6 วิธีป้องกันการเกิดภาวะคั่งน้ำ

เผยแพร่ครั้งแรก 4 มี.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
6 วิธีป้องกันการเกิดภาวะคั่งน้ำ

ภาวะคั่งน้ำเกิดจากการที่ของเหลวสะสมอยู่ในเนื้อเยื่อของร่างกาย และทำให้เกิดการอักเสบ แม้ว่ามันจะไม่ใช่โรคร้าย แต่หากร่างกายตกอยู่ในภาวะคั่งน้ำอย่างต่อเนื่อง มันก็สามารถเป็นสัญญาณที่บอกว่าร่างกายของคุณกำลังผิดปกติ โดยอาจเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนในทันที ปัญหาเกี่ยวกับการไหลเวียนโลหิต หรือการอุดตันในระบบน้ำเหลือง แต่ข่าวดีก็คือ มีหลายวิธีที่สามารถช่วยป้องกันไม่ให้เกิดภาวะคั่งน้ำได้ถ้าคุณหมั่นทำเป็นประจำ เราลองมาดูกันดีกว่าว่ามีวิธีใดบ้าง

1. ดื่มน้ำและเครื่องดื่มที่ดีต่อสุขภาพอื่นๆ

การดื่มน้ำและเครื่องดื่มชนิดอื่นๆ ถือเป็นวิธีที่ง่ายที่สุดที่ช่วยป้องกันและรักษาภาวะคั่งน้ำ ทั้งนี้การดื่มน้ำไม่ได้ทำให้อาการคั่งน้ำแย่ลง แต่มันกลับช่วยกระตุ้นให้มีการกำจัดของเหลวผ่านไตมากขึ้น

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

คำแนะนำ

  • ดื่มน้ำวันละ 6 - 8 แก้วต่อวัน
  • หากคุณมีปัญหากับการดื่มน้ำเปล่า คุณอาจเลือกดื่มชาหรือน้ำผลไม้จากธรรมชาติ

2. นอนหลับให้เพียงพอ

การนอนหลับให้เพียงพอจะช่วยควบคุม และป้องกันการเกิดภาวะคั่งน้ำได้ ในขณะที่คุณพัก ระบบไหลเวียนโลหิตจะทำงานดีขึ้น และระบบต่อมน้ำเหลืองจะสามารถกำจัดของเสียออกไป

คำแนะนำ

  • นอนให้ได้ 7 – 9 ชั่วโมงต่อวัน โดยไม่มีสิ่งรบกวน
  • หากคุณมีปัญหากับการนอน ให้คุณพยายามหาต้นตอของปัญหา และแก้ปัญหาให้ตรงจุด

3. จำกัดการทานเกลือ

เกลือเป็นหนึ่งในเครื่องปรุงที่นิยมใช้ในห้องครัวมากที่สุด แต่การทานเกลือในปริมาณมากเกินไปก็ถือเป็นหนึ่งในสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดภาวะคั่งน้ำ ทั้งนี้หากระดับของโซเดียมในร่างกายสูง มันก็จะทำให้อิเล็กโทรไลต์ในร่างกายเสียสมดุล และทำให้การกำจัดของเสียส่วนเกินดำเนินไปได้ยากขึ้น

คำแนะนำ

  • หลีกเลี่ยงการทานเกลือมากเกินไป
  • เมื่อคุณซื้ออาหาร ให้คุณตรวจสอบปริมาณของโซเดียมที่ฉลากก่อน
  • จำกัดการทานอาหารที่มีโซเดียมสูง

4. ทานผักและผลไม้ให้มากขึ้น

ผักและผลไม้สดที่อุดมไปด้วยสารแอนตี้ออกซิเด้นท์ ไฟเบอร์ น้ำ และสารอาหารอื่นๆ สามารถช่วยป้องกันไม่ให้เกิดการอักเสบ การทานอาหารเหล่านี้อย่างน้อย 3 ครั้งต่อวัน จะช่วยให้ไตทำงานดี และกระตุ้นการกำจัดของเหลว

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

คำแนะนำ

  • ทานผักและผลไม้สดที่อุดมไปด้วยน้ำ
  • ทานสลัด สมูทตี้ และน้ำผลไม้ให้มากขึ้น

5. ออกกำลังกายเป็นประจำ

การออกกำลังกายถือเป็นหนึ่งในวิธีที่ดีที่สุดที่ช่วยกำจัดของเหลวส่วนเกินที่คั่งภายในเนื้อเยื่อ การเคลื่อนไหวขณะที่ออกกำลังกายจะช่วยกระตุ้นการไหลเวียนโลหิต และสนับสนุนกระบวนการที่ช่วยกำจัดของเหลวและสารพิษออกจากร่างกาย นอกจากนี้มันยังช่วยปกป้องไตของคุณ โดยปรับปรุงการผลิตปัสสาวะและทำความสะอาดระบบทางเดินปัสสาวะ

คำแนะนำ

  • ออกกำลังกายอย่างน้อย 30 นาทีทุกวัน
  • หากคุณไม่คุ้นเคยกับการออกกำลังกาย ให้คุณค่อยๆ เริ่มทำค่ะ

6. กระตุ้นการหมุนเวียนเลือด

การออกกำลังกายน้อยเกินไป การทานอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพ และการเป็นโรคบางโรคสามารถทำให้การไหลเวียนของเลือดลดลง หากภาวะคั่งน้ำเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง และยากต่อการรักษา คุณอาจต้องลองกระตุ้นการไหลเวียนโลหิตค่ะ

คำแนะนำ

  • นวดด้วยน้ำมันหอมระเหย
  • อาบน้ำร้อนสลับน้ำเย็น
  • ทำการประคบร้อน
  • ฝึกยกขาเมื่อกลับถึงบ้าน
  • ว่ายน้ำ

หากคุณสังเกตว่าร่างกายบวมน้ำ ให้คุณลองนำวิธีที่เราแนะนำข้างต้นไปปรับใช้ ถ้าคุณสามารถทำได้อย่างสม่ำเสมอ มันก็สามารถช่วยบรรเทาอาการดังกล่าวได้ค่ะ

ที่มา :  https://steptohealth.com/6-way...


17 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Sinus congestion: 6 natural home remedies. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/323834)
How to Stop a Runny Nose: 7 Home Remedies That Work. Healthline. (https://www.healthline.com/health/how-to-stop-a-runny-nose)
19 Tips on How to Stop Coughing Including Nighttime Cough. MedicineNet. (https://www.medicinenet.com/how_to_stop_coughing/article.htm)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
เครื่องวัดอัตราการเต้นของหัวใจเกี่ยวข้องกับอัตราการเต้นของหัวใจขณะออกกำลังกายอย่างไร?
เครื่องวัดอัตราการเต้นของหัวใจเกี่ยวข้องกับอัตราการเต้นของหัวใจขณะออกกำลังกายอย่างไร?

ทำความรู้จักเครื่องวัดอัตราการเต้นของหัวใจ หรือเครื่องวัดชีพจร และอัตราการเต้นของหัวใจในการออกกำลังกายแต่ละโซน

อ่านเพิ่ม
ชีพจรขณะพักคืออะไร
ชีพจรขณะพักคืออะไร

ทำความรู้จักค่าชีพจรที่เหมาะสมในแต่ละวัย และวิธีการวัดชีพจรแบบง่ายๆ ด้วยตัวเอง

อ่านเพิ่ม