การตัดต่อม adenoid

เผยแพร่ครั้งแรก 7 ต.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
การตัดต่อม adenoid

การตัดต่อม adenoid นั้นเป็นการผ่าตัดเพื่อนำต่อมที่อยู่บริเวณเพดานปากในบริเวณด้านหลังของเพดานอ่อนซึ่งเป็นจุดที่จมูกนั้นเชื่อมต่อกับคอหอยออก ต่อม adenoid นั้นทำหน้าที่สร้างภูมิคุ้มกัน หรือเซลล์เม็ดเลือดขาวเพื่อต่อสู้กับเชื้อโรค ส่วนมากต่อมนี้นั้นมักจะมีขนาดเล็กลงเมื่อเข้าสู่วัยรุ่นและอาจจะหายไปเมื่อเข้าสู่วัยผู้ใหญ่

แพทย์มักจะทำการตัดต่อม adenoid พร้อมกับต่อมทอนซิลไปพร้อมกันหากมีการติดเชื้อที่คอและระบบทางเดินหายใจซึ่งทำให้เกิดการอักเสบและติดเชื้อที่ต่อมทั้ง 2 อยู่บ่อยครั้ง

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

ทำไมถึงต้องตัดต่อม adenoid

การติดเชื้อที่คอบ่อยๆ นั้นสามารถทำให้ต่อม adenoid นั้นมีขนาดใหญ่ขึ้นได้ ซึ่งจะทำให้ขัดขวางการหายใจและทำให้ท่อ eustachian ที่เชื่อมระหว่างหูชั้นกลางและด้านหลังของจมูกนั้นอุดตัน เด็กบางคนอาจจะเกิดมาพร้อมกับการมีต่อม adenoid โตได้

การที่ท่อ eustachian นั้นอุดตันสามารถทำให้เกิดการติดเชื้อที่หูซึ่งจะส่งผลต่อการได้ยินและระบบทางเดินหายใจได้

อาการของการมีต่อม adenoid โต

ต่อม adenoid ที่บวมนั้นจะอุดกั้นทางเดินหายใจและสามารถทำให้เกิดอาการต่อไปนี้

  • มีการติดเชื้อที่หูบ่อย
  • เจ็บคอ
  • กลืนลำบาก
  • หายใจทางจมูกลำบาก
  • มักจะหายใจทางปากจนเป็นนิสัย
  • มีภาวะหยุดหายใจขณะหลับ
  • มีการติดเชื้อที่หูชั้นกลางบ่อยจากการที่ต่อม adnoid โตและท่อ eustachian อุดตัน ทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงเช่นสูญเสียการได้ยินซึ่งอาจจะส่งผลต่อการพูดได้

แพทย์อาจจะแนะนำให้ทำการตัดต่อม adenoid ออกหากเด็กมีปัญหาการติดเชื้อที่หูหรือคอเรื้อรังที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยยาปฏิชีวนะ เกิดมากกว่า 5-6 ครั้งต่อปี ส่งผลต่อการศึกษาของเด็กจากการที่ต้องหยุดเรียนบ่อย

การเตรียมตัวเข้ารับการผ่าตัด

ช่องปากและลำคอนั้นสามารถมีเลือดออกได้มากกว่าส่วนอื่นๆ ของร่างกาย ดังนั้นแพทย์อาจจะมีการตรวจเลือดเพื่อดูค่าการแข็งตัวของเลือดและจำนวนเม็ดเลือด การตรวจเลือดก่อนการผ่าตัดนั้นสามารถทำให้แพทย์มั่นใจว่าจะไม่มีเลือดออกมากเกินไปในระหว่างและหลังจากการผ่าตัด

ในสัปดาห์ก่อนการผ่าตัด อย่าให้เด็กรับประทานยาที่ส่งผลต่อการแข็งตัวของเลือดเช่น ibuprofen หรือ aspirin คุณอาจจะใช้ยาพาราเซตามอลเพื่อบรรเทาอาการปวดได้ หากสงสัยเรื่องการใช้ยาหรือยาตัวใดที่สามารถใช้ได้ ควรปรึกษาแพทย์

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ในวันก่อนหน้าการผ่าตัด เด็กจะต้องงดน้ำหรืออาหารหลังจากเวลาเที่ยงคืน หากแพทย์มีการสั่งยาให้รับประทานก่อนผ่าตัด ให้ทานยาโดยใช้น้ำในปริมาณเล็กน้อย

การผ่าตัด

ศัลยแพทย์จะทำการผ่าตัดต่อม adenoid ภายใต้การดมยาสลบ ต่อม adenoid จะถูกตัดและนำออกมาผ่านทางปาก โดยจะใช้เครื่องมือขนาดเล็กสอดเข้าไปในปากเพื่อเปิดปากออก ก่อนจะใช้มีดหรือจี้ไฟฟ้าในการตัดต่อม

หลังจากนั้นใช้จี้ในการหยุดเลือดก่อนที่จะใส่วัสดุดูดซับเข้าไปในบริเวณดังกล่าว เช่นผ้าก๊อซ เพื่อช่วยควบคุมเลือดที่ออกในระหว่างและหลังจากการผ่าตัด อาจจะไม่จำเป็นต้องมีการเย็นแผล

หลังจากการผ่าตัดเด็กจะต้องนอนพักในห้องพักฟื้นจนกว่าจะตื่น และได้รับยาเพื่อแก้ปวดและบวม เด็กส่วนใหญ่จะกลับเป็นปกติได้ภายใน 1-2 สัปดาห์

การพักฟื้น

หลังจากการผ่าตัดอาจจะมีอาการเจ็บคอได้ 2-3 สัปดาห์ ควรดื่มน้ำมากๆ เพื่อหลีกเลี่ยงการขาดน้ำ และช่วยลดอาการปวด

อย่าให้เด็กรับประทานอาหารเผ็ดหรือร้อน หรืออาหารที่เคี้ยวยากในช่วง 2 สัปดาห์แรก อาหารและขนมหวานที่เย็นและกลืนง่ายนั้นจะช่วยให้เด็กรับประทานง่ายขึ้น

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ตัวอย่างอาหารและเครื่องดื่มที่ดีต่อเด็กที่กำลังเจ็บคอนั้นประกอบด้วย

  • ผลไม้
  • น้ำผลไม้
  • เครื่องดื่มเกลือแร่
  • เยลลี่
  • ไอศกรีม
  • เชอร์เบท
  • โยเกิร์ต
  • พุดดิ้ง
  • ซอสแอปเปิ้ล
  • ซุปไก่หรือเนื้อ
  • เนื้อสัตว์และผักแบบนิ่มๆ

การประคบเย็นที่คออาจจะช่วยบรรเทาอาการปวดและบวมได้ โดยให้นำน้ำแข็งใส่ในถุงพลาสติดก่อนที่จะห่อด้วยผ้าขนหนูแล้วนำมาประคบที่บริเวณด้านหน้าของลำคอ เด็กควรหลีกเลี่ยงการออกกำลังกายหนัดในช่วง 1 สัปดาห์แรกของการผ่าตัด และสามารถกลับไปโรงเรียนได้ภายใน 3-5 วันเมื่อเด็กพร้อมและแพทย์อนุญาต

อย่าลืมแจ้งแพทย์หากเด็กมียาที่แพ้

ผลลัพธ์ในการรักษาระยะยาว

การผ่าตัดต่อม adenoid นั้นมีผลลัพธ์ในการรักษาที่ดี ส่วนมากหลังจากการผ่าตัด เด็กๆ มักจะ

  • มีการติดเชื้อที่คอที่รุนแรงและถี่น้อยลง
  • มีการติดเชื้อที่หูลดลง
  • หายใจทางจมูกได้ง่ายขึ้น

8 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Adenoid removal. MedlinePlus. (https://medlineplus.gov/ency/article/003011.htm)
Adenoidectomy. NHS (National Health Service). (https://www.nhs.uk/conditions/Adenoids-and-adenoidectomy/)
Adenoid removal: What to know and when to have it done. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/323016)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป