เด็กตัวเหลืองกับสาเหตุ การรักษา การป้องกัน และวิธีการดูแลตนเอง

เผยแพร่ครั้งแรก 11 พ.ย. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
เด็กตัวเหลืองกับสาเหตุ การรักษา การป้องกัน และวิธีการดูแลตนเอง

ตลอดช่วงระยะเวลาของการตั้งครรภ์ ทั้งคุณพ่อคุณแม่ต่างก็ต้องการให้ลูกน้อยออกมาลืมตาดูโลกอย่างปกติ พร้อมที่จะเติบโตอย่างแข็งแรงในเวลาต่อมา แต่ยังมีโรคชนิดหนึ่งที่อาจพบในเด็กหลังจากการคลอดได้ นั่นก็คืออาการเด็กตัวเหลือง ซึ่งเป็นโรคที่มักพบได้บ่อยๆ โดยมีทั้งแบบที่เป็นอันตรายและไม่เป็นอันตราย

สาเหตุของเด็กตัวเหลือง

  • ตัวเหลืองแบบปกติ เนื่องจากเด็กทารกมีจำนวนเม็ดเลือดแดงสูง เมื่อเม็ดเลือดแดงสลายตามอายุของเม็ดเลือด ก็จะเปลี่ยนเป็น “บิลิรูบิน” ที่ทำให้มีอาการตัวเหลือง แต่จะหายไปได้เองภายใน 5 – 10 วัน โดยถ้าเกิดในเด็กที่คลอดก่อนกำหนดจะหายภายใน 14 วัน
  • ตัวเหลืองเพราะการแตกของเม็ดเลือดแดงมากขึ้น กรณีนี้เกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น เด็กทารกมีหมู่เลือดไม่ตรงกับแม่ ซึ่งมักจะพบที่หมู่ A และ O เด็กทารกขาดเอนไซม์บางอย่างในเม็ดเลือดแดง เด็กทารกเป็นโรคธาลัสซีเมียแบบรุนแรง คุณแม่เป็นโรคเบาหวานจึงทำให้เด็กทารกมีเม็ดเลือดแดงจำนวนมาก เด็กทารกมีเลือดคลั่งจากการคลอดอย่างเช่นหัวโน บวม หรือมีการติดเชื้อที่มักจะมีอาการซึม ไม่กินนม และมีไข้
  • ตัวเหลืองจากนมแม่ มักพบในช่วงระยะเวลา 10 – 21 วันแรก ซึ่งยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด แต่ก็ไม่ก่อให้เกิดอันตรายแก่เด็กทารก
  • ตัวเหลืองเพราะสาเหตุอื่น เช่น ฮอร์โมนจากต่อมไทรอยด์บกพร่อง ทางเดินอาหาร กระเพาะอาหาร ท่อน้ำดีและลำไส้ของเด็กทารกเกิดการอุดตัน หรือเด็กทารกคลอดก่อนกำหนด

อาการของเด็กตัวเหลือง

อาการเด็กตัวเหลืองเป็นเพราะในร่างกายของเด็กทารกมีสารสีเหลืองที่เรียกว่า “บิลิรูลิน” (Bilirubin) อยู่ในเลือดมากเกินไป โดยมักจะจับอยู่ที่เนื้อเยื่อต่างๆ จนทำให้เด็กตัวเหลืองและตาขาวเป็นสีเหลือง หากไปจับที่สมองก็จะทำให้เด็กทารกมีอาการปัญญาอ่อนหรือหูหนวก ซึ่งสังเกตจากอวัยวะดังต่อไปนี้จะเป็นสีเหลืองคือตาขาว เหงือก ฝ่ามือ ฝ่าเท้า ปัสสาวะสีเหลืองเข้ม อุจจาระซีด หากพบว่าเด็กทารกมีไข้ ไม่กินนม เซื่องซึม ร้องไห้บ่อย และตัวเหลืองมากขึ้นเรื่อยๆ จะต้องรีบพาไปพบแพทย์ทันที

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

การรักษาและการป้องกัน

หากเป็นในสภาวะปกติเด็กทารกจะหายตัวเหลืองได้เองภายใน 2 สัปดาห์ แต่ถ้าไม่หายก็ควรจะได้รับการรักษาอย่างถูกวิธี ได้แก่

  • เอาเข้าตู้อบไฟ โดยจะใช้หลอดไฟเฉพาะที่มีความยาวคลื่นสามารถช่วยลดระดับสารบิลิรูบินในเลือดได้ ทำให้เด็กขับถ่ายเอาสารบิลิรูบินออกมาทางปัสสาวะหรืออุจจาระ จากนั้นอาการตัวเหลืองก็จะลดลง
  • ถ่ายเลือด ในกรณีที่เด็กทารกมีสารบิลิรูบินสูงมากๆ หรือมีหมู่เลือดอาร์เอชที่ไม่เหมือนแม่ และไม่ตอบสนองกับวิธีรักษาด้วยการเข้าตู้อบไฟ
  • ใช้วิธีการฉีดอิมมูโนโกลบูลิน เพื่อช่วยลดระดับสารก่อภูมิคุ้มกันในเด็กทารก

วิธีการดูแลเด็กตัวเหลือง

ขั้นแรกแพทย์จะทำการรักษาตามปกติที่พบว่าเด็กแรกคลอดมีอาการตัวเหลือง และควรพาลูกไปพบแพทย์ตามนัดอย่างเคร่งครัด เมื่อกลับไปอยู่บ้านคุณแม่ต้องคอยหมั่นสังเกตตัวลูกอยู่เสมอ หากพบว่ามีอาการตัวเหลือง ปัสสาวะและอุจจาระมีสีที่ผิดปกติอย่างเช่นปัสสาวะสีเข้มหรืออุจาระสีซีด จะต้องนำกลับมาพบแพทย์ทันทีหรือถ้ามีอาการผิดปกติอื่นๆ เช่น ท้องอืด มีไข้ ไม่กินนม และซึมลง ก็จะต้องนำมาพบแพทย์ทันทีอีกเช่นกัน อีกทั้งควรเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ เพื่อเป็นการส่งเสริมพัฒนาการให้เด็กทารกเจริญเติบโตสมวัยนั่นเอง

ดังนั้นเด็กทารกที่มีอาการตัวเหลืองควรได้รับการดูแลอย่างถูกต้องจากแพทย์เท่านั้น ไม่ใช่กระทำหรือรักษาตามความเชื่อที่ว่าให้เด็กทารกดื่มน้ำมากๆ เพื่อให้สารสีเหลืองลดลง เนื่องจากสารบิลิรูลินไม่สามารถละลายหรือสลายไปกับน้ำได้ นอกจากจะไม่ทำให้หายตัวเหลืองแล้ว ยังทำให้เด็กทารกเสี่ยงที่จะเป็นโรคร้ายแรงหรือเกิดอันตรายขั้นรุนแรงก็เป็นได้


16 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Yellow fever. NHS (National Health Service). (https://www.nhs.uk/conditions/yellow-fever/)
Yellow Fever Symptoms, Vaccine, Treatment & History. MedicineNet. (https://www.medicinenet.com/yellow_fever/article.htm)
Yellow Fever. Centers for Disease Control and Prevention (CDC). (https://www.cdc.gov/yellowfever/index.html)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป