กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

ก้อนที่รักแร้คืออะไร

สาเหตุของการเกิดก้อนที่รักแร้ รักษาได้หรือไม่
เผยแพร่ครั้งแรก 7 ต.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 29 มี.ค. 2021 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
ก้อนที่รักแร้คืออะไร

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • ก้อนที่รักแร้ส่วนมากไม่ใช่ก้อนเนื้อร้อยอันตราย โดยอาจเกิดจากความระคายเคืองจากการโกนขน การใช้โรลออนดับกลิ่น
  • อย่างไรก็ตาม ก้อนที่รักแร้ก็มีสาเหตุมาจากโรคร้ายได้ แต่พบได้ไม่บ่อยนัก เช่น โรคมะเร็งเต้านม โรคแพ้ภูมิตนเอง โรคภูมิแพ้
  • ก้อนโรคร้ายอาจต้องเฝ้าระวังเป็นพิเศษในผู้หญิง เพราะอาจเป็นอาการของโรคมะเร็งเต้านมซึ่งเป็นโรคร้ายที่เป็นอันตราย และยังเป็นอาการระหว่างมีประจำเดือนที่เต้านมจะคัด หรือเป็นก้อนมากกว่าปกติ จนทำให้สับสนว่า ตนเองป่วยเป็นโรคร้ายหรือไม่
  • การรักษาก้อนที่รักแร้สามารถรักษาได้ผ่านการใช้ยาปฏิชีวนะ การใช้ยาเคมีบำบัดกรณีเป็นโรคมะเร็ง แต่หากก้อนดังกล่าวไม่ได้เป็นอันตราย ก็อาจรักษาโดยการประคบร้อนได้
  • เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจสุขภาพทั่วไป

เมื่อพูดถึงก้อนที่รักแร้ หลายคนคงนึกภาพว่า เป็นก้อนเนื้อร้าย หรือต่อมน้ำเกลืองบริเวณใต้รักแร้ที่โต้ขึ้น ซึ่งความจริงก้อนที่รักแร้อาจจะเกิดจากถุงน้ำ การติดเชื้อหรือการระคายเคืองจากการโกนหรือใช้โรลออนดับกลิ่น นอกจากนั้นยังอาจจะแสดงถึงโรคที่รุนแรงได้

หากคุณมีก้อนที่รักแร้ที่โตขึ้นเรื่อยๆ ถึงแม้ก้อนดังกล่าวจะไม่ได้ทำให้รู้สึกเจ็บ แต่ก็ควรไปพบแพทย์โดยทันที

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ผ่าตัดเกี่ยวกับเต้านม วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 18,525 บาท ลดสูงสุด 5,600 บาท

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

สาเหตุของการเกิดก้อนที่รักแร้

ก้อนที่รักแร้ส่วนมากมักจะไม่เป็นอันตราย และมักเกิดการจากเจริญของเซลล์ที่ผิดปกติ แต่ก็อาจจะเกิดจากโรคที่ร้ายแรงได้เช่นกัน ดังนั้นควรให้แพทย์เป็นผู้ตรวจ

สาเหตุที่พบบ่อยของการเจอก้อนที่รักแร้คือ

ก้อนที่รักแร้ในผู้หญิง

ก้อนที่รักแร้นั้นสามารถเกิดได้ทั้งในผู้ชาย และผู้หญิงทุกช่วงอายุ แต่ก้อนนี้อาจจะเป็นอาการที่แสดงว่า เป็นโรคมะเร็งเต้านมได้ ผู้หญิงควรทำการตรวจเต้านมด้วยตัวเองเป็นประจำทุกเดือน และไปพบแพทย์ทันทีหากตรวจพบก้อนผิดปกติ

อย่าลืมว่า เต้านมนั้นจะมีความเปลี่ยนแปลงเมื่อฮอร์โมนเปลี่ยนแปลงในช่วงที่มีประจำเดือน และอาจจะทำให้รู้สึกเจ็บ หรือเป็นก้อนมากกว่าปกติได้ นี่เป็นเรื่องที่ปกติ ดังนั้นเพื่อให้ได้ผลที่แม่นยำ ควรตรวจเต้านมด้วยตัวเองหลังจากประจำเดือนหยุดไปแล้ว 1-3 วัน

การวินิจฉัยโรค

แพทย์จะทำการตรวจร่างกายอย่างละเอียด และซักประวัติเกี่ยวกับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นและอาการปวดที่มี อาจจะมีการคลำหรือนวดเพื่อดูลักษณะของก้อน

ในบางกรณีการตรวจร่างกายนั้นอาจจะบอกได้ว่า ก้อนนั้นไม่เป็นอันตราย ตัวอย่างเช่น เนื้องอกไขมัน ไม่จำเป็นต้องได้รับการรักษาเพิ่มเติม แต่ถ้าหากก้อนนั้นทำให้รำคาญ แพทย์อาจจะแนะนำให้ผ่าตัดออกได้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ผ่าตัดเกี่ยวกับเต้านม วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 18,525 บาท ลดสูงสุด 5,600 บาท

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

หลังจากการตรวจร่างกาย แพทย์อาจจะมีการส่งตรวจเพิ่มเติมเพื่อดูว่าเกิดจากการติดเชื้อ ปฏิกิริยาภูมิแพ้หรือมาจากโรคมะเร็ง โดยอาจจะส่งตรวจดังต่อไปนี้

  • ตรวจเลือดเพื่อดูปริมาณเม็ดเลือดแดงและขาว
  • เอกซเรย์ช่องอกหรือการทำแมมโมแกรม (mammogram) เพื่อดูเต้านม เพื่อให้แพทย์สามารถมองเห็นก้อนได้ชัดขึ้น
  • ตัดชิ้นเนื้อไปตรวจ
  • ตรวจโรคภูมิแพ้

การรักษา

การรักษานั้นจะขึ้นกับสาเหตุที่ทำให้เกิดก้อน ก้อนที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียนั้นสามารถรักษาได้ด้วยการใช้ยาปฏิชีวนะ หลังจากนั้นก้อนควรจะเริ่มหายเมื่อร่างกายสามารถต่อสู้กับเชื้อได้ แต่ถ้าหากใช้ยาปฏิชีวนะแบบกินแล้วยังไม่ได้ผล อาจจะต้องใช้ยาปฏิชีวนะแบบฉีดเข้าเส้นเลือด

หากก้อนนั้นเกี่ยวข้องกับโรคภูมิแพ้ ก้อนนั้นควรยุบลงเมื่อคุณเริ่มยาและหลีกเลี่ยงสารที่กระตุ้นให้เกิดอาการ

ในผู้ป่วยส่วนมาก มักจะไม่จำเป็นต้องรักษา เพียงแค่สังเกตอาการ ซึ่งหากคุณเป็นผู้ป่วยกลุ่มนี้ คุณอาจจะใช้การประคบร้อน หรือยาแก้ปวดเพื่อบรรเทาอาการไม่สบายตัว ก้อนที่มักจะไม่ต้องการรักษามักจะเป็นก้อนที่เกี่ยวกับ

  • เนื้องอกไขมัน
  • การติดเชื้อไวรัส
  • Fibroadenoma

หากก้อนนั้นเป็นมะเร็ง แพทย์จะส่งตัวไปพบกับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งการรักษานั้นจะขึ้นกับชนิดของโรคมะเร็งและระยะของโรค ซึ่งอาจจะประกอบด้วย

  • การให้ยาเคมีบำบัด
  • การฉายแสง
  • การผ่าตัด

ผลลัพธ์การรักษา

ผลลัพธ์ของการรักษานั้นจะขึ้นกับสาเหตุ ตัวอย่างเช่น ก้อนที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสนั้นมักจะหายไปได้เอง ในขณะที่เนื้องอกจากไขมันนั้นถึงแม้ว่าจะไม่เป็นอันตรายแต่ก็ไม่หายเอง และต้องใช้การผ่าตัดเพื่อตัดออก

ผลลัพธ์ของก้อนที่เกิดจากโรคมะเร็งนั้นขึ้นกับหลายปัจจัยเช่นระยะของโรค และการแพร่กระจายของโรคไปยังส่วนอื่นๆ ของร่างกาย ดังนั้นการไปพบแพทย์เพื่อวินิจฉัย และรักษาตั้งแต่ระยะแรกนั้นจะทำให้มีโอกาสในการฟื้นตัวได้มากที่สุด

เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจสุขภาพทั่วไป จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชั่นเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


2 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
อ.พญ.กีรติกานต์ บุญญาวