8 ประโยชน์ของการเต้นที่คุณอาจยังไม่รู้

เผยแพร่ครั้งแรก 29 มิ.ย. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
8 ประโยชน์ของการเต้นที่คุณอาจยังไม่รู้

เมื่อพูดถึงการออกกำลังกาย วิธีออกกำลังกายที่ได้รับความนิยมมากก็คงหนีไม่พ้นการเดิน วิ่ง ว่ายน้ำ ปั่นจักรยาน ยกน้ำหนัก ฯลฯ อย่างไรก็ตาม หากคุณกำลังรู้สึกเบื่อวิธีออกกำลังกายที่ทำประจำ และอยากลองทำอะไรใหม่ๆ การเต้นก็สามารถตอบโจทย์ได้ดีมากทีเดียว นอกจากเป็นกิจกรรมที่สนุกแล้ว มันก็ยังมีประโยชน์มากมาย เราลองมาดูกันดีกว่าว่าการเต้นมีประโยชน์อย่างไรบ้าง

1.ช่วยให้ความจำดีขึ้น

มีงานวิจัยชิ้นหนึ่งที่ถูกเผยแพร่ใน The New England Journal of Medicine พบว่า การเต้นอาจช่วยให้เรามีความจำดีขึ้น และป้องกันไม่ให้คุณเป็นโรคสมองเสื่อมเมื่ออายุมากขึ้น ซึ่งนักวิทยาศาสตร์เผยว่า การออกกำลังกายแบบแอโรบิก สามารถช่วยลดการสูญเสียมวลของฮิปโปแคมปัส ซึ่งเป็นสมองส่วนที่ควบคุมความจำ โดยธรรมชาติแล้ว ฮิปโปแคมปัสจะหดลงเมื่อเราอยู่ในช่วงวัยผู้ใหญ่ตอนปลาย ซึ่งมักเป็นช่วงที่ความจำไม่ดีและเป็นโรคสมองเสื่อม

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

2.คลายเครียด

การเต้นไม่เพียงแต่ดีต่อสุขภาพกายเท่านั้น แต่มันยังดีต่อสุขภาพจิตอีกด้วย หากคุณกำลังรู้สึกเครียด การเปิดเพลงและเต้นแทงโก้กับคนรักอาจช่วยให้คุณรู้สึกดีขึ้น เพราะมีงานวิจัยที่ถูกเผยแพร่ใน Journal of Applied Gerontology พบว่า การเต้นรำแบบคู่พร้อมกับเปิดเพลงคลอไปด้วยสามารถช่วยคลายเครียดได้

3.ลดอาการซึมเศร้า

มีงานวิจัยชิ้นหนึ่งได้ทดสอบผลของการเต้นกับคนที่เป็นโรคซึมเศร้า ซึ่งผลทดลองที่ได้นั้นก็น่าสนใจมากทีเดียว เพราะผู้ป่วยที่เข้าร่วมกลุ่มเต้นแนว Upbeat มีอาการของโรคซึมเศร้าน้อยที่สุด และมีชีวิตชีวามากที่สุด ดังนั้นใครที่ตอนนี้กำลังจมอยู่กับความเศร้า ถ้าอยากกลับมาสดใสอีกครั้ง การชวนเพื่อนออกไปแดนซ์ตอนกลางคืนก็อาจช่วยให้คุณสบายใจขึ้นค่ะ

4.ดีต่อหัวใจ

การเต้นเป็นกิจกรรมที่ดีสำหรับคนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือด ซึ่งมีงานวิจัยของชาวอิตาลีพบว่า คนที่มีภาวะหัวใจล้มเหลวที่เต้นรำจังหวะวอลทซ์มีสุขภาพหัวใจ การหายใจ และคุณภาพชีวิตดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ เมื่อเทียบกับคนที่ปั่นจักรยานหรือวิ่งบนสายพาน

5.ช่วยลดน้ำหนัก

หากตอนนี้คุณกำลังเบื่อการปั่นจักรยานเพื่อรีดน้ำหนัก มีงานวิจัยใน Journal of Physiological Anthropology พบว่า การออกกำลังกายโดยการเต้นสามารถช่วยลดน้ำหนัก และมี Aerobic Power เพิ่มขึ้นได้เท่าๆ กับการปั่นจักรยานและการวิ่ง   จ็อกกิ้ง

