5 โรคยอดฮิตของเด็กแรกเกิด

เผยแพร่ครั้งแรก 13 มี.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
5 โรคยอดฮิตของเด็กแรกเกิด

ลูกเปรียบเสมือนเป็นแก้วตาดวงใจของพ่อแม่ เมื่อทารกเกิดมาก็็ย่อมคาดหวังว่าจะมีสุขภาพที่แข็งแรงหรือที่เรียกกันว่า “ครบสามสิบสอง” แต่ทั้งนี้เด็กแรกเกิดยังมีโอกาสเจ็บป่วยได้เช่นกัน แม้ว่าคุณแม่จะมีสุขภาพดีก็ตาม ดังนั้นเราจะมาทำความรู้จักกับ “5 โรคยอดฮิตของเด็กแรกเกิด” เพื่อศึกษาและหาวิธีป้องกันก่อนที่จะเป็นอันตรายแก่ลูกน้อยนั่นเอง

ภาวะตัวเหลืองในทารก

โดยปกติเด็กแรกเกิดทุกคนจะมีอาการตัวเหลือง อาจจะมากบ้างหรือน้อยบ้าง โดยมักจะพบว่ามีอาการตัวเหลืองมากที่สุดระยะ 3 – 4 วัน หลังเกิด ซึ่งคุณแม่จะต้องหมั่นสังเกตว่าลูกมีอาการตัวเหลืองมากจนถึงกับต้องไปพบแพทย์ เพื่อตรวจร่างกายและวินิจฉัยว่าไม่เป็นอันตรายต่อทารกหรือไม่

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

เนื่องจากถ้ามีอาการตัวเหลืองมากในระดับที่เป็นพิษต่อเนื้อสมอง อาจจะสร้างความเสียหายกับสมองถึงขั้น “สมองพิการ” ทำให้ทารกมีอาการชัก หลังแอ่น แขนขามีอาการบิดเกร็ง และเสี่ยงต่อการเสียชีวิต หรือถ้ายังมีชีวิตอยู่จะมีผลในระยะยาวอย่างเช่นการได้ยินบกพร่อง แขนขามีอาการเกร็งผิดปกติ และภาวะปัญญาอ่อน เป็นต้น

เด็กแรกเกิดที่มีภาวะตัวเหลืองจะเกิดจากปัจจัยเสี่ยงอันได้แก่ ทารกที่คลอดก่อนกำหนด ทารกที่มีกรุ๊ปเลือดไม่ตรงกับคุณแม่ ทารกที่เจ็บป่วยเป็นโรคหรือภาวะที่ทำให้เม็ดเลือดแดงแตกง่าย โดยเฉพาะภาวะพร่องจี 6 พีดี (G-6PD deficiency) ทารกได้รับน้ำนมแม่ไม่เพียงพอแล้วมีน้ำหนักตัวลดลง รวมถึงคุณแม่ที่เคยมีประวัติเกี่ยวกับบุตรที่ต้องได้รับการส่องไฟ เพื่อรักษาภาวะตัวเหลืองในทารกมาก่อน

โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด

เป็นโรคที่สามารถพบได้บ่อยในเด็กแรกเกิดเช่นกัน โดยแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท ได้แก่ โรคหัวใจพิการชนิดมีภาวะตัวเขียว และโรคหัวใจพิการชนิดไม่มีภาวะตัวเขียว ซึ่งจะมีอาการที่สามารถสังเกตได้ชัดคือ ริมฝีปากมีสีเขียวคล้ำ จมูกบาน หายใจแรงและเร็ว ดูเหนื่อย หน้าอกบุ๋ม ซี่โครงบาน ตัวเย็น มือเท้าเย็น ดูดนมได้ไม่นานแล้วหยุดเป็นพักๆ

เด็กแรกเกิดบางรายที่แพทย์อาจตรวจพบว่า มีเสียงหัวใจทำงานผิดปกติตั้งแต่ก่อนออกจากโรงพยาบาล หรือ อาจจะตรวจไม่พบและไม่มีอาการแสดงออกอย่างชัดเจนก็ได้

ภาวะพร่องฮอร์โมนไทรอยด์แต่กำเนิด

เป็นอีกโรคหนึ่งที่พบได้บ่อยพอสมควรของเด็กแรกเกิดในประเทศไทย โดยเฉพาะพื้นที่ที่มีการบริโภคแร่ธาตุไอโอดีนน้อย จะพบราวๆ อัตราส่วน 1 : 3,000 ในพื้นที่ทั่วไป และอัตราส่วน 1 : 1,900 ในพื้นที่ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ภาวะพร่องฮอร์โมนไทรอยด์แต่กำเนิดในเด็กแรกเกิดนี้ เป็นภาวะซ่อนเร้นที่เราไม่สามารถสังเกตความผิดปกติได้จากภายนอก และถ้าไม่ได้รับการรักษาภายใน 2 เดือนหลังคลอด จะยิ่งทำให้เป็นผลเสียอย่างรุนแรงต่อพัฒนาการของการเจริญเติบโตและระบบการทำงานของสมอง แล้วเด็กแรกเกิดจะกลายเป็นภาวะปัญญาอ่อนในที่สุด

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

จริงๆ แล้วโรคนี้เราสามารถป้องกันได้อย่างง่ายๆ โดยคุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์ควรรับประทานอาหารที่มีแร่ธาตุไอโอดีนให้เพียงพอ และตรวจเลือดทารกก่อนที่จะออกจากโรงพยาบาล ซึ่งโรงพยาบาลเกือบทุกแห่งในปัจจุบันสามารถตรวจคัดกรองโรคนี้ได้อย่างสมบูรณ์ หากพบว่ามีความน่าสงสัยจะต้องรีบพาทารกกลับมาตรวจซ้ำ เพื่อได้รับการรักษาอย่างทันท่วงทีและลดความเสี่ยงหรือป้องกันต่อภาวะปัญญาอ่อน

ภาวะติดเชื้อในทารก

ด้วยเหตุที่เด็กแรกเกิดส่วนใหญ่ยังคงมีภูมิคุ้มกันหรือภูมิต้านทานต่ำ โดยเฉพาะทารกที่คลอดก่อนกำหนดหรือมีน้ำหนักตัวน้อย จะทำให้มีโอกาสในการติดเชื้อสูงและเสี่ยงต่อการลุกลามไปยังบริเวณอวัยวะสำคัญ อย่างเช่นโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ ปอดอักเสบ และติดเชื้อในกระแสเลือด เป็นต้น

โดยทารกที่ประสบกับภาวะติดเชื้อจะมีอาการซึม นอนนิ่งๆ ไม่ค่อยขยับตัว ตัวเย็น หายใจเร็วหรือหยุดหายใจจนตัวเขียวซีด ดูดนมได้น้อย บางรายอาจมีไข้หรือมีอาการเกร็งกระตุก หรือหากติดเชื้ออย่างรุนแรงอาจทำให้ความดันเลือดต่ำหรือถึงกับช็อกจนมีโอกาสเสียชีวิตได้

ภาวะลำไส้ขาดเลือดจากการบิดขั้ว

เกิดจากการจัดเรียงตัวของลำไส้เล็กและลำไส้ใหญ่ที่มีลักษณะผิดปกติตั้งแต่แรกเกิด จึงทำให้เส้นเลือดแดงที่ไปเลี้ยงผนังลำไส้เกิดการบิดขั้ว แล้วส่งผลให้ลำไส้อยู่ในภาวะขาดเลือด ซึ่งพบในเด็กแรกเกิดได้ไม่บ่อยเท่าโรคที่กล่าวมาข้างต้น แต่ถ้าได้รับการรักษาล่าช้าเกินไป อาจจะทำให้ทารกเสียชีวิตได้

โดยทารกจะมีลักษณะปกติทุกอย่าง แต่จะเริ่มมีอาการท้องอืด อาเจียน และถ่ายเป็นเลือด ถ้าปล่อยไว้จะทำให้เด็กมีอาการซึม ตัวซีด มีภาวะช็อก และเสียชีวิตในที่สุด หากไม่รีบรักษาด้วยการผ่าตัดโดยด่วน

เพราะฉะนั้นเมื่อเด็กแรกเกิดคลอดออกมาแล้ว คุณแม่ควรต้องหมั่นสังเกตลักษณะและอาการของลูกอยู่เสมอ พร้อมกับเอาใจใส่และเลี้ยงดูอย่างมีคุณภาพ ก็จะทำให้เขาเติบโตมีชีวิตที่ดีและสุขภาพแข็งแรง


5 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Newborn death and illness. World Health Organization (WHO). (https://www.who.int/pmnch/media/press_materials/fs/fs_newborndealth_illness/en/)
Common Infant and Newborn Problems. MedlinePlus. (https://medlineplus.gov/commoninfantandnewbornproblems.html)
Information on Diseases & Conditions for Parents with Infants & Toddlers (Ages 0-3). Centers for Disease Control and Prevention (CDC). (https://www.cdc.gov/parents/infants/diseases_conditions.html)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป