โรคติดเชื้อทางเดินปัสสาวะเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย แพทย์มักรักษาโดยใช้ยาปฏิชีวนะ ซึ่งเป็นวิธีที่มีประสิทธิผล แต่มันก็สามารถทำให้เกิดผลข้างเคียง เช่น อาเจียน คลื่นไส้ ท้องเสีย เป็นผื่น ปวดศีรษะ ตับทำงานผิดปกติ ฯลฯ อย่างไรก็ตาม ในกรณีที่โรคไม่ได้อยู่ในระดับที่รุนแรง ร่างกายของเราสามารถรักษาตัวเองโดยไม่ต้องพึ่งยาปฏิชีวนะ ซึ่งมีการประมาณตัวเลขไว้ที่ 25-42% ทั้งนี้มีหลายวิธีที่ผู้ป่วยสามารถใช้รักษาตัวเองที่บ้าน สำหรับวิธีที่เราจะมาแนะนำมีดังนี้
1.ดื่มน้ำ
น้ำช่วยให้ทางเดินปัสสาวะขับของเสียออกจากร่างกายได้อย่างมีประสิทธิผลไปพร้อมกับรักษาสารอาหารสำคัญและอิเล็กโทรไลต์ นอกจากนี้การดื่มน้ำยังช่วยเจือจางน้ำปัสสาวะ และเร่งให้มันออกจากร่างกายเร็วขึ้น ทำให้แบคทีเรียเข้าไปในเซลล์และทำให้เกิดการติดเชื้อยากขึ้น โดยเฉลี่ยแล้วเราควรดื่มน้ำให้ได้อย่างน้อยวันละ 8 แก้วทุกวัน
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง
2.ไม่กลั้นปัสสาวะ
การปัสสาวะบ่อยครั้งสามารถทำให้แบคทีเรียถูกกำจัดออกไปจากระบบทางเดินปัสสาวะ นอกจากนี้มันยังชะลอเวลาที่แบคทีเรียในปัสสาวะเข้าไปในเซลล์ของทางเดินปัสสาวะ ทำให้ความเสี่ยงในการติดเชื้อลดลง ดังนั้นให้คุณรีบไปห้องน้ำให้เร็วที่สุดเมื่อรู้สึกปวดปัสสาวะเพื่อป้องกันและรักษาโรคติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ
3.ดื่มน้ำแครนเบอร์รี
น้ำแครนเบอร์รีเป็นหนึ่งในวิธีรักษาโรคติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะจากธรรมชาติซึ่งเป็นที่รู้จักกันดี นอกจากนี้มันก็ยังเป็นวิธีดั้งเดิมที่นำมาใช้รักษาการติดเชื้อ และเร่งการรักษาบาดแผลให้ฟื้นตัวเร็วขึ้น อย่างไรก็ดี มีงานวิจัยพบว่า น้ำแครนเบอร์รีมีสารประกอบที่อาจป้องกันแบคทีเรีย E. coli ไม่ให้แฝงตัวอยู่ภายในทางเดินปัสสาวะ อีกทั้งยังมีสารแอนตี้ออกซิเด้นท์อย่างโพลีฟีนอล ซึ่งมีฤทธิ์ต้านแบคทีเรียและต้านการอักเสบ สำหรับปริมาณน้ำแครนเบอร์รีที่แนะนำต่อวันเพื่อรักษาโรคติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะคือ ประมาณ 400 มิลลิลิตร หรือดื่มอย่างน้อย 25% ทุกวันเพื่อป้องกันหรือรักษาโรคดังกล่าว
4.ทานอาหารที่มีโปรไบโอติก
แบคทีเรียชนิดดีที่รู้จักกันในชื่อของ “โปรไบโอติก” สามารถช่วยให้ระบบทางเดินปัสสาวะมีสุขภาพดีและปลอดภัยจากแบคทีเรียชนิดที่ทำร้ายสุขภาพ โดยเฉพาะแบคทีเรียในกลุ่ม Lactobacilli ซึ่งอาจช่วยรักษาและป้องกันโรคติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ โดยอาจช่วยดังนี้
- ป้องกันแบคทีเรียที่ไม่ดีต่อสุขภาพไม่ให้ติดอยู่ในเซลล์ของทางเดินปัสสาวะ
- ผลิตไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ในปัสสาวะ ซึ่งเป็นสารต้านแบคทีเรียที่มีฤทธิ์รุนแรง
- ลดค่า pH ของปัสสาวะ ทำให้เอื้อต่อการเจริญเติบโตของแบคทีเรียน้อยลง
อย่างไรก็ดี คุณสามารถพบโปรไบโอติกได้ในอาหารหมักดองและผลิตภัณฑ์ที่ทำจากนมหลายชนิด เช่น โยเกิร์ต คีเฟอร์ ชีสบางชนิด ซาวเคราท์ ฯลฯ นอกจากนี้เรายังเติมโปรไบโอติกให้ร่างกายโดยทานอาหารเสริม ซึ่งมักอยู่ในรูปแบบแคปซูล หรือผงที่นำมาใช้ผสมกับน้ำหรือเครื่องดื่มชนิดอื่นๆ
5.ทานวิตามินซีให้เพียงพอ
วิตามินซีเป็นสารแอนตี้ออกซิเด้นท์ที่ช่วยให้การทำงานของระบบภูมิคุ้มกันดีขึ้น นอกจากนี้มันยังสามารถทำปฏิกิริยากับสารไนเตรตในปัสสาวะจนทำให้เกิดสารไนโตรเจนออกไซด์ ซึ่งสามารถฆ่าแบคทีเรียได้ อีกทั้งยังลดค่า pH ของปัสสาวะ ทำให้แบคทีเรียมีโอกาสรอดน้อยลง ทั้งนี้ The National Institutes of Health แนะนำว่า ผู้หญิงที่มีอายุ 19 ปี หรือมากกว่านี้ควรทานวิตามินซีให้ได้อย่างน้อยวันละ 75 มิลลิกรัมต่อวัน ในขณะที่ผู้ชายควรทานให้ได้วันละ 90 มิลลิกรัม สำหรับผู้ใหญ่ที่สูบบุหรี่นั้นควรทานวิตามินซีเพิ่มขึ้นวันละ 35 มิลลิกรัม
6.เช็ดจากด้านหน้าไปด้านหลัง
หลายครั้งที่โรคติดเชื้อทางเดินปัสสาวะเกิดขึ้นเมื่อแบคทีเรียจากไส้ตรงเข้าไปในท่อปัสสาวะ และเมื่อแบคทีเรียเข้ามาภายในบริเวณนี้ มันก็จะเข้าไปในอวัยวะอื่นๆ ของทางเดินปัสสาวะ ซึ่งสามารถนำไปสูการติดเชื้อ ดังนั้นหลังจากที่ปัสสาวะ ให้คุณเช็ดจุดซ่อนเร้นจากด้านหน้าไปด้านหลังเพื่อป้องกันไม่ให้แบคทีเรียสัมผัสกับอวัยวะเพศ รวมถึงใช้กระดาษชำระแยกระหว่างอันที่ใช้กับอวัยวะเพศและรูทวาร
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
7.ฝึกสุขอนามัยทางเพศที่ดี
การมีเพศสัมพันธ์ทำให้แบคทีเรียและจุลชีพจากภายนอกร่างกายเข้าไปในทางเดินปัสสาวะ ทั้งนี้การฝึกสุขอนามัยทางเพศที่ดีสามารถช่วยลดจำนวนของแบคทีเรียที่จะถูกถ่ายโอนมาในระหว่างที่มีเพศสัมพันธ์ สำหรับตัวอย่างของสุขอนามัยทางเพศที่ดี เช่น
- ปัสสาวะก่อนและทันทีหลังจากมีเซ็กส์
- ใช้ถุงยาง
- ล้างอวัยวะเพศทั้งก่อนและหลังมีกิจกรรมทางเพศ
- ต้องมั่นใจว่าอีกฝ่ายไม่ได้กำลังเป็นโรคหรือเคยเป็น
อย่างไรก็ตาม หากคุณสงสัยว่าตัวเองเป็นโรคติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ ซึ่งอาการทั่วไปที่พบได้ เช่น ปัสสาวะบ่อยขึ้นและปวดปัสสาวะแบบกลั้นไม่ได้ เจ็บหรือรู้สึกแสบร้อนเมื่อปัสสาวะ มีไข้ ปวดบริเวณท้องส่วนล่าง ปัสสาวะมีสีหรือกลิ่นเปลี่ยนไป ปัสสาวะขุ่น ทึบ หรือมีเลือดปน ฯลฯ คุณควรปรึกษาแพทย์เพื่อที่จะได้หาทางรักษาที่เหมาะสมต่อไป
ที่มา: https://www.medicalnewstoday.c...