ยาที่เราทานสามารถส่งผลต่อประจำเดือนได้หรือไม่?

เผยแพร่ครั้งแรก 14 พ.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
ยาที่เราทานสามารถส่งผลต่อประจำเดือนได้หรือไม่?

การเปลี่ยนแปลงของประจำเดือนเพียงเล็กน้อยเป็นบางเดือนถือเป็นเรื่องปกติ ทั้งนี้ประจำเดือนอาจมาเร็วขึ้นหรือช้าลง หรืออาจมีปริมาณมากหรือน้อย แต่หากประจำเดือนมาผิดปกติทุกเดือน ไม่แน่ว่าร่างกายกำลังส่งสัญญาณเตือนบางอย่างให้คุณรู้ นอกจากการตั้งครรภ์จะทำให้ประจำเดือนไม่มาแล้ว การเปลี่ยนแปลงวิธีออกกำลังกาย ความเครียด หรือแม้แต่การทานยาบางชนิดก็สามารถทำให้ประจำเดือนมาผิดปกติได้ สำหรับยาที่ส่งผลต่อประจำเดือนมีดังนี้

1. ยาคุมกำเนิด

ยาคุมกำเนิดมักทำให้ประจำเดือนมาน้อย สั้นลง และบ่อยกว่าปกติ ซึ่งบางครั้งเราจะนำยาคุมกำเนิดมาใช้รักษาผู้หญิงที่เป็นโรคเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ ซึ่งผู้ป่วยจะมีเลือดประจำเดือนมาก และปวดท้องเกร็งอย่างรุนแรง อย่างไรก็ตาม หากคุณทานยาเม็ดคุมกำเนิดประเภทที่มีฮอร์โมนโปรเจสติน ประจำเดือนของคุณอาจมาน้อยกว่าที่เคย ผู้หญิงบางคนมีเลือดออกระหว่างรอบเดือนปกติเป็นเวลาหลายเดือนหลังจากทานยา ในขณะที่ผู้หญิงบางคนไม่มีประจำเดือนในเดือนหลังจากที่ตัวเองหยุดทานยาคุมกำเนิด

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

2. ฮอร์โมนบำบัด

ในระหว่างที่คุณอยู่ในช่วงวัยใกล้หมดระดู ระดับฮอร์โมนในร่างกายจะมีการเปลี่ยนแปลง ทำให้ประจำเดือนของคุณมาแบบคาดการณ์ไม่ได้ และมักมามากกว่าปกติ ทั้งนี้การใช้ฮอร์โมนบำบัด โดยประกอบไปด้วยฮอร์โมนเอสโตรเจนโปรเจสเตอโรน หรือใช้แบบผสมผสาน ก็สามารถทำให้รอบเดือนของคุณกลับมาเป็นปกติ แต่ทั้งนี้คุณควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้วิธีนี้ค่ะ

3. วาร์ฟาริน

ยาชนิดนี้ช่วยป้องกันไม่ให้เลือดจับตัวกันเป็นลิ่ม และใช้ป้องกันการเกิดภาวะอุดตันของหลอดเลือด แต่หากคุณทานยาชนิดนี้ และมีเลือดประจำเดือนออกมามากกว่าปกติ หรือมีเลือดออกระหว่างรอบเดือน คุณก็ควรแจ้งแพทย์ให้ทราบค่ะ 

4. แอสไพรินและNSAIDS

แอสไพรินสามารถป้องกันไม่ให้เกิดการเกาะกลุ่มของเกร็ดเลือด นี่จึงเป็นเหตุผลว่าทำไมแพทย์ถึงจ่ายยาชนิดนี้ให้กับคนที่เป็นโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน หรือเป็นโรคหลอดเลือดสมอง ซึ่งสามารถเกิดขึ้นเมื่อเส้นเลือดอุดตัน  แต่ถ้าคุณทานยาแอสไพรินเป็นประจำ คุณอาจสังเกตได้ว่าประจำเดือนมามากขึ้นหรือนานกว่าปกติ ในขณะที่ยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่ สเตียรอยด์อย่างไอบูโพรเฟนและนาพรอกเซน สามารถทำให้ประจำเดือนมาน้อยลง หากคุณพบความผิดปกติดังกล่าว คุณก็ควรไปพบแพทย์

5. ยารักษาโรคไทรอยด์

ไทรอยด์คือต่อมชนิดหนึ่งที่มีหน้าที่ผลิตฮอร์โมนบางชนิด แต่หากฮอร์โมนถูกผลิตออกมาไม่เพียงพอ มันก็จะทำให้เกิดภาวะขาดไทรอยด์ ส่งผลให้ประจำเดือนมาผิดปกติ ทั้งนี้ยาที่นิยมใช้รักษาภาวะดังกล่าวคือ ยาเลโวไทรอกซีน ซึ่งมันจะทำหน้าที่ทดแทนฮอร์โมนที่ผลิตโดยต่อมไทรอยด์ และมันก็สามารถทำให้ประจำเดือนมาผิดปกติเช่นกัน

6. ยารักษาโรคซึมเศร้า

มีนักวิจัยพบว่า ผู้หญิงบางคนที่ทานยารักษาโรคซึมเศร้ามีความผิดปกติเกี่ยวกับประจำเดือน อย่างการปวดท้องเกร็ง มีเลือดออกมาก  หรือประจำเดือนขาด อย่างไรก็ดี คุณมีแนวโน้มที่จะพบความผิดปกติในช่วง 3 เดือนแรกหลังจากเริ่มทานยา แต่ถ้าประจำเดือนยังคงมาผิดปกติหลังจากนั้น คุณก็อย่าลังเลที่จะไปพบแพทย์ อย่างไรก็ตาม ถ้าคุณมีอาการที่เกิดขึ้นก่อนมีประจำเดือน หรือที่เรียกว่า Premenstrual Dysphoric Disorder (PMDD) การทานยารักษาโรคซึมเศร้าก็อาจช่วยบรรเทาอาการได้

7. ยารักษาโรคลมชัก

มีงานวิจัยพบว่า ผู้หญิงที่เป็นโรคลมชัก และทานยาต้านชักหลายคนพบว่าประจำเดือนขาด ประจำเดือนมาผิดปกติ หรือมีการเปลี่ยนแปลงความยาวของรอบเดือน ทั้งนี้หากคุณได้รับผลข้างเคียงดังกล่าว คุณก็ควรแจ้งแพทย์ให้ทราบเพื่อที่จะได้มั่นใจว่าคุณไม่ได้ตกอยู่ในภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ

8. การรักษาด้วยเคมีบำบัด

การรักษาโรคมะเร็งด้วยวิธีเคมีบำบัดสามารถทำให้รอบเดือนของคุณเปลี่ยนไปจากเดิม และทำให้ประจำเดือนมาผิดปกติ หรือมีประจำเดือนมากกว่าเดิม ในบางครั้งประจำเดือนของคุณอาจหายไปอย่างสิ้นเชิง หากคุณมีอายุน้อยกว่า 40 ปี ประจำเดือนจะกลับมาอีกครั้งหลังจากที่คุณจบการรักษา

จากที่กล่าวไปจะเห็นได้ว่า การทานยาก็สามารถทำให้ประจำเดือนของเรามาผิดปกติ ไม่ว่าจะมาช้าหรือเร็วขึ้น หรือมีปริมาณมากขึ้นหรือน้อยลง แต่หากคุณหยุดทานยาแล้วประจำเดือนก็ยังไม่กลับมาเป็นเหมือนเดิม คราวนี้ก็คงถึงเวลาที่คุณต้องไปพบแพทย์ค่ะ

ที่มา: https://www.webmd.com/women/me...


4 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Missed or Irregular Menstrual Periods Symptoms. Drugs.com. (https://www.drugs.com/symptom/missed-or-irregular-menstrual-periods-1.html)
Menstrual cycle phase and responses to drugs of abuse in humans. National Center for Biotechnology Information. (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/16413143)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
พลังงานที่ใช้ในการทำกิจกรรม
พลังงานที่ใช้ในการทำกิจกรรม

คำนวณพลังงานที่ใช้ในแต่ละกิจกรรมง่ายๆ ทำให้สามารถเพิ่มการขยับร่างกายได้มากขึ้น

อ่านเพิ่ม
ยาเลื่อนประจำเดือน
ยาเลื่อนประจำเดือน

วิธีการใช้ยาเลื่อนประจำเดือนและการใช้ยาเลื่อนประจำเดือนให้มาเร็วขึ้น

อ่านเพิ่ม
ซีสต์รังไข่ สาเหตุ อาการ การรักษา การป้องกัน
ซีสต์รังไข่ สาเหตุ อาการ การรักษา การป้องกัน

ซีสต์ในรังไข่ ความผิดปกติของรังไข่ที่ลุกลามกลายเป็นเชื้อมะเร็งได้

อ่านเพิ่ม