กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

อายุน้อย แต่อวัยวะเพศชายไม่แข็ง เกิดจากอะไรบ้าง

เผยแพร่ครั้งแรก 3 มี.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 29 มี.ค. 2021 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
อายุน้อย แต่อวัยวะเพศชายไม่แข็ง เกิดจากอะไรบ้าง

ปัญหา “นกเขาไม่ขัน” หรืออาการหย่อนสมรรถภาพทางเพศที่เกิดกับหนุ่ม ๆ ซึ่งเป็นวัยที่ไม่ควรมีปัญหาแบบนี้ อาจทำให้เกิดปัญหาชีวิตคู่ได้เลยทีเดียว สาเหตุของโรคนี้อาจจะเกิดจากปัญหาทางกายภาพ หรืออาจจะเกิดจากจิตใจก็ได้ มาดูกันว่า ปัญหาการไม่แข็งตัวตั้งแต่อายุยังน้อยเกิดจากอะไร แล้วเราจะแก้อย่างไรกันได้บ้าง

ปัญหาการไม่แข็งตัวตอนอายุน้อยเกิดจากอะไร?

1. ปัญหาทางจิตใจและอารมณ์

หนุ่มๆ หรือคุณผู้ชายอาจจะมีความกังวล ความรู้สึกผิดรบกวนใจ หรืออาจจะมีภาวะความเครียดสะสม ซึ่งสามารถรบกวนและขัดขวางการกระตุ้นการทำงานของร่างกายเพื่ออวัยวะเพศแข็งตัวได้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
รักษาหย่อนสมรรถภาพ วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 1,930 บาท ลดสูงสุด 70%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

แก้อย่างไร: คุณผู้ชายควรหันมาเปิดใจพูดถึงปัญหาหรือความกังวลใจต่างๆ กับคู่ครองหรือคนรัก ยิ่งหากมีความเครียด

เก็บไว้กับตัวเองนานๆ ควรจะลองเปิดใจหาทางปรึกษาหาทางออกร่วมกัน

2. ทำงานหนักเกินไปหรือเปล่า

คุณผู้ชายหลายท่านต้องแบกรับหน้าที่ต่างๆ มากมาย ทั้งความรับผิดชอบที่บ้านและที่ทำงาน หรืออาจจะมีปัญหาอื่นๆ รุมเร้าทำให้เกิดเป็นความเครียด ซึ่งส่งผลต่อแรงขับทางเพศได้เช่นกัน

แก้ไขอย่างไร: หาเวลาผ่อนคลายบ้าง จัดสภาพแวดล้อมที่ทำงานและที่บ้านให้ดูสะอาดตา ควรออกกำลังกายเป็นประจำอย่างน้อย 3-4 วันต่อสัปดาห์ และนอนหลับให้เพียงพอเสมอ

3. ดื่มแอลกอฮอล์มากไปก็มีผล

หนุ่มๆ ที่ดื่มแอลกอฮอล์เยอะๆ สูบบุหรี่จัดๆ ไม่ออกกำลังกาย ก็มีฤทธิ์ส่งผลในการยับยั้งการไหลเวียนของเลือด ส่งผลให้เกิดภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศได้

แก้ไขอย่างไร: ดื่มแอลกอฮอล์ไม่เกินวันละ 2 แก้ว ลดการสูบบุหรี่ และออกกำลังกายเป็นประจำ คุณผู้ชายรู้หรือไม่ แค่การวิ่งเหยาะๆ วันละ 15-30 นาที การเดินเร็ว หรืออาจเดินแทนการนั่งรถในระยะทางใกล้ๆ ก็ช่วยเพื่อกระตุ้นการไหลเวียนเลือดได้เลยทีเดียว

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
รักษาหย่อนสมรรถภาพ วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 1,930 บาท ลดสูงสุด 70%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

4. ฮอร์โมนเปลี่ยนแปลง

ระดับฮอร์โมนที่มีผลต่อความต้องการทางเพศลดลง รวมไปถึง ระดับเทสโทสเทอโรนที่ลดลงต่ำกว่าปกติ และภาวการณ์ทำงานที่ผิดปกติของต่อมไทรอยด์ ก็มีผลอย่างมาก

