ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านโรคไต HD
เขียนโดย
ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านโรคไต HD
ทีมแพทย์ HD
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
ทีมแพทย์ HD

อาการไตวาย เรื่องที่ควรรู้เพื่อการดูแลสุขภาพ

รู้จักอาการไตวาย ทั้งไตวายเฉียบพลัน และไตวายเรื้อรัง ซึ่งทั้งสองแบบมีสาเหตุ การดำเนินของโรค วิธีรักษา และหลักปฏิบัติต่างกัน
เผยแพร่ครั้งแรก 3 พ.ค. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 28 พ.ค. 2019 เวลาอ่านประมาณ 4 นาที
อาการไตวาย เรื่องที่ควรรู้เพื่อการดูแลสุขภาพ

ไตวาย เป็นภาวะที่ไตทำงานลดลง ไม่ว่าจะด้วยสาเหตุใดก็ตาม แบ่งเป็นไตวายที่มีการทำงานลดลงอย่างรวดเร็ว เรียกว่า ไตวายเฉียบพลัน กับไตวายที่มีการทำงานลดลงอย่างช้าๆ และเป็นการเสื่อมอย่างถาวร เรียกว่า ไตวายเรื้อรัง ไตวายทั้งสองแบบมีสาเหตุ การดำเนินของโรค การรักษา และหลักปฏิบัติตนที่ต่างกัน ดังนี้

1. ไตวายเฉียบพลัน (acute renal failure)

เป็นภาวะที่ไตสูญเสียการทำงานอย่างรวดเร็ว ภายในเวลาเป็นชั่วโมงหรือเป็นวันเท่านั้น ส่งผลให้ไตเสียหน้าที่ เกิดภาวะการคั่งของน้ำ ของเสีย และเสียสมดุลในการควบคุมกรดด่างของร่างกาย หากผู้ป่วยมีภาวะไตวายเฉียบพลันแล้วถูกปล่อยทิ้งไว้ ไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที อาจเป็นอันตรายถึงชีวิต หรือมีแนวโน้มจะกลายเป็นไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายได้อย่างรวดเร็ว ส่วนในผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที มีโอกาสที่จะกลับมาทำงานได้ปกติได้ หรือใกล้เคียงปกติ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจไต ฟอกไต รักษาโรคไต วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 50 บาท ลดสูงสุด 83%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

  1. สาเหตุของไตวายเฉียบพลัน มี 4 สาเหตุ ได้แก่ มีความผิดปกติในการไหลเวียนเลือดมาเลี้ยงไต ได้รับยา หรือ สารพิษที่ทำลายไต มีภาวะไตอักเสบ และมีการอุดตันของทางเดินปัสสาวะ มีรายละเอียด ดังนี้ปริมาณเลือดมาเลี้ยงที่ไตลดลงจากสาเหตุใดๆ ก็ตาม เช่น เสียเลือดมากจนช๊อก ขาดน้ำจากท้องเสียอย่างรุนแรง ติดเชื้อในกระแสเลือดจนช๊อก เป็นต้น
  2. ได้รับยาหรือสารพิษต่อไต เช่น ยาปฏิชีวนะบางชนิด ยาต้านการอักเสบชนิดไม่ใช่สเตียรอยด์ (Nonsteroidal anti-inflammatory drug (NSAIDS)) ยาชุด ยาสมุนไพร เป็นต้น
  3. โรคไตอักเสบ
  4. การอุดตันของทางเดินปัสสาวะ เช่น นิ่วในกระเพาะปัสสาวะ ต่อมลูกหมากโต เป็นต้น

ผู้ป่วยไตวายเฉียบพลันมักมีอาการแสดงของภาวะน้ำเกิน หรือของเสียคั่ง ภายในเวลารวดเร็ว แพทย์วินิจฉัยไตวายเฉียบพลันได้จากอาการแสดง เช่น ปัสสาวะออกน้อย บวม และผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการพบค่าครีเอตินิน (Creatinine) สูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ภาวะไตวายเฉียบพลัน หากได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที ไตจะสามารถกลับมาทำงานได้ตามปกติได้ หรือใกล้เคียงปกติ การรักษาภาวะไตวายเรื้อรังโดยหลักการมี 2 วิธี ในผู้ป่วยบางรายอาจต้องรักษาหลายวิธีประกอบกัน ประกอบด้วยการรักษาดังต่อไปนี้

  1. การรักษาสาเหตุ เพื่อให้ไตสามารถกลับมาทำงานได้เป็นปกติโดยเร็วและป้องกันภาวะแทรกซ้อนจากไตเสียหน้าที่ การรักษาสาเหตุ เช่น การสืบค้นสาเหตุที่ทำลายไตและจัดการกับสาเหตุนั้น เช่น ผู้ป่วยรับประทานยาสมุนไพรบางชนิดที่ส่งผลเสียต่อไต เมื่อหยุดยาสมุนไพรนั้น ไตก็อาจกลับมาทำหน้าที่ได้ตามปกติ หรือ ผู้ป่วยที่เสียเลือดจนเกิดภาวะช็อก เมื่อควบคุมการเสียเลือดได้สำเร็จและได้รับสารน้ำ หรือ เลือดทดแทนอย่างเพียงพอ ไตก็อาจกลับมาทำหน้าที่ได้ตามปกติ เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ไตจะฟื้นฟูสภาพได้จนจะกลับมาทำงานได้ตามปกติหรือไม่ ขึ้นอยู่กับสาเหตุและความเร็วในการรักษาสาเหตุนั้น
  2. การรักษาแบบประคับประคองและรักษาภาวะแทรกซ้อน ภาวะแทรกซ้อนจากไตวายเฉียบพลัน ที่สำคัญ ได้แก่ ภาวะน้ำเกิน ภาวะของเสียคั่ง และการเสียสมดุลกรด-ด่าง ของร่างกาย ผู้ป่วยอาจได้รับการรักษาโดยการจำกัดน้ำ ให้ยาขับปัสสาวะ ให้ยาลดความเป็นกรดของร่างกาย และผู้ป่วยบางรายอาจต้องเข้ารับการบำบัดทดแทนไตเพื่อลดปริมาณของเสียคั่งในร่างกาย

2. ไตวายเรื้อรัง (Chronic kidney disease)

ภาวะไตวายเรื้อรัง หมายถึง หมายถึง โรคที่ไตไม่สามารถขับของเสียและน้ำออกจากร่างกายด้วยการปัสสาวะได้ ส่งผลให้ของเสียและน้ำค้างอยู่ในเลือด แพทย์วินิจฉัยการเป็นไตวายเรื้อรังได้จาก 2 แนวทาง ได้แก่

  1. แนวทางที่ 1 วินิจฉัยจากประสิทธิภาพการกรองของของไต โดยประเมินจากการตรวจพบอัลบูมิน (Albumin) หรือ เม็ดเลือดแดงในปัสสาวะ ร่วมกับผลการตรวจพบลักษณะความผิดปกติเชิงโครงสร้างของไต โดยอาจมีความผิดปกติในอัตราการกรองของไต (estimated glomerular filtration rate (eGFR)) ร่วมด้วยหรือไม่ก็ได้
  2. แนวทางที่ 2 วินิจฉัยจากการคำนวณอัตราการกรองของไต หรือ เรียกชื่อย่อว่า ค่าอีจีเอฟอาร์ (eGFR) หรือ จีเอฟอาร์ (GFR) หากอัตราการกรองของไตต่ำกว่า 60 มิลลิลิตร/นาที/ 1.73 ตารางเมตร เป็นเวลา 3 เดือนขึ้นไป โดยอาจมีความผิดปกติในโครงสร้างของไตร่วมด้วยหรือไม่ก็ได้

ไตวายเรื้อรัง มีสาเหตุได้จากการเสื่อมของไตตามธรรมชาติ หรือการเป็นโรคเรื้อรัง เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง หรือผู้ป่วยบางรายอาจเคยเป็นไตวายเฉียบพลันมาก่อน ระดับความรุนแรงของไตวายเรื้อรัง มี 5 ระยะ ดังนี้

  1. ไตวายเรื้อรังระยะที่ 1 พบว่า อัตราการกรองของไตลดลง เท่ากับ 90 มิลลิลิตร/นาที/1.73 ตารางเมตร ในระยะนี้ผู้ป่วยมักมีอาการโปรตีนในปัสสาวะ เนื่องจากเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงไตมีความผิดปกติส่งผลให้อัลบูมิน ซึ่งเป็นโปรตีนที่มีอนุภาคขนาดใหญ่ถูกกรองผ่านไตออกมาในปัสสาวะ
  2. ไตวายเรื้อรังระยะที่ 2 พบว่า อัตราการกรองของไตลดลง อยู่ในช่วง 60-89 มิลลิลิตร/นาที/1.73 ตารางเมตร อาจพบว่าผู้ป่วยมีความดันโลหิตสูงขึ้น เนื่องจากหน้าที่ในการควบคุมความดันโลหิตของไตเสียไป
  3. ไตวายเรื้อรังระยะที่ 3 พบว่า อัตราการกรองของไตลดลง อยู่ในช่วง 30-59 มิลลิลิตร/นาที/1.73 ตารางเมตร ผู้ป่วยอาจเริ่มมีอาการซีด เนื่องจากหน้าที่ในการสร้างฮอร์โมนที่ทำหน้าที่กระตุ้นไขกระดูกในการสร้างเม็ดเลือดแดง เสียไป ไตวายเรื้อรังระยะที่ 3 ยังแบ่งย่อยออกได้เป็นไตวายเรื้อรังระยะที่ 3a มีค่าอัตราการกรองของไตลดลง อยู่ในช่วง 45-59 มิลลิลิตร/นาที/1.73 ตารางเมตร และไตวายเรื้อรังระยะที่ 3b มีค่าอัตราการกรองของไตลดลง อยู่ในช่วง 30-44 มิลลิลิตร/นาที/1.73 ตารางเมตร
  4. ไตวายเรื้อรังระยะที่ 4 พบว่า อัตราการกรองของไตลดลง อยู่ในช่วง 15-29 มิลลิลิตร/นาที/1.73 ตารางเมตร ผู้ป่วยจะมีอาการซีดมากขึ้น เริ่มมีภาวะเลือดเป็นกรดจากมีปริมาณของเสียสะสมในเลือดในปริมาณสูง ส่งผลให้ผู้ป่วยบางรายอาจพบโปแทสเซียม (Potassium) ในเลือดสูงได้ บางรายอาจพบภาวะน้ำเกิน เนื่องจากการสูญเสียหน้าที่ในการขับน้ำออกจากร่างกาย ผู้ป่วยจะได้รับคำแนะนำเกี่ยวกับการเตรียมตัวเพื่อรับการบำบัดทดแทนไต ได้แก่ การเปลี่ยนไต การฟอกไตด้วยเครื่องไตเทียม หรือ การฟอกไตผ่านทางเยื่อบุช่องท้อง

ผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะที่ 1-4 จะได้รับคำแนะนำเพื่อเข้ารับการรักษาเพื่อควบคุมปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดไตวายเรื้อรัง เช่น ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ควบคุมความดันโลหิตสูง หรือควบคุมการรั่วของโปรตีนในปัสสาวะ และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อชะลอไตเสื่อม เช่น การควบคุมการบริโภคอาหารโปรตีน เกลือ ปริมาณน้ำดื่มต่อวัน เป็นต้น เมื่อโรคลุกลามเข้าสู่ไตวายเรื้อรังระยะที่ 5 ผู้ป่วยจะได้รับการรักษาด้วยการบำบัดทดแทนไต

จากสาเหตุของการเกิดภาวะไตวายทั้งสองแบบ เห็นได้ว่าบุคคลทุกวัยมีความเสี่ยงสูงจะเกิดภาวะไตวายได้ แต่สำหรับผู้มีความเสี่ยงสูง เช่น ผู้สูงอายุ ซึ่งการทำงานของไตลดลงตามวัย โดยเฉพาะผู้ที่อายุมากกว่า 75 ปีหรือผู้ป่วยวิกฤติที่มีปัญหาสุขภาพที่กระทบอวัยวะสำคัญ โดยเฉพาะระบบหัวใจและหลอดเลือด หากบุคคลทั้งสองกลุ่มนี้ เกิดภาวะไตวายจะเพิ่ม โอกาสให้การทำงานของไตลดลงอย่างรวดเร็ว อาจกลายเป็นไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายเร็วขึ้นและต้องรับการรักษาด้วยการบำบัดทดแทนไต และมีความเสี่ยงสูงต่อการเสียชีวิตมากกว่าผู้ป่วยอื่น


5 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
สมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย. (2555). คู่มือ การจัดการดูแลผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะเริ่มต้น. กรุงเทพฯ: ยูเนียนอุลตร้าไวโอเร็ต จำกัด.
มณีรัตน์ จิรัปปภา. (2557). การชะลอไตเสื่อมจากวัยผู้ใหญ่ถึงวัยสูงอายุ. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา, 20(2): 5-16.
ทัศน์พรรณ ศรีทองกุล. ภาวะไตวายเฉียบพลัน. Available in http://www.si.mahidol.ac.th/sidoctor/e-pl/articledetail.asp?id=1322. Accessed April 28, 2019.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
ชีวิตจะดำเนินต่อไปอย่างไร หลังจากแพทย์แจ้งว่า “คุณป่วยเป็นไตวายเรื้อรัง”
ชีวิตจะดำเนินต่อไปอย่างไร หลังจากแพทย์แจ้งว่า “คุณป่วยเป็นไตวายเรื้อรัง”

ไตวายเรื้อรัง อาจฟังดูน่ากลัว แต่หากทำความรู้จักกับโรคให้ลึกซึ้ง เรียนรู้วิธีการรักษาตัวในแต่ละระยะของโรค การอยู่กับมันก็ไม่ร้ายแรงเกินไป

อ่านเพิ่ม