เวลาที่เส้นเลือดแตก จะทำให้มีเลือดบางส่วนนั้นออกจากเส้นเลือดและเข้าไปในร่างกายได้ เลือดเหล่านี้อาจจะมองเห็นได้ใต้ผิวหนัง เส้นเลือดนั้นสามารถแตกได้จากหลายสาเหตุแต่ก็มักจะเกิดจากการได้รับบาดเจ็บ
การที่เลือดออกในผิวหนังนั้นอาจจะมีลักษณะเป็นจุดเล็กๆ หรือปื้นใหญ่ๆ ก็ได้ ปานบางอย่างอาจถูกเข้าใจผิดว่าเป็นเลือดออกที่ผิวหนังก็ได้ โดยทั่วไปแล้วหากคุณกดผิวหนังจนกลายเป็นสีขาวแล้วปล่อย จุดแดงนั้นก็มักจะหายไปก่อนกลับมา ในขณะที่หากเป็นเลือดออกนั้น เวลากดจะไม่จางไป
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
เลือดออกใต้ผิวหนังมักทำให้เกิดรอยช้ำได้ และมีได้หลายขนาดตั้งแต่จุดเล็กๆ ไปจนถึงปื้นใหญ่เท่ามือ การที่เลือดออกที่ผิวหนังนั้นยังอาจเป็นสัญญาณของโรคอื่นๆ ที่รุนแรงได้ ดังนั้นหากคุณมีอาการดังกล่าวโดยที่ไม่ได้เกิดจากการได้รับบาดเจ็บควรไปพบแพทย์
สาเหตุที่ทำให้เลือดออกในผิวหนัง
สาเหตุที่มักพบว่าทำให้เลือดออกในผิวหนังประกอบด้วย
- การได้รับบาดเจ็บ
- ปฏิกิริยาการแพ้
- การติดเชื้อในเลือด
- ความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกัน
- การคลอดลูก
- รอยฟกช้ำ
- ผลข้างเคียงจากการใช้ยา
- ผลข้างเคียงจากการได้รับยาเคมีบำบัด
- ผลข้างเคียงจากการฉายรังสี
- ภาวะปกติของการมีอายุมากขึ้น
การติดเชื้อและโรคบางโรคอาจทำให้เกิดเลือดออกใต้ผิวหนังได้ เช่น
- โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ
- มะเร็งเม็ดเลือดขาว
- โรคคออักเสบจากการติดเชื้อ
- ภาวะการอักเสบทั่วร่างกายจากการติดเชื้อ
หากคุณมีอาการต่อไปนี้ควรไปพบแพทย์ทันที
- ปวดบริเวณที่เลือดออก
- มีเลือดออกมากในบริเวณที่เป็นแผลเปิด
- มีตุ่มนูนเหนือบริเวณที่เลือดออกในผิวหนัง
- ผิวหนังบริเวณนั้นมีตุ่มนูน
- เลือดออกที่เหงือก จมูก ในปัสสาวะหรืออุจจาระ
การวินิจฉัย
แพทย์จะบอกสาเหตุของเลือดที่ออกในผิวหนังได้อย่างไร หากคุณมีเลือดออกที่ผิวหนังโดยที่ไม่รู้สาเหตุหรือเป็นเรื้อรัง ควรไปพบแพทย์ทันทีแม้ว่าอาจจะไม่มีการเจ็บที่ตำแหน่งดังกล่าวก็ตาม เลือดออกที่ผิวหนังนั้นสามารถตรวจได้ง่ายๆ ผ่านการมอง แต่ในการหาสาเหตุนั้น
แพทย์จะต้องการข้อมูลเกี่ยวกับเลือดที่ออกเพิ่มขึ้น โดยอาจจะถามคำถามต่อไปนี้
- คุณเริ่มสังเกตเห็นเลือดออกตั้งแต่เมื่อไหร่
- คุณมีอาการอื่นหรือไม่
- อาการเหล่านี้เกิดขึ้นตั้งแต่เมื่อไหร่
- คุณเล่นกีฬาหรือใช้งานเครื่องจักรหนักๆ หรือไม่
- คุณได้รับบาดเจ็บบริเวณดังกล่าวเมื่อเร็วๆ นี้หรือไม่
- คุณมีอาการเจ็บบริเวณที่เลือดออกหรือไม่
- คุณคันที่บริเวณดังกล่าวหรือไม่
- คุณมีประวัติครอบครัวที่มีความผิดปกติทางการแข็งตัวของเลือดหรือไม่
แพทย์ยังอาจจะถามประวัติโรคประจำตัวอื่นๆ หรือโรคที่คุณกำลังรักษาอยู่ อย่าลืมแจ้งยาที่ใช้รวมถึงสมุนไพรที่กำลังรับประทาน เพราะยาบางชนิดเช่นแอสไพริน ยาในกลุ่มสเตียรอยด์หรือยาละลายลิ่มเลือดนั้นสามารถทำให้เลือดออกในผิวหนังได้ การตอบคำถามเหล่านี้ให้ละเอียดและแม่นยำมากที่สุดจะช่วยให้แพทย์ได้ข้อมูลว่าเลือดที่ออกนั้นเป็นผลข้างเคียงจากยาที่คุณรับประทานหรือเกิดจากโรคอื่นๆ
แพทย์อาจจะสั่งตรวจเลือดหรือปัสสาวะเพื่อดูว่ามีการติดเชื้อหรือโรคประจำตัวใดๆ หรือไม่ หากจำเป็น อาจจะต้องมีการตรวจทางรังสีวินิจฉัยหรือการตรวจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูงที่บริเวณดังกล่าวเพื่อดูว่ามีการบาดเจ็บของเนื้อเยื่อหรือกระดูกหักหรือไม่
การรักษา
การรักษานั้นจะขึ้นกับสาเหตุและมีหลายวิธี แพทย์จะเป็นผู้เลือกการวินิจฉัยที่เหมาะกับคุณ
หากคุณมีการติดเชื้อหรือเป็นโรคอื่นๆ อาจจะต้องมีการใช้ยาที่เหมาะสม แต่ถ้าหากเลือดที่ออกนั้นเกิดจากการใช้ยา แพทย์อาจจะแนะนำให้เปลี่ยนยาหรือหยุดยาที่กำลังใช้อยู่ ควรไปพบแพทย์ทันทีหากคุณมีเลือดออกอีกครั้งหลังการรักษา
การรักษาที่บ้าน
หากเลือดที่ออกนั้นเกิดจากการได้รับบาดเจ็บ คุณสามารถใช้วิธีการรักษาที่บ้านได้
- ยกแขน/ขาข้างที่มีอาการให้สูงถ้าเป็นไปได้
- ประคบเย็นที่บริเวณดังกล่าวครั้งละ 10 นาที
- ใช้ยาพาราเซตามอลหรือ ibuprofen เพื่อลดอาการปวด
- หากยังไม่ดีขึ้นควรไปพบแพทย์
ผลลัพธ์ของการรักษา
เลือดที่ออกจากการได้รับบาดเจ็บมักจะสามารถหายได้เองโดยไม่ต้องรักษา ควรให้แพทย์ประเมินภาวะเลือดออกที่ไม่ได้เกิดจากการได้รับบาดเจ็บ เพราะอาจจะเป็นอาการของโรคที่ร้ายแรงได้