ผู้หญิงที่กำลังเข้าสู่วัยหมดประจำเดือนนั้นอาจมีอาการได้นานหลายปี

เผยแพร่ครั้งแรก 13 ก.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
ผู้หญิงที่กำลังเข้าสู่วัยหมดประจำเดือนนั้นอาจมีอาการได้นานหลายปี

โดยทั่วไปแล้วผู้หญิงที่กำลังจะเข้าสู่วัยหมดประจำเดือนนั้นอาจมีอาการร้อนวูบวาบและเหงื่อออกตอนกลางคืนได้นาน 7 ปีหรือมากกว่า

ในอดีตนั้นทางการแพทย์เชื่อว่าผู้หญิงที่กำลังเข้าสู่ช่ววัยหมดประจำเดือนนั้นอาจจะมีอาการร้อนวูบวาบได้ประมาณ 6-24 เดือน แต่ในงานวิจัยล่าสุดพบว่าอาการดังกล่าวนั้นอาจเกิดขึ้นได้นาน 7 ปีหรือมากกว่านั้น

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

ในช่วงที่ผู้หญิงกำลังจะเข้าสู่วัยหมดประจำเดือน ฮอร์โมนของร่างกายจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างมากและทำให้เกิดอาการได้หลายอย่าง โดยผู้หญิงในวัยนี้มากถึง 80% มีอาการร้อนวูบวาบตามร่างกาย และใบหน้า ซึ่งหากอาการดังกล่าวนั้นเกิดขึ้นในช่วงกลางคืน อาจทำให้เกิดอาการเหงื่อออกในปริมาณมากตามมาและส่งผลต่อการนอนหลับ

งานวิจัยล่าสุดเกี่ยวกับระยะเวลาในการเกิดอาการดังกล่าวนั้นเพิ่งได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร JAMA Internal Medicine 

ข้อมูลจากงานวิจัยได้ยืนยันว่าผู้หญิงที่กำลังเข้าสู่วัยหมดประจำเดือนนั้นสามารถมีอาการดังกล่าวได้นานหลายปีและส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของพวกเธอ

ผู้หญิงบางคนมีอาการมากกว่าคนอื่นๆ ผู้ที่มีอาการครั้งแรกก่อนหมดประจำเดือนนั้นมักจะมีอาการได้นานเฉลี่ยอยู่ที่ 9-10 ปี แต่ถ้าหากอาการดังกล่าวนั้นเกิดขึ้นหลังจากที่หมดประจำเดือนไปแล้ว พบว่ามักจะมีอาการได้นานเฉลี่ยนอยู่ที่ 3 ปีครึ่ง อย่างไรก็ตามนั่นก็ยังหมายความว่าผู้หญิงในช่วงวัยนี้จะต้องทนอยู่กับอาการดังกล่าวเป็นเวลานานหลายปี

ผู้หญิงที่มักมีอาการเป็นเวลานานนั้นมักจะเป็นผู้ที่สูบหรือเคยสูบบุหรี่มาก่อน, มีน้ำหนักตัวมากเกินเกณฑ์,เครียด, ซึมเศร้า หรือวิตกกังวล นอกจากนั้นยังพบว่าผู้หญิงแอฟริกันอเมริกันนั้นจะเกิดอาการได้นานที่สุด (คือเฉลี่ยอยู่ที่นานกว่า 11 ปี) ในขณะที่ผู้หญิงจีนและญี่ปุ่นนั้นมีอาการสั้นกว่า

งานวิจัยนี้กระตุ้นให้ผู้หญิงที่มีอาการดังกล่าวมองหาวิธีการรักษาที่จะช่วยให้พวกเธอมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

หนึ่งในวิธีการรักษาที่ใช้บ่อยคือการรักษาโดยการใช้ฮอร์โมน estrogen ทดแทนซึ่งก็เป็นวิธีการรักษาที่มีผลข้างเคียงหลายอย่าง เช่นการใช้การรักษาวิธีนี้เป็นเวลานานนั้นจะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งเต้านม ในผู้หญิงที่สูงอายุจะมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเส้นเลือดในสมองอุดตัน, ลิ่มเลือดอุดตัน และปัญหาอื่นๆ เพิ่มขึ้นได้ ดังนั้นหากคุณต้องการมองหาวิธีการรักษาที่จะช่วยบรรเทาอาการดังกล่าว ควรปรึกษาแพทย์อย่างละเอียด โดยเฉพาะในกลุ่มที่มีแนวโน้มว่าจะมีอาการเป็นเวลานาน

มียาหลายตัวที่สามารถช่วยบรรเทาอาการดังกล่าวได้โดยไม่ใช้ฮอร์โมน เช่นยาต้านเศร้าบางชนิด, ยาที่ใช้รักษาอาการปวดปลายประสาท และยาลดความดันโลหิต ในการใช้ยาควรใช้ยาในระดับที่ต่ำที่สุดและสั้นที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้

ในผู้หญิงบางราย อาจมีการใช้วิธีการต่างๆ เพื่อบรรเทาอาการดังกล่าวด้วยตัวเอง เช่นการฝึกการหายใจ, การแต่งตัวด้วยเสื้อผ้าหลายๆ ชั้น, การลดอุณหภูมิในห้อง, การลดการดื่มคาเฟอีน, แอลกอฮอล์ เครื่องดื่มร้อนและอาหารรสจัด, การฝึกเทคนิกการลดความเครียดเช่นการนั่งสมาธิและการพยายามควบคุมอารมณ์ของตัวเอง


55 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Menopause: When It Begins, Symptoms, Stages, Treatment. WebMD. (https://www.webmd.com/menopause/guide/menopause-information#1)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป