7 กลเม็ดเคล็ดลับ แก้พฤติกรรมการกินจุกจิก ควบคุมอาการอยากขนม

เผยแพร่ครั้งแรก 28 มี.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
7 กลเม็ดเคล็ดลับ แก้พฤติกรรมการกินจุกจิก ควบคุมอาการอยากขนม

นิสัยการกินจุกจิก เป็นปัญหาที่น่าหนักอกหนักใจไม่น้อยสำหรับผู้ที่พยายามควบคุมน้ำหนักและสัดส่วน เพราะเหล่าอาหารที่เราโหยหานี้มักไม่ใช่ผักหรือผลไม้ที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย แต่กลับเป็นกลุ่มขนมขบเคี้ยวหรือไม่ก็ขนมหวาน ที่นอกจากจะทำให้สัดส่วนของเราหลุดออกนอกกรอบแล้วยังนำมาซึ่งปัญหาสุขภาพได้ด้วย ถ้าเราควบคุมอาการอยากกินไม่ได้ เราก็ต้องใช้กลเม็ดพิเศษในการจัดการกับพฤติกรรมการกินจุกจิกแทน!

นั่นเราหิวจริงๆ หรือแค่อยากหิว

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

1. อย่าซื้อขนมตุนไว้

กลเม็ดอย่างแรกเลยก็คือ ไม่ซื้อขนมทานเล่นเก็บไว้เลย เราต้องตัดไฟตั้งแต่ต้นลมโดยการไม่กักตุนเจ้าขนมเหล่านี้ไว้ในบ้าน ในรถ หรือในกระเป๋าโดยเด็ดขาด  ถ้าไม่มีขนมอยู่รอบๆในขณะที่รู้สึกโหย... เราก็กินไม่ได้! เพราะฉะนั้นแล้ว เขี่ยขนมขบเคี้ยวออกจากรายการอาหารที่ต้องซื้อได้เลย

2. ตามใจปาก...อย่างฉลาด

ถ้าความรู้สึกโหยมันทำให้ทรมาน เราก็ต้องตามใจปาก…อย่างชาญฉลาด! แทนที่จะทานขนมขบเคี้ยว ลองหันมาพึ่ง ถั่วกรุบกรอบ หรือ เมล็ดพืชอบแห้ง ที่มีเปลือกแข็งแทน อย่างเช่น ถั่วลิสง ถั่วปากอ้า วอลนัท ลูกเกาลัด เมล็ดทานตะวัน และเมล็ดแตงโม อาหารทานเล่นเหล่านี้นอกจากจะดีต่อสุขภาพแล้ว เปลือกที่แข็งและแกะค่อนข้างยากนี้จะทำให้เราทานได้ช้าลงและน้อยลงอีกด้วย แต่หากอยากทานของหวาน ให้มี ผลไม้รสหวาน ติดครัวไว้เลย แล้วจะดียิ่งขึ้นหากเป็นผลไม้ที่ต้องแกะเปลือกก่อนรับประทาน เพราะจะช่วยถ่วงเวลาได้ดีเช่นกัน

กินก็กินได้ แต่ต้องกินอย่างฉลาด

3. ตั้งใจทาน อย่าทำอย่างอื่น

ไม่ว่าจะทานขนมทานเล่นทั่วไปหรือหันมาทานถั่วหรือผลไม้แทนแล้วก็ตาม การควบคุบปริมาณนั้นก็ยังคงเป็นสิ่งสำคัญ ซึ่งการควบคุมปริมาณนี้ทำได้โดยการทานอย่างตั้งใจ ถ้าสังเกตพฤติกรรมของตนเองดูดีๆจะพบว่าเวลาที่ทานขนมทานเล่น เรามักจะทำกิจกรรมอย่างอื่นควบคู่ไปด้วย เช่น ดูหนังหรือวีดีโอ คุยโทรศัพท์ และเล่นแชท แล้วรู้สึกตัวอีกทีก็ทานขนมจนหมดเสียแล้ว ดังนั้น เราควรแบ่งสัดส่วนที่จะทานในแต่ละครั้งใส่ภาชนะแยกไว้ให้ชัดเจน และตั้งใจทานจนหมด สมองจะได้รับรู้ว่าเราได้ทานสิ่งที่อยากจะทานในปริมาณที่เหมาะสมแล้ว

