Alkaline phosphatase (ALP)

ข้อควรรู้เกี่ยวกับการตรวจ Alkaline phosphatase (ALP) ทางเลือด เพื่อวินิจฉัยความผิดปกติของตับ และความผิดปกติของกระดูก
เผยแพร่ครั้งแรก 7 เม.ย. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
Alkaline phosphatase (ALP)

การตรวจ Alkaline phosphatase (ALP) โดยเก็บตัวอย่างจากเลือดไปทดสอบ ทำเพื่อตรวจหาความผิดปกติของกระดูก และความผิดปกติของตับ รวมทั้งอาการผิดปกติอื่นๆ ที่อาจทำให้ค่า ALP มีการเปลี่ยนแปลงไป

ชื่ออื่น: ALP, Alk Phos, Alkp, Alkaline phosphatase isoenzymes, Bone specific ALP

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

ชื่อทางการ: Alkaline Phosphatase

จุดประสงค์ของการตรวจ Alkaline phosphatase (ALP)

แพทย์จะตรวจ ALP เพื่อตรวจหาโรคตับหรือความผิดปกติของกระดูก โดยมีรายละเอียด ดังนี้

  • ในภาวะที่ส่งผลต่อตับ เซลล์ตับที่เสียหายจะปล่อย ALP เข้าไปในเลือดเพิ่มขึ้น ซึ่งแพทย์จะตรวจ ALP เพื่อตรวจหาการอุดตันของท่อน้ำดี เพราะบริเวณขอบของเซลล์ที่ประสานกันเพื่อสร้างท่อน้ำดี จะมีปริมาณของ ALP สูงมากเป็นพิเศษ หากมีท่อน้ำดีหนึ่งหรือมากกว่าหนึ่งท่ออุดตัน ALP ในเลือดก็จะมีค่าสูง
  • ภาวะที่ส่งผลต่อการเจริญเติบโตของกระดูก หรือทำให้กิจกรรมภายในเซลล์กระดูกเพิ่มขึ้นสามารถส่งผลต่อระดับของ ALP ในเลือด ซึ่งแพทย์อาจตรวจ ALP เพื่อหามะเร็งที่แพร่กระจายไปยังกระดูก หรือเพื่อช่วยวินิจฉัยโรค Paget's ซึ่งเป็นภาวะที่ทำให้กระดูกผิดรูป

หาก ALP เพิ่มขึ้นแต่ยังไม่ชัดเจนว่าเกิดจากโรคตับหรือโรคกระดูก แพทย์ก็อาจตรวจ ALP isoenzyme เพื่อหาสาเหตุเพิ่มเติม

นอกจากนี้แพทย์อาจนำวิธีตรวจเอนไซม์ Gamma-glutamyl transferase (GGT) หรือการตรวจ 5'-nucleotidase มาใช้เพื่อแยกความแตกต่างระหว่างโรคตับและโรคกระดูก ซึ่งระดับของ GGT และ 5'-nucleotidase จะเพิ่มขึ้นในผู้ที่เป็นโรคตับ แต่จะไม่พบในผู้ที่มีความผิดปกติเกี่ยวกับกระดูก

เมื่อไรที่ต้องตรวจ Alkaline phosphatase?

ปกติแล้ว แพทย์จะตรวจ ALP กับกลุ่มของการตรวจอื่นๆ ที่เรียกว่า Liver Panel หรืออาจพิจารณาให้มีการตรวจเพิ่มเติม หากพบผู้ที่มีอาการที่บ่งชี้ถึงความผิดปกติที่ตับหรือกระดูก

สัญญาณและอาการของโรคตับ ประกอบไปด้วย

สัญญาณและอาการที่บ่งบอกถึงความผิดปกติของกระดูก ประกอบไปด้วย

  • เจ็บกระดูก และ/หรือข้อต่อ
  • กระดูกหักบ่อยขึ้น
  • กระดูกผิดรูป

วิธีเก็บตัวอย่างเพื่อตรวจ Alkaline phosphatase

ผู้เข้ารับการตรวจ จะถูกเจาะที่เส้นเลือดดำที่แขนเพื่อเก็บตัวอย่างเลือด เนื่องจากการรับประทานอาหารบางอย่างสามารถทำให้ระดับของ ALP เพิ่มขึ้นเล็กน้อย จึงควรงดรับประทานอาหาร 1 คืนก่อนตรวจ แต่ผู้เข้ารับการตรวจยังสามารถดื่มน้ำเปล่าได้ตามปกติ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

การตรวจ Alkaline phosphatase (ALP)

Alkaline phosphatase (ALP) เป็นเอนไซม์ที่สามารถพบได้ในเนื้อเยื่อหลายแห่งทั่วทั้งร่างกาย แต่จะมีความเข้มข้นสูงสุดในเซลล์กระดูกและตับ หากพบระดับของ ALP เพิ่มขึ้นในเลือด ก็มักจะเกิดจากโรคตับ หรือความผิดปกติของกระดูกเป็นหลัก

ระดับของ ALP ในเลือด สามารถเพิ่มขึ้นได้จากในบางกรณี เช่น หากถุงน้ำดีหรือนิ่วน้ำดีอักเสบ ก็จะส่งผลให้ท่อน้ำดีหนึ่งท่อหรือมากกว่านี้อุดตัน และยังสามารถพบ ALP เพิ่มขึ้นในเลือดได้เล็กน้อยในคนที่เป็นโรคมะเร็งตับและภาวะตับแข็ง คนที่ใช้ยาที่เป็นพิษต่อตับ และคนที่เป็นโรคตับอักเสบ

ส่วนภาวะใดๆ ก็ตามที่ทำให้ร่างกายสร้างกระดูกมากผิดปกติ เช่น ความผิดปกติของกระดูกที่เรียกว่า โรคพาเก็ท (Paget's disease) ก็สามารถทำให้ระดับของ ALP เพิ่มขึ้น โดยทั่วไปแล้วเด็กและวัยรุ่นจะมี ALP ในเลือดสูง เพราะกระดูกยังคงเจริญเติบโต จึงจำเป็นต้องใช้ค่าอ้างอิงที่ต่างกันสำหรับเด็กและผู้ใหญ่เมื่อแปลผลด้วย

ความหมายของผลตรวจ Alkaline phosphatase

โดยทั่วไปแล้วการมี ALP สูง หมายความว่าตับเสียหาย หรือมีภาวะที่ทำให้กิจกรรมของเซลล์กระดูกเพิ่มขึ้น

หากสัญญาณ อาการ หรือการตรวจอื่นๆ ไม่ชัดเจนพอที่จะบอกได้ว่า ALP ที่สูงขึ้นนั้นเกิดจากตับหรือกระดูก แพทย์ก็อาจให้ตรวจ ALP isoenzymes เพื่อหาความแตกต่างระหว่าง ALP ของกระดูกและตับ

การที่ ALP เพิ่มขึ้นระดับปานกลาง อาจเป็นผลจากภาวะอื่นๆ เช่น

ขณะเดียวกับแพทย์อาจพบ ALP ต่ำลงชั่วคราว หลังจากที่ถ่ายเลือดหรือผ่าตัดบายพาสหัวใจ นอกจากนี้ ALP อาจลดลง ด้วยสาเหตุดังนี้

  • การขาดแร่ธาตุสังกะสี (Zinc)
  • ความผิดปกติทางพันธุกรรมที่เรียกว่า Hypophosphatasia สามารถทำให้ ALP ต่ำจนถึงระดับที่ร้ายแรง
  • การขาดสารอาหารหรือโปรตีน
  • โรควิลสัน

มีอะไรเกี่ยวกับ Alkaline phosphatase ที่ควรรู้อีกบ้าง?

การตั้งครรภ์สามารถทำให้ ALP เพิ่มขึ้น นอกจากนี้ ALP ก็อาจเพิ่มขึ้นชั่วคราวในช่วงรักษาอาการกระดูกหัก

ยาบางชนิดอาจส่งผลต่อระดับของ ALP เช่น ยาคุมกำเนิดแบบทานอาจทำให้ ALP ลดลง ในขณะที่ยากันชัก (Anti-epileptics) อาจทำให้ ALP เพิ่มขึ้น

ที่มาของข้อมูล

Lab Test Online, Alkaline Phosphatase (ALP) (https://labtestsonline.org/tests/alkaline-phosphatase-alp), 19 December 2018.


9 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Alkaline Phosphatase Lab Test Information. MedlinePlus. (https://medlineplus.gov/lab-tests/alkaline-phosphatase/)
Alkaline phosphatase (ALP) level test: High and low levels. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/321984)
Alkaline Phosphatase: An Overview. National Center for Biotechnology Information. (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC4062654/)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)