กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

การกดจุด ศาสตร์แพทย์จีนบำบัดอาการป่วย

เผยแพร่ครั้งแรก 15 เม.ย. 2018 อัปเดตล่าสุด 1 ธ.ค. 2022 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
การกดจุด ศาสตร์แพทย์จีนบำบัดอาการป่วย

ศาสตร์การบำบัดโรคตามตำราแพทย์แผนจีนนั้นมีด้วยกันมากมาย ซึ่ง การกดจุด ก็เป็นหนึ่งในนั้น แถมยังเป็นวิธีบำบัดที่ไม่ต้องพึ่งอุปกรณ์ใดๆ ใช้เพียงนิ้วมือทั้งสิบของเราเท่านั้นเอง การกดจุดบำบัด ถูกพัฒนามาเนิ่นนานกว่า 2,000 ปีแล้ว ตามหลักการแพทย์แผนจีน กล่าวว่าในร่างกายของเรามีเส้นลมปราณอยู่นับพันนับหมื่นเส้น แต่ละเส้นจะเชื่อมต่อกันทั่วร่าง และถ่ายเทพลังงานไปยังระบบต่างๆ การกดจุดตามตำแหน่งเส้นลมปราณ จึงเป็นการปรับสมดุลพลังงานภายในร่างกาย ช่วยบำรุงการทำงานของอวัยวะต่างๆ และบรรเทาอาการเจ็บป่วยได้

ประโยชน์ของการกดจุด

  1. ช่วยปรับการทำงานของระบบภายในร่างกายให้สมดุล เช่น ระบบไหลเวียนเลือดและน้ำเหลือง ระบบหายใจ ระบบย่อยอาหาร ระบบขับถ่าย กล้ามเนื้อ ข้อต่อ และกระตุ้นการเผาผลาญพลังงานจากสารอาหารต่างๆ
  2. ช่วยบรรเทาอาการเจ็บปวดที่เกิดจากความผิดปกติ เช่น ปวดหัวเรื้อรัง ปวดกล้ามเนื้อ ไขข้อเสื่อม เอ็นยึด หรือเส้นประสาทถูกกดทับ
  3. ช่วยป้องกันโรคเรื้อรังต่างๆ โดยการปรับพลังงานให้อยู่ในภาวะสมดุล และทำให้การทำงานของอวัยวะในร่างกายเป็นปกติ
  4. ช่วยเพิ่มพละกำลังและความกระฉับกระเฉง ทำให้กล้ามเนื้อและกระดูกแข็งแรง มีเรี่ยวแรง คล่องแคล่ว ปราดเปรียวยิ่งขึ้น และทำให้สามารถทำงานหนัก หรือเล่นกีฬาได้ดียิ่งขึ้น
  5. ใช้ปฐมพยาบาลเบื้องต้นได้ เช่น บรรเทาอาการเจ็บหน้าอก ปวดฟัน ข้อเท้าแพลง ลมชัก เป็นต้น
  6. ช่วยผ่อนคลายความเครียด คล้ายกับการนวด เมื่อพลังงานในร่างกายสมดุลแล้ว การทำงานของระบบประสาทจะดีขึ้น และทำให้รู้สึกผ่อนคลายตามมา อีกทั้งช่วยให้นอนหลับได้ง่ายขึ้นด้วย

ตัวอย่างการกดจุดเพื่อสุขภาพ

การกดจุดเพื่อบำบัดโรคและสร้างเสริมสุขภาพ มีอยู่มากมายหลายวิธี ทั้งนี้จะยกตัวอย่างการกดจุดบำบัดง่ายๆ ที่เราสามารถทำได้เอง ได้แก่

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

  • กดจุดเพื่อบรรเทาอาการปวดไหล่

ทำได้โดยใช้นิ้วโป้งกดตรงกล้ามเนื้อสามเหลี่ยมด้านหน้าเหนือรักแร้ จนเริ่มรู้สึกตึง จากนั้นใช้นิ้วกลางกดและคลึงที่รอยบุ๋มด้านบนหัวไหล่ ทำต่อเนื่องไปจนรู้สึกตึงและชานิดๆ ค่อยคลายออก การกดและปล่อยจะช่วยกระตุ้นให้เลือดไหลเวียนได้ดี และคลายอาการปวดกล้ามเนื้อได้

  • กดจุดเพื่อรักษาอาการปวดหัวไมเกรน

จะใช้วิธีกดจุดที่ปลายนิ้วหัวแม่มือ หากปวดหัวข้างไหนก็ให้กดนิ้วหัวแม่มือด้านนั้นค้างไว้ และค่อยๆ ปล่อย เนื่องจากเส้นลมปราณนั้นเชื่อมต่อกันทั่วร่างกาย และมีจุดสิ้นสุดที่ปลายนิ้วมือนิ้วเท้า การกดจุดที่นิ้วมือจึงช่วยคลายอาการปวดศีรษะได้

  • กดจุดเพื่อรักษาโรคเกี่ยวกับปอด และระบบทางเดินหายใจ

ให้กดจุดที่ใต้ตาตุ่มหลังข้อเท้า กดค้างและคลายออกสลับกัน โดยทำทีละข้าง ข้างละ 10 นาที การกดจุดตำแหน่งนี้จะช่วยให้ปอดแข็งแรง ช่วยบรรเทาอาการไอเรื้อรัง และหอบหืดได้

มีบริการกดจุดบำบัดที่ไหนบ้าง?

ใครที่อยากลองบำบัดร่างกายด้วยการกดจุด ก็สามารถไปใช้บริการได้ที่คลินิกแพทย์แผนจีนตามโรงพยาบาล คลินิกทั่วไป หรือสถานที่อื่นๆ ที่เปิดให้บริการ ยกตัวอย่างเช่น

  • โรงพยาบาลหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
  • โรงพยาบาลยันฮี แผนกแพทย์แผนจีน ซึ่งเน้นการกดจุดบำบัดโรค ร่วมกับศาสตร์การแพทย์แผนจีนอื่นๆ ดูรายละเอียดได้ที่  https://th.yanhee.net
  • ศูนย์พรหมวชิรญาณ คลินิกแพทย์แผนไทย – จีน เน้นการกดจุดที่ฝ่าเท้าเป็นหลัก สามารถดูรายละเอียด และสาขาที่ให้บริการ ได้ที่ http://www.promwachirayan.org
  • สมาคมแพทย์แผนไทย ซึ่งมีการประยุกต์ใช้การนวดแผนไทย เข้ากับการกดจุดแผนจีนเพื่อบำบัดโรค อีกทั้งยังมีการสอนกดจุดให้อีกด้วย สามารถดูข้อมูลได้ที่ https://www.thaimassagelearn.com

 


10 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
ฝังเข็มแบบจีนกับแบบตะวันตก แตกต่างกันอย่างไร? ควรเลือกแบบไหนให้เหมาะกับอาการของเรา? (https://hdmall.co.th/c/what-difference-dry-needling-vs-acupuncture).
ฝังเข็ม อันตรายไหม? ช่วยอะไรได้บ้าง? (https://hdmall.co.th/c/what-is-chinese-acupuncture).
การฝังเข็มแบบตะวันตกคืออะไร? Dry Needling รักษาโรคอะไรได้บ้าง? (https://hdmall.co.th/c/what-is-dry-needling-puncture).

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
การนวด...กับสตรีตั้งครรภ์
การนวด...กับสตรีตั้งครรภ์

ระหว่างการตั้งครรภ์สามารถนวดได้ไหม หรือต้องรอให้คลอดก่อนแล้วจึงนวดได้ ข้อควรระวังในการนวดระหว่างตั้งครรภ์

อ่านเพิ่ม
นวดแผนไทย คลายปวดเมื่อยด้วยศาสตร์โบราณ
นวดแผนไทย คลายปวดเมื่อยด้วยศาสตร์โบราณ

ทำความรู้จักการนวดแผนไทย ประโยชน์ของการนวดไทย และลิสต์ผู้ที่เข้าข่ายไม่ควรนวด

อ่านเพิ่ม