กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

โยคะช่วยคลายความวิตกกังวลและความเศร้าได้จริงหรือ ? งานวิจัยมีคำตอบ

เผยแพร่ครั้งแรก 29 มี.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
โยคะช่วยคลายความวิตกกังวลและความเศร้าได้จริงหรือ ? งานวิจัยมีคำตอบ

โยคะ” ถือเป็นอีกหนึ่งวิธีการฝึกร่างกายและจิตใจที่หลายคนน่าจะรู้จักกันดี อย่างไรก็ตาม เมื่อเอ่ยถึงวิธีที่ช่วยคลายเครียด โยคะมักจะเป็นหนึ่งในตัวเลือกที่หลายคนแนะนำ แต่เคยสงสัยไหมว่ามันสามารถช่วยได้จริงหรือไม่ ? วันนี้เราจะพาคุณไปไขข้อข้องใจนี้ผ่านงานวิจัยค่ะ

ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1970 มีการศึกษาว่าการนั่งสมาธิ และเทคนิคที่ช่วยลดความเครียดอื่นๆ สามารถนำมาใช้รักษาอาการซึมเศร้าและความวิตกกังวลได้หรือไม่ ซึ่งโยคะถือเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ได้รับความสนใจน้อยที่สุดในทางการแพทย์ แต่มันกลับได้รับความนิยมในช่วงไม่กี่ทศวรรษที่ผ่านมา ทั้งนี้มีผลสำรวจระดับชาติพบว่า 7.5% ของชาวอเมริกันที่เป็นผู้ใหญ่ได้ลองฝึกโยคะอย่างน้อยหนึ่งครั้ง และเกือบ 4% ฝึกโยคะในช่วงปีที่ผ่านมา

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ทั้งนี้คลาสโยคะสามารถเป็นได้ตั้งแต่ระดับเบาๆ หรือนุ่มนวลไปจนถึงระดับที่ต้องใช้แรงมากหรือท้าทาย ซึ่งขึ้นอยู่กับความสามารถทางกายภาพของผู้ฝึก และความชอบส่วนบุคคล อย่างไรก็ดี หะธะโยคะ (Hatha Yoga) เป็นประเภทโยคะที่นิยมในประเทศสหรัฐอเมริกา โดยมีองค์ประกอบ 3 ส่วน ได้แก่ ท่าที่เรียกว่า อาสนะ (Asana)  การฝึกควบคุมการหายใจร่วมกับท่าอาสนะ และการผ่อนคลายหรือการทำสมาธิในระยะสั้น

โยคะช่วยคลายเครียดได้อย่างไร?

อย่างไรก็ตาม มีผู้ให้ความเห็นเกี่ยวกับการฝึกโยคะแนะนำว่า การฝึกโยคะสามารถช่วยลดผลกระทบของการตอบสนองต่อความเครียดที่เพิ่มขึ้น และอาจมีประโยชน์ต่อทั้งความวิตกกังวลและความเศร้า ในกรณีนี้ การทำงานของโยคะมีความเหมือนกับเทคนิคอื่นๆ ที่ช่วยทำให้เราสงบลง เช่น การทำสมาธิ การผ่อนคลาย การออกกำลังกาย หรือแม้แต่การไปพบปะเพื่อนฝูง

ด้วยความที่โยคะช่วยลดการรับรู้ต่อความเครียดและความวิตกกังวล ทำให้มันไปปรับเปลี่ยนระบบที่ตอบสนองต่อความเครียด และนั่นก็จะทำให้การตื่นตัวของการทำงานในร่างกายลดลง เช่น ลดอัตราการเต้นของหัวใจ ลดความดันโลหิต ช่วยให้หายใจช้าลง นอกจากนี้ยังมีหลักฐานพบว่า การฝึกโยคะสามารถช่วยเพิ่มอัตราการผันแปรของการเต้นของหัวใจ ซึ่งเป็นตัวชี้วัดถึงความสามารถของร่างกายเพื่อตอบสนองต่อความเครียดได้ยืดหยุ่นมากขึ้น

อย่างไรก็ดี มีงานวิจัยหนึ่งที่น่าสนใจจาก The University of Utah ได้ให้ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับผลกระทบของโยคะที่มีต่อการตอบสนองต่อความเครียด โดยเฝ้าสังเกตการตอบสนองของผู้เข้าร่วมทดลองที่มีต่อความเจ็บปวด ทั้งนี้นักวิจัยได้บันทึกว่า คนที่มีปัญหาในการตอบสนองต่อความเครียดจะมีความไวต่ออาการปวดมากขึ้น สำหรับผู้เข้าร่วมทดลองนั้นประกอบไปด้วยผู้ที่มีประสบการณ์ฝึกโยคะ 12 คน คนที่เป็นโรคปวดกล้ามเนื้อ 14 คน และคนที่มีสุขภาพดี 16 คน

เมื่อคนทั้ง 3 กลุ่มได้รับความกดดันที่ทำให้เจ็บปวดมากหรือน้อย ผลปรากฏว่า ผู้เข้าร่วมทดลองที่เป็นโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงรับรู้ความเจ็บปวดที่ระดับความกดดันที่ต่ำกว่าคนกลุ่มอื่นๆ ซึ่ง ผลของ MRIs ยังแสดงให้เห็นเช่นกันว่า สมองของคนกลุ่มนี้มีกิจกรรมในสมองส่วนที่เกี่ยวข้องกับการตอบสนองต่อความเจ็บปวดมากที่สุด ในทางตรงกันข้าม คนที่ฝึกโยคะสามารถทนต่อความเจ็บปวดได้มากที่สุด และมีระดับของกิจกรรมในสมองที่เกี่ยวกับความเจ็บปวดต่ำที่สุดในระหว่างที่ทำ MRI ซึ่งงานวิจัยแสดงให้เห็นถึงคุณค่าของการฝึกโยคะที่สามารถช่วยให้บุคคลสามารถควบคุมความเครียดและการตอบสนองต่ออาการปวดได้

ข้อควรระวัง

อย่างไรก็ตาม แม้ว่าโยคะหลายประเภทมีความปลอดภัย แต่บางชนิดกลับต้องใช้แรงมาก และอาจไม่เหมาะสำหรับทุกคน  ผู้ป่วยสูงอายุ หรือคนที่มีปัญหาเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวร่างกายอาจต้องปรึกษาแพทย์ก่อนที่จะใช้โยคะเป็นทางเลือกในการบำบัด แต่สำหรับผู้ป่วยที่เป็นโรคซึมเศร้า วิตกกังวล หรือเครียด การฝึกโยคะอาจเป็นหนึ่งในวิธีที่น่าสนใจที่ช่วยทำให้อาการของคุณดีขึ้น

ที่มา : https://www.health.harvard.edu...


5 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Easy Yoga Poses for IBS Symptom Relief. Verywell Fit. (https://www.verywellfit.com/yoga-poses-for-ibs-symptom-relief-4134681)
13 Benefits of Yoga That Are Supported by Science. Healthline. (https://www.healthline.com/nutrition/13-benefits-of-yoga)
How Yoga Can Help Reduce Stress. Verywell Mind. (https://www.verywellmind.com/how-yoga-can-help-reduce-stress-3567211)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป