การตรวจ Aldosterone และ Renin โดยเก็บตัวอย่างจากเลือดไปทดสอบ ทำเพื่อประเมินว่าต่อมหมวกไตมีความผิดปกติ ซึ่งเป็นสาเหตุของภาวะ Primary aldosteronism (PA) ที่ทำให้เกิดภาวะความดันโลหิตสูงหรือไม่
ชื่ออื่น: Aldosterone and Plasma Renin Activity, PRA
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
ชื่อทางการ: Aldosterone, Serum; Aldosterone, Urine; Renin
จุดประสงค์การตรวจ Aldosterone และ Renin
การตรวจ Aldosterone และ Renin ทำเพื่อประเมินว่าต่อมหมวกไตกำลังทำงานตามปกติหรือไม่ การตรวจเหล่านี้มีประโยชน์มากที่สุดสำหรับตรวจหาภาวะ Primary aldosteronism (PA) หรือ Conn’s syndrome ซึ่งทำให้ผู้ป่วยมีความดันโลหิตสูง
ระดับของอัลดอสเตอโรนและเรนินจะมีค่ามากที่สุดในตอนเช้าและจะผันผวนตลอดวัน การทำกิจกรรมต่างๆ ในแต่ละวัน ความเครียด และการรับประทานยาหลายชนิด สามารถส่งผลต่อระดับของอัลดอสเตอโรนและเรนินได้ทั้งนั้น
เมื่อไรที่ต้องตรวจ Aldosterone และ Renin?
แพทย์มักตรวจ Aldosterone และ Renin พร้อมกัน เมื่อผู้ป่วยมีความดันโลหิตสูงและมีโพแทสเซียมต่ำ แต่ถึงแม้โพแทสเซียมอยู่ในระดับปกติ ก็อาจต้องได้รับการตรวจหากไม่สามารถควบคุมภาวะนี้ด้วยยาทั่วไปได้ เนื่องจากผู้ป่วยอาจมีภาวะ Primary aldosteronism
หากแพทย์สงสัยว่าผู้ป่วยมีภาวะพร่องฮอร์โมนต่อมหมวกไตหรือโรคแอดดิสัน ก็อาจจะตรวจระดับของอัลดอสเตอโรนควบคู่กับการตรวจประเภทอื่นๆ เช่น การตรวจ ACTH Stimulation ที่มีการตรวจระดับของอัลดอสเตอโรนควบคู่กับคอร์ติซอล ซึ่งมีจุดประสงค์ดังนี้
- ตรวจหาโรคแอดดิสัน
- ตรวจการทำงานของต่อมใต้สมอง
- ตรวจหาเนื้องอกที่ต่อมใต้สมอง
หากผลตรวจเป็นปกติ คอร์ติซอลจะเพิ่มขึ้น และอัลดอสเตอโรนจะเพิ่มขึ้น หลังจากกระตุ้นโดย ACTH
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
วิธีเก็บตัวอย่างเลือดเพื่อตรวจ Aldosterone และ Renin
ผู้เข้ารับการตรวจจะถูกเข็มเจาะที่เส้นเลือดดำเพื่อเก็บตัวอย่างเลือดสำหรับวัดปริมาณของอัลดอสเตอโรนและเรนิน นอกจากนี้ผู้เข้ารับการตรวจอาจต้องเก็บปัสสาวะในช่วง 24 ชั่วโมง เพราะระดับของอัลดอสเตอโรนในเลือดจะผันผวนตลอดวัน
ในบางกรณี อาจต้องเก็บตัวอย่างเลือดจากไตหรือเส้นเลือดดำที่ต่อมหมวกไตโดยใช้สายสวน ซึ่งจะต้องทำโดยผู้เชี่ยวชาญในโรงพยาบาล ซึ่งแพทย์จะแนะนำให้คุณจัดอิริยาบทให้อยู่ในลักษณะตั้งตรงหรือนอนราบระยะหนึ่งก่อนเก็บตัวอย่าง 15-30 นาที นอกจากนี้แพทย์อาจสั่งให้คุณหลีกเลี่ยงเครื่องดื่ม อาหาร หรือยาบางชนิดก่อนเข้ารับการตรวจ
รายละเอียดการตรวจ Aldosterone และ Renin
อัลดอสเตอโรน (Aldosterone) เป็นฮอร์โมนที่มีหน้าที่รักษาระดับความเข้มข้นของโซเดียมและโพแทสเซียมในเลือด ควบคุมปริมาณเลือด และความดันโลหิต ในขณะที่เรนิน (Renin) เป็นเอนไซม์ที่ควบคุมการผลิตอัลดอสเตอโรน
ต่อมหมวกไตจะผลิตฮอร์โมนอัลดอสเตอโรน ส่วนไตจะผลิตเรนินเพื่อควบคุมการทำงานของฮอร์โมน Angiotensin ซึ่งฮอร์โมนชนิดนี้ไปช่วยกระตุ้นต่อมหมวกไตให้ผลิตอัลดอสเตอโรน โดยไตจะหลั่งเรนินเมื่อความดันโลหิตลดลง เพื่อให้ต่อมหมวกไตผลิตอัลดอสเตอโรน ทำให้ความดันโลหิตเพิ่มขึ้นและรักษาระดับของโซเดียมและโพแทสเซียมให้อยู่ในระดับปกติ