4. เพิ่มความลำบากให้แก่การกิน

อีกหนึ่งเคล็ดลับในการควบคุมปริมาณอาหารทานเล่นก็คือ การทานด้วยความยากลำบาก เราอาจทานด้วยมือข้างที่ไม่ถนัด หรือใช้พลาสเตอร์พันไว้ที่นิ้วใดนิ้วหนึ่งก็ได้ วิธีนี้จะช่วยถ่วงเวลาให้เรารู้สึกอิ่มได้เร็วขึ้น นอกจากนี้แล้ว เรื่องอริยบถและสถานที่ก็สำคัญ เราควรหลีกเลี่ยงพฤติกรรมนั่งทานนอนทานบนโซฟาหรือเตียงนอนนุ่มๆ เพราะจะทำให้เรารู้สึกสบายตัวสบายใจในการรับประทานมากเกินไปและเผลอทานจนหมดอย่างไม่รู้ตัว

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

5. อย่าให้มือและปากว่าง

หนึ่งสิ่งที่เราต้องยอมรับเลยก็คือ นิสัยการกินจุกจิกนั้นไม่ได้เกิดจากความหิวไปเสียทุกครั้ง แต่มักเกิดจากการที่สมองรู้สึกว่ามือและปากว่างเกินไปต่างหาก เพราะฉะนั้น เมื่อเรารู้สึกว่าต่อมน้ำลายเริ่มทำงาน และสมองเริ่มสั่งการว่า ‘อยากกินของทอด...อยากกินของหวาน’ ให้รีบมองหากิจกรรมยามว่างที่ต้องใช้ความคิด ทาเล็บ เล่นโซเชียลมีเดียต่างๆ หรือพูดคุยกับคนรอบข้าง กิจกรรมเหล่านี้จะดึงดูดความสนใจของเราไปทางอื่นและทำให้มือและปากของเราไม่ว่างแล้ว

อยากกินของทอด...อยากกินของหวาน

6. ดื่มน้ำเปล่าเยอะๆ

บางทีร่างกายของเราก็รู้สึกโหยเมื่อเรากระหายน้ำเฉยๆ ลองดื่มน้ำสัก 1-2 แก้วเมื่อรู้สึกว่าอยากทานจุกจิก นอกจากนี้ การดื่มน้ำยังทำให้รู้สึกอิ่มขึ้นได้อีกด้วย

7. แปรงฟันซะเลย

กลเม็ดสุดเด็ดวิธีสุดท้ายในการจัดการกับพฤติกรรมกินจุกจิกก็คือการแปรงฟัน หลังจากการรับประทานมื้อเย็นแล้วให้แปรงฟันทันที เพื่อทำให้สมองเข้าใจว่าช่องปากของเราสะอาดแล้วและไม่ควรทานจุกจิกอีกแล้ว อีกทั้งความเย็นสดชื่นและกลิ่นมิ้นท์จากยาสีฟันจะช่วยลดอาการอยากทานอาหารขบเคี้ยวหรือของหวานได้อีกด้วย

แปรงฟันแล้วคือ จบนะ!

เคล็ดลับเหล่านี้ล้วนแล้วแต่เป็นตัวช่วยที่ได้ผลจริง แต่ทุกอย่างต้องเริ่มต้นด้วยความตั้งใจ เราต้องเชื่อว่าเราหยุดพฤติกรรมการกินจุกจิกนี้ได้ด้วยตัวเราเอง ถ้าเราไม่มีความจริงจังและปล่อยให้ปากของเราถูกควบคุมโดยเหล่าขนมทานเล่นพวกนี้ ไม่ว่าเคล็ดลับใดๆก็ใช้ไม่ได้ผล เพราะฉะนั้น หากตั้งใจจริงแล้ว ก็เริ่มต้นได้เลย!


5 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
The Surprising Reason You Snack at Night (and How to Stop It). Health.com. (https://www.health.com/condition/obesity/the-surprising-reason-you-snack-at-night-and-how-to-stop-it)
3 Ways to Stop Eating so Much at Night. Verywell Fit. (https://www.verywellfit.com/how-to-stop-eating-so-much-at-night-3495217)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
มะนาว สุดยอดสรรพคุณ เป็นทั้งยาลดน้ำหนัก และบำรุงผิวพรรณ
มะนาว สุดยอดสรรพคุณ เป็นทั้งยาลดน้ำหนัก และบำรุงผิวพรรณ

แก้อาการเมาค้าง รวมถึงใช้ผสมน้ำเป็นยาบ้วนปากได้อีกด้วย อ่านประโยชน์ของมะนาวที่คุณอาจไม่เคยรู้มาก่อน

อ่านเพิ่ม
การผุกร่อนบนฟันน้ำนม
การผุกร่อนบนฟันน้ำนม

เตรียมความพร้อมดูแลฟันชุดแรกในชีวิตตั้งแต่วัยเด็ก เพื่อเป็นพื้นฐานดูแลฟันแท้ต่อไปในอนาคต

อ่านเพิ่ม