6.ทรงตัวดีขึ้น

หากคุณกังวลว่าคุณจะหกล้มหรือทรงตัวได้ไม่ดีตอนอายุมากขึ้น การเต้นอาจช่วยคลายความกังวลของคุณได้ค่ะ เพราะมีงานวิจัยที่ถูกเผยแพร่ใน Journal of Aging and Physical Activity พบว่า การเต้นแทงโก้สามารถช่วยให้การทรงตัวในผู้สูงอายุดีขึ้น การเต้นจำเป็นต้องใช้การเคลื่อนไหวแบบรวดเร็วและการมีท่าทางที่ดี ดังนั้นการเต้นเป็นประจำจึงช่วยให้ร่างกายมีเสถียรภาพและคุณสามารถควบคุมร่างกายได้ดีขึ้น

7.เพิ่มพลังงาน   

หากคุณรู้สึกว่าช่วงนี้ไม่ค่อยมีแรงผลันดันที่จะทำอะไรสักอย่างด้วยความมุ่งมั่น การไปเข้าคลาสเรียนเต้นอาจช่วยได้ค่ะ เพราะมีงานวิจัยพบว่า การไปเต้นทุกสัปดาห์สามารถช่วยให้เรามีสมรรถภาพทางกายดีขึ้น และทำให้ระดับพลังงานในผู้ใหญ่เพิ่มขึ้น รับรองว่าคุณจะรู้สึกกระปรี้กระเปร่าและพร้อมที่จะทำสิ่งต่างๆ ด้วยความกระตือรือร้น

8.ได้มิตรภาพ

การไปสมัครคลาสเต้นไม่เพียงแต่ดีต่อสุขภาพของคุณเท่านั้น แต่มันยังช่วยให้คุณได้เพื่อนใหม่อีกด้วย ซึ่งการได้เข้าสังคมสามารถช่วยให้เรามีความสุขเพิ่มขึ้น คลายเครียด และมีภูมิคุ้มกันที่แข็งแรง ดังนั้นใครที่อยากมีสุขภาพที่แข็งแรงไปพร้อมกับได้รู้จักคนใหม่ๆ การไปสมัครเรียนเต้นก็เป็นวิธีที่ดี

จากที่กล่าวไปจะเห็นได้ว่า การเต้นมีประโยชน์ทั้งต่อสุขภาพกายและสุขภาพจิต โดยช่วยตั้งแต่เพิ่มความจำไปจนถึงช่วยให้คุณได้เพื่อนใหม่ ดังนั้นถ้าคุณอยากทำกิจกรรมสนุกๆ ไปพร้อมกับมีร่างกายที่แข็งแรง การเต้นก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่เราอยากแนะนำ

ที่มา: https://www.everydayhealth.com...


7 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
9 Health Benefits of Dance - Fitness Center. Everyday Health. (https://www.everydayhealth.com/fitness-pictures/health-benefits-of-dance.aspx)
Benefits of Dance: 8 Benefits for Adults and Kids. Healthline. (https://www.healthline.com/health/fitness-exercise/benefits-of-dance)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
เครื่องวัดอัตราการเต้นของหัวใจเกี่ยวข้องกับอัตราการเต้นของหัวใจขณะออกกำลังกายอย่างไร?
เครื่องวัดอัตราการเต้นของหัวใจเกี่ยวข้องกับอัตราการเต้นของหัวใจขณะออกกำลังกายอย่างไร?

ทำความรู้จักเครื่องวัดอัตราการเต้นของหัวใจ หรือเครื่องวัดชีพจร และอัตราการเต้นของหัวใจในการออกกำลังกายแต่ละโซน

อ่านเพิ่ม
ชีพจรขณะพักคืออะไร
ชีพจรขณะพักคืออะไร

ทำความรู้จักค่าชีพจรที่เหมาะสมในแต่ละวัย และวิธีการวัดชีพจรแบบง่ายๆ ด้วยตัวเอง

อ่านเพิ่ม