มีหลายภาวะที่อาจทำให้ต่อมหมวกไตผลิตอัลดอสเตอโรนมากหรือน้อยเกินไป ด้วยความที่เรนินและ อัลดอสเตอโรนสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด แพทย์จึงมักตรวจสารเหล่านี้พร้อมกันเพื่อหาสาเหตุที่ทำให้เกิดความผิดปกติขึ้น
การตรวจ Aldosterone suppression เพื่อใช้ยืนยันการวินิจฉัยภาวะ Primary aldosteronism มีวิธีการตรวจ ดังนี้
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
- แพทย์อาจพิจารณาให้ผู้เข้ารับการตรวจรับทานอาหารที่มีเกลือสูงเป็นเวลา 3 วัน ก่อนตรวจอัลดอสเตอโรนและโซเดียมในปัสสาวะ
- ผู้เข้ารับการตรวจอาจถูกฉีดน้ำเกลือเข้าทางเส้นเลือดดำ แล้วค่อยวัดระดับของอัลดอสเตอโรน
- ผู้เข้ารับการตรวจอาจต้องทานอาหารที่มีเกลือสูง และได้รับยา Fludrocortisone ก่อนจะถูกวัดระดับของอัลดอสเตอโรน
ความหมายของผลตรวจ Aldosterone และ Renin
ตารางด้านล่างบ่งชี้ถึงการเปลี่ยนแปลงของเรนิน อัลดอสเตอโรน และคอร์ติซอลที่เกิดขึ้นในผู้ที่มีความผิดปกติต่างกัน
อัลดอสเตอโรน |
คอร์ติซอล |
เรนิน |
|
Primary aldosteronism |
สูง |
ปกติ |
ต่ำ |
Secondary aldosteronism |
สูง |
ปกติ |
สูง |
โรคแอดดิสัน |
ต่ำ |
ต่ำ |
สูง |
กลุ่มอาการคูชชิ่ง |
ต่ำ |
สูง |
ต่ำ |
ภาวะ Primary aldosteronism เกิดจากการที่ต่อมหมวกไตผลิตอัลดอสเตอโรนมากเกินไป โดยมักเกิดจากเนื้องอกชนิดไม่ร้ายแรง การมีระดับของอัลดอสเตอโรนสูงทำให้การดูดกลับโซเดียมเพิ่มขึ้น และไตจะทำลายโพแทสเซียม ซึ่งมักจะทำให้เกิดปัญหาอิเล็กโทรไลต์เสียสมดุล ผู้ป่วยจะมีสัญญาณและอาการต่างๆ เช่น ความดันโลหิตสูง ปวดศีรษะ และกล้ามเนื้ออ่อนแอ
บางครั้งอาจต้องเก็บเลือดจากเส้นเลือดดำของต่อมหมวกไตทั้งสองข้าง เพื่อที่จะพิจารณาว่าต่อมหมวกไตฝั่งเดียวหรือสองฝั่งที่ได้รับผลกระทบ และเพื่อตัดสินว่า ปริมาณของอัลดอสเตอโรนที่ต่อมหมวกไตแต่ละข้างผลิตแตกต่างกันหรือไม่
ภาวะ Secondary aldosteronism สามารถพบได้บ่อยกว่าภาวะ Primary aldosteronism โดยสาเหตุที่สำคัญที่สุดที่ทำให้เกิดภาวะ Secondary aldosteronism คือ การมีเส้นเลือดที่ลำเลียงสารต่างๆ ไปยังไตตีบแคบ (Renal artery stenosis) ภาวะนี้มักมาพร้อมกับภาวะหัวใจล้มเหลว ภาวะตับแข็ง โรคไต โรคพิษแห่งครรภ์ระยะก่อนชัก และภาวะขาดน้ำ
ส่วนการมีอัลดอสเตอโรนต่ำ มักเป็นส่วนหนึ่งของภาวะต่อมหมวกไตทำงานน้อยกว่าปกติ ส่งผลให้เกิดภาวะดังนี้
- ภาวะขาดน้ำ
- ภาวะความดันโลหิตต่ำ
- ระดับโซเดียมในเลือดต่ำ
- ระดับโพแทสเซียมสูง
สิ่งที่ควรรู้เกี่ยวกับการตรวจ Aldosterone และ Renin
- ปริมาณของเกลือในอาหารและยาบางชนิดสามารถส่งผลกระทบต่อผลตรวจ เช่น
- ยาบรรเทาปวดที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ที่ซื้อได้ตามร้านขายยา
- ยาขับปัสสาวะ
- ยาต้านเบต้า
- สเตียรอยด์
- ยาต้านเอนไซม์เอซีอี
- ยาคุมกำเนิดชนิดทาน
- ความเครียด การออกกำลังกาย และการตั้งครรภ์ก็สามารถส่งผลต่อผลตรวจเช่นกัน
- ชะเอมเทศอาจเลียนแบบสารอัลดอสเตอโรน จึงควรหลีกเลี่ยงการทานชะเอมเทศอย่างน้อย 2 สัปดาห์ก่อนเข้ารับการตรวจ
- ไม่ควรตรวจอัลดอสเตอโรนในช่วงที่ป่วยหนัก เพราะระดับของอัลดอสเตอโรนจะต่ำมาก
ที่มาของข้อมูล
Lab Test Online, Aldosterone and Renin (https://labtestsonline.org/tests/aldosterone-and-renin), 21 December 2018.