แก้ไขอย่างไร: หนุ่มๆ ควรมีการตรวจร่างกายเป็นประจำเพื่อวัดระดับฮอร์โมนอยู่เสมอ หากมีปัญหาจะได้ปรึกษาแพทย์เพื่อรักษาระดับฮอร์โมนให้เป็นปกติได้ทันเวลา

5. ยาบางชนิดก็ทำให้สมรรถภาพหย่อนลงได้

หากหนุ่มๆ ท่านไหนกำลังทานยารักษาอาการซึมเศร้า ยาแก้แพ้ ยาโรคจิตเภท ยาระงับประสาท ยาลดความดันโลหิตบางชนิด ยาเหล่านี้ส่งผลกระทบต่อระบบสมอง ผลคือ สามารถลดความต้องการหรือแรงขับทางเพศได้

แก้ไขอย่างไร: ปรึกษาแพทย์หากมีอาการ และขอเปลี่ยนเป็นยาอื่นทดแทนหากเป็นไปได้

6. มีโรคประจำตัว

อาทิเช่น โรคหัวใจ โรคปอด โรคไต โรคตับ มะเร็ง หรือโรคที่เกิดจากเส้นปลายประสาทถูกทำลายจากปัญหาโรคเบาหวาน ซึ่งอาจส่งผลต่อกล้ามเนื้อ การไหลเวียนของเลือด ความผิดปกติทางสมองต่างๆ เนื้องอกในสมอง เส้นเลือดในสมองอุดตัน อาจส่งผลต่อระบบประสาท รวมไปถึงการผ่าตัดกระดูกเชิงกราน และความผิดปกติของระบบประสาทส่วนกลาง

แก้ไขอย่างไร: การดูแลสุขภาพให้ดีและแข็งแรงอยู่เสมอนั้นสำคัญมาก ทั้งการกินอาหารให้มีประโยชน์เพื่อป้องกันโรคภัยต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้น รวมถึงเพื่อรักษาโรคที่เปิดอยู่ ก็อาจทำให้ร่างกายฟื้นฟู กลับมีมีกำลัง มีแรง และเพิ่มแรงขับทางเพศได้

7. น้ำหนักเพิ่มขึ้น

ปัญหาน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้น ส่งผลต่อระดับฮอร์โมนเทสทอสเทอโรน เกี่ยวโยงกับปัญหาโรคความดันโลหิตสูง และการแข็งตัวของหลอดเลือดแดง รวมถึงส่งผลต่อความมั่นใจในเชิงบุคลิกภาพ เหล่านี้ส่งผลต่อการแข็งตัวของอวัยวะเพศและแรงขับทางเพศได้ทั้งสิ้น

แก้ไขอย่างไร: หันกลับมาดูแลตัวเองให้มากขึ้น อาจจะชวนคนรักไปออกกำลังกายด้วยกัน ทำให้สุขภาพดีมีความสุขทั้งครอบครัวอีกด้วย

การหย่อนสมรรถภาพทางเพศไม่ใช่แค่เรื่องของวัยเท่านั้น ถึงแม้จะมีอายุยังน้อยแต่ก็อาจเกิดขึ้นได้จากปัจจัยอื่น เช่นความเครียด ปัญหาสุขภาพ ซึ่งเป็นสัญญานที่ดีในการสะท้อนถึงปัญหาสุขภาพของทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ อย่างไรก็ตาม อย่าปล่อยให้เป็นปัญหายาวนาน เพราะอาจเกิดปัญหาด้านความสัมพันธตามมาก็เป็นได้ ไมว่าคุณผู้ชายจะวัยไหน อย่าลืมดูแลสุขภาพตนเองให้ดีอยู่เสมอ


2 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Aging related erectile dysfunction—potential mechanism to halt or delay its onset. National Center for Biotechnology Information. (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC5313305/)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป