนเป็นเวลานานนั้นอาจจะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะความจำเสื่อม

ยาในกลุ่ม proton pump inhibitor (PPIs) เป็นยาที่มักใช้รักษาโรคกรดไหลย้อน, อาการแสบร้อนกลางหน้าอก และแผลในกระเพาะอาหาร โดยยาในกลุ่มนี้ (เช่น omeprazole, lansoprazole, esomeprazole, pantoprazole และอื่นๆ) นั้นจะช่วยลดระดับความเป็นกรดในกระเพาะอาหารที่สร้างขึ้นจากเยื่อบุภายในกระเพาะ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

งานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสาร JAMA Neurology ได้กล่าวว่าการใช้ยา PPI เป็นเวลานานนั้นมีความเกี่ยงข้องกับความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะความจำเสื่อม โดยในงานวิจัยนี้ ได้ทำการเปรียบเทียบผู้ที่รับประทานยา PPI และผู้ที่เป็นโรคความจำเสื่อม โดยยาในกลุ่ม PPIs ที่มีการใช้มากที่สุดคือ omeprazole (Prilosec), pantoprazole (Protonix), และ esomeprazole (Nexium) 

หลังจากติดตามผู้เข้าร่วมงานวิจัยไป 8 ปีพบว่าผู้ที่มีการรับประทานยา PPIs เป็นเวลานานนั้นมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคความจำเสื่อมมากกว่าคนที่ไม่ได้รับประทานถึง 44% และผู้ชายมีความเสี่ยงมากกว่าผู้หญิงเล็กน้อย ผู้ที่รับประทานยา PPIs เป็นบางครั้งนั้นมีความเสี่ยงน้อยกว่าอย่างเห็นได้ชัด

แล้วงานวิจัยนี้หมายความอย่างไร?

งานวิจัยนี้ไม่ได้หมายความว่าผู้ที่รับประทานยา PPIs ทุกคนนั้นจะต้องเป็นโรคความจำเสื่อม แต่ชวนให้คิดถึงผลข้างเคียงระยะยาวของการใช้ยามากกว่าโดยเฉพาะในผู้สูงอายุที่มักจะมีการรับประทานยามากเกินความจำเป็นและมักจะรับประทานยาเป็นเวลานานแม้ว่าจะไม่ต้องรับประทานแล้วก็ตาม

ในปัจจุบันมีผู้สูงอายุผู้ชายประมาณ 44% และผู้หญิง 57% ที่รับประทานยามากกว่า 5 ชนิดและมี 12% ที่รับประทานยามากกว่า 10 ชนิด ทำให้นักวิจัยต้องพยายามค้นหาและทำความเข้าใจเกี่ยวกับปฏิกิริยาระหว่างยาที่อาจเกิดขึ้นรวมถึงผลข้างเคียงระยะยาวที่เกิดจากการใช้ยา

ในปัจจุบันยังไม่ทราบว่ายากลุ่ม PPIs นั้นจะทำให้เกิดโรคความจำเสื่อมได้อย่างไร แต่เชื่อว่าอาจจะมียาอาจจะผ่านเข้าสู่สมองได้มากขึ้นเมื่ออายุมากขึ้น งานวิจัยในสัตว์ทดลองพบว่ายากลุ่มนี้จะทำให้มีการเพิ่มระดับ beta amyloid ในหนู ซึ่งโปรตีนชนิดนี้มีความเกี่ยวข้องกับการเกิดโรคความจำเสื่อมและโรคอัลไซเมอร์ งานวิจัยอีกชิ้นหนึ่งได้กล่าวถึงความเกี่ยวข้องระหว่างการใช้ยา PPI ในระยะยาวกับการขาดวิตามิน B12 ซึ่งทำให้เกิดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคกระดูกพรุนเพิ่มขึ้น นักวิจัยจึงต้องทำการศึกษาเพิ่มเติม โดยเฉพาะกับยาในกลุ่มนี้ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นยาที่ปลอดภัยโดยเฉพาะในผู้สูงอายุมาโดยตลอด

คุณควรจะต้องทำอย่างไรหากคุณกำลังรับประทานยาในกลุ่มนี้

หากคุณกำลังรับประทานยาในกลุ่มนี้ทุกวันหรือรับประทานมานานเกิน 18 เดือน คุณควรปรึกษาแพทย์ว่าควรจะต้องรับประทานยาต่อไปหรือไม่ คุณควรรับประทานยาเมื่อคุณมีอาการแต่ไม่จำเป็นต้องรับประทานยาตลอดไป


3 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Can a heartburn drug cause cognitive problems?. Harvard Health. (https://www.health.harvard.edu/blog/can-heartburn-medication-cause-cognitive-problems-201603219369)
Proton Pump Inhibitors and Dementia: Physiopathological Mechanisms and Clinical Consequences. National Center for Biotechnology Information. (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC5883984/)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป