ฮอร์โมนแคททีโคลามีน (Catecholamines hormones) เป็นกลุ่มฮอร์โมนที่ผลิตโดยต่อมหมวกไต ซึ่งอยู่บริเวณส่วนบนของไต โดยมีโดพามีน (Dopamine) เอพิเนฟริน (Epinephrine) หรืออะดรีนาลีน (Adrenaline) และนอร์เอพิเนฟริน (Norepinephrine) เป็นฮอร์โมนหลักของกลุ่มฮอร์โมนแคททีโคลามีน โดยปกติแล้วฮอร์โมนชนิดนี้จะถูกปล่อยเข้าไปในกระแสเลือดเมื่อร่างกายหรือจิตใจเกิดความเครียด
ตรวจระดับฮอร์โมนวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 382 บาท ลดสูงสุด 69%
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
ฮอร์โมนหลักของกลุ่มฮอร์โมนแคททีโคลามีนจะถูกแบ่งออกเป็นรูปแบบต่างๆ ก่อนจะถูกกำจัดในปัสสาวะดังต่อไปนี้
- โดพามีนจะเปลี่ยนเป็นกรดโฮโมวานิลิก (Homovanillic acid)
- เอพิเนฟรินจะเปลี่ยนเป็น VMA หรือ Metanephrine และ Vanillylmandelic acid
- นอร์เอพิเนฟรินจะเปลี่ยนเป็น Normetanephrine และ VMA
การทดสอบระดับฮอร์โมนแคททีโคลามีน
แพทย์มักจะตรวจปัสสาวะเพื่อวัดปริมาณการหลั่งฮอร์โมนออกจากร่างกายภายในเวลา 24 ชั่วโมง
ข้อมูลด้านล่างเป็นช่วงปกติของฮอร์โมนในระยะ 24 ชั่วโมง ซึ่งช่วงเหล่านี้อาจแตกต่างกันเล็กน้อยขึ้นอยู่กับห้องปฏิบัติการที่ทำการทดสอบ
- โดพามีน 65 - 400 ไมโครกรัม
- เอพิเนฟริน 0.5 - 20 ไมโครกรัม
- เมตาเนฟริน 24 - 96 ไมโครกรัม (แต่ห้องปฏิบัติการบางแห่งจะให้ผลในช่วง 140 - 785 ไมโครกรัม)
- นอร์เอพิเนฟริน 15 - 80 ไมโครกรัม
- นอร์เมตาเนฟริน 75 - 375 ไมโครกรัม
- ฮอร์โมนแคททีโคลามีนทั้งหมดในปัสสาวะ 14 - 110 ไมโครกรัม
- VMA 2 - 7 มิลลิกรัม
ถ้าตรวจวัดแล้วพบว่าระดับฮอร์โมนแคททีโคลามีน อยู่ในระดับที่จำเป็นต้องทำการทดสอบหรือตรวจเพิ่มเติม แพทย์จะให้ตรวจปัสสาวะรวมถึงตรวจเลือด ควรแจ้งแพทย์ถึงอาหารและเครื่องดื่มที่ได้รับประทานก่อนหน้านี้ เพราะอาหารและเครื่องดื่มบางชนิดสามารถเพิ่มระดับฮอร์โมนแคททีโคลามีนได้ เช่น
นอกจากนี้ การรับประทานยาบางชนิดยังส่งผลต่อระดับกลุ่มฮอร์โมนแคททีโคลามีนด้วย เช่น
- ยาแก้ปวดพาราเซตามอล (Acetaminophen)
- ยาอัลบูเทอรอล (Albuterol)
- แอมเฟตามีน (Amphetamine)
- บิวสไปโรน (Buspirone)
- ยาปิดกั้นแคลเซียม (Calcium channel blockers)
- โคลนิดีน (Clonidine)
- โคเคน (Cocaine)
- ไซโคลเบนซาพรีน (Cyclobenzaprine)
- ยาลดความดันโลหิตสูง กัวเนธิดีน (Guanethidine)
- ยาที่ออกฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ (Monoamine oxidase: MAOIs)
- ฟีน๊อกซิเบนซามิน (Phenoxybenzamine)
- ฟีโนไทอาซีน (Phenothiazine)
- ยาแก้หวัดคัดจมูก ซูโดอีเฟดรีน (Pseudoephedrine)
- ยารีเซอร์พีน (Reserpine)
- ยาต้านเศร้าในกลุ่ม Tricyclic Antidepressants (TCAs)
การมีระดับฮอร์โมนแคททีโคลามีนสูง
ระดับฮอร์โมนแคททีโคลามีนที่สูงขึ้น อาจบ่งบอกถึงปัญหาสุขภาพหลายอย่าง เช่น:
- อาการวิตกกังวลเฉียบพลัน (Acute anxiety)
- ภาวะเครียดอย่างรุนแรง
- เนื้องอกบางประเภท ทั้งที่เป็นมะเร็งและไม่ใช่มะเร็ง
- ภาวะ Baroreflex failure (เป็นโรคที่เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของความดันโลหิต)
- การขาดเอนไซม์บางชนิด
- โรค Menkes หรือ Menkes syndrome (โรคที่มีผลต่อระดับทองแดงในร่างกาย)
- ความผิดปกติของกระบวนการ Dopamine metabolism