กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

ท้องลมคืออะไร? อันตรายหรือไม่?

เผยแพร่ครั้งแรก 13 เม.ย. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
ท้องลมคืออะไร? อันตรายหรือไม่?

หากตรวจพบว่าตัวเองกำลังตั้งครรภ์ ประจำเดือนไม่มา แถมมีอาการเหมือนคนท้องทุกอย่าง แต่เวลาผ่านไปท้องกลับไม่โตขึ้น และพอตรวจอัลตราซาวน์ก็ไม่เห็นการเจริญเติบโตของตัวอ่อน สิ่งที่เกิดขึ้นนั้นเรียกว่า Anembryonic pregnancy หรือว่า ท้องลม นั่นเอง

ท้องลมคืออะไร?

โดยปกติ เมื่อไข่และอสุจิเกิดการปฏิสนธิกันที่ท่อนำไข่แล้ว จะเคลื่อนไปฝังตัวที่โพรงมดลูก และแบ่งเซลล์เจริญเติบโตจนกลายเป็นตัวอ่อน แต่ในกรณีที่เกิดท้องลม อาจมีสาเหตุบางอย่างซึ่งทำให้เซลล์ที่ปฏิสนธิแล้วจะไม่สามารถแบ่งตัวและเจริญเติบโตได้ ทำให้เกิดภาวะแท้งคุกคามในระยะแรกของการตั้งครรภ์ ผู้หญิงจะมีอาการเหมือนตั้งครรภ์ทุกอย่าง แต่ไม่มีตัวอ่อนเจริญอยู่ภายใน

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ฝากครรภ์ คลอดบุตรวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 79 บาท ลดสูงสุด 65%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

สาเหตุการเกิดท้องลม

สาเหตุแท้จริงที่ทำให้เกิดท้องลมนั้นยังไม่ทราบแน่ชัด นั่นแสดงว่าผู้หญิงที่ตั้งครรภ์ทุกคนมีโอกาสเสี่ยงจะเกิดท้องลมได้เหมือนกัน แต่สาเหตุที่เป็นไปได้ อาจเกิดจากความผิดปกติของเซลล์สืบพันธุ์เพศชายหรือหญิง เช่น ไข่หรืออสุจิมีความผิดปกติทางโครโมโซม หรืออาจเกิดจากเซลล์ที่ปฏิสนธิแล้วไปฝังตัวในตำแหน่งที่ไม่เหมาะสม หรือได้รับสารพิษ ทำให้ไม่สามารถแบ่งตัวได้ ในขณะที่ระบบสืบพันธุ์และฮอร์โมนต่างๆ ของคุณแม่ยังทำงานตามปกติ จึงแสดงสัญญาณเหมือนคนตั้งครรภ์โดยทั่วไปนั่นเอง

หากเป็นท้องลม จะรู้ได้อย่างไร?

คนที่เป็นท้องลม ในระยะแรกจะมีอาการเหมือนคนท้องทุกประการ ได้แก่ ประจำเดือนขาด ตรวจพบได้ว่าตั้งครรภ์ และมีอาการแพ้ท้อง วิงเวียนศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน แต่ความผิดปกติจะเริ่มสังเกตได้เมื่อพบว่าท้องไม่โตขึ้นเลยแม้ผ่านไปหลายสัปดาห์ อาการแพ้ท้องหายไป ทารกในครรภ์ไม่ดิ้น และมีอาการปวดท้องน้อย บางคนจะมีเลือดออกทางช่องคลอดเหมือนประจำเดือน และอาจมีก้อนเลือดออกมาด้วย ซึ่งถ้ามีความผิดปกติถึงขั้นนี้ควรรีบแจ้งให้แพทย์ทราบ แพทย์จะทำการวินิจฉัยโดยอัลตราซาวน์ช่องท้อง หากเป็นท้องลม จะเห็นเฉพาะถุงการตั้งครรภ์แต่ไม่มีทารกอยู่ภายใน

การรักษาท้องลม

หากพบว่าเป็นท้องลม แสดงว่าตัวอ่อนในครรภ์ได้เสียชีวิตและยุติการตั้งครรภ์แล้ว แนวทางการรักษามีหลายวิธี ขึ้นอยู่กับสภาวะร่างกายและความสมัครใจ ซึ่งได้แก่

  1. ปล่อยให้แท้งออกมาเองตามธรรมชาติ บางคนอาจทราบว่าเป็นท้องลมหลังตัวอ่อนหลุดออกมาแล้ว ซึ่งจะใช้เวลาประมาณ 2 สัปดาห์หลังแท้ง เนื่องจากเป็นการแท้งในระยะแรกของการตั้งครรภ์ จึงไม่เสียเลือดมากนัก
  2. ใช้ยาเหน็บช่องคลอด เป็นการกระตุ้นให้ตัวอ่อนที่เสียชีวิตแล้วหลุดออกมา ยาที่ใช้ ได้แก่ Misoprostal ซึ่งต้องใช้เวลาสักระยะหนึ่งเพื่อให้แท้งโดยสมบูรณ์
  3. ขูดมดลูก เป็นวิธีที่รวดเร็ว และไม่เหลือเศษรกติดค้างอยู่ภายใน แต่วิธีนี้อาจเจ็บตัวสักหน่อย และต้องทำโดยแพทย์ พยาบาล ไม่สามารถทำเองที่บ้านได้

ท้องลม อันตรายหรือไม่?

ท้องลมเป็นภาวะแท้งที่เกิดในระยะแรกของการตั้งครรภ์ ซึ่งโดยปกติการแท้งจะไม่เสียเลือดมากนัก จึงไม่เป็นอันตรายต่อร่างกายแม่ เว้นแต่จะมีผลข้างเคียงบางอย่าง เช่น เกิดการติดเชื้อจากการขูดมดลูก เป็นต้น แต่ผลกระทบที่สำคัญมักเกิดกับจิตใจมากกว่า เนื่องจากครอบครัวที่กำลังหวังจะเป็นคุณพ่อคุณแม่มือใหม่กลับต้องมาผิดหวัง จึงอาจเกิดอาการซึมเศร้าขึ้นกับคนเป็นแม่รวมถึงคนในครอบครัวได้ ทางที่ดีควรทำจิตใจให้สบาย รักษาร่างกายให้แข็งแรง และรออีกสัก 2-3 เดือนให้ร่างกายและจิตใจสมบูรณ์ หลังจากนั้นก็สามารถตั้งครรภ์ได้ใหม่ และมีลูกได้ตามปกติ 


13 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Blighted Ovum: Symptoms, Causes and Prevention. American Pregnancy Association. (https://americanpregnancy.org/pregnancy-complications/blighted-ovum/)
Blighted Ovum: Treatment, Symptoms, Causes, and Outlook. Healthline. (https://www.healthline.com/health/pregnancy/blighted-ovum)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
ทารกมีอัตราการเต้นของหัวใจช้า อันตรายหรือไม่
ทารกมีอัตราการเต้นของหัวใจช้า อันตรายหรือไม่

เรื่องง่ายๆ ที่คุณแม่ทุกคนต้องใส่ใจเพราะอัตราการเต้นของหัวใจสัมพันธ์กับความปลอดภัยของลูกน้อย

อ่านเพิ่ม
อะไรคือสัญญาณการฉีกขาดในภาวะตั้งครรภ์นอกมดลูก?
อะไรคือสัญญาณการฉีกขาดในภาวะตั้งครรภ์นอกมดลูก?

เรียนรู้สัญญาณการตั้งครรภ์นอกมดลูกก่อนที่มันจะฉีกขาด

อ่านเพิ่ม
ทำความเข้าใจกับภาวะตั้งครรภ์ที่ไข่ที่ปฏิสนธิไม่ฝังตัว (Chemical Pregnancy) ใช่หรือไม่ใช่?
ทำความเข้าใจกับภาวะตั้งครรภ์ที่ไข่ที่ปฏิสนธิไม่ฝังตัว (Chemical Pregnancy) ใช่หรือไม่ใช่?

การตั้งครรภ์ที่เร็วเกินไปที่จะยืนยันด้วยวิธีการทางชีวเคมี

อ่านเพิ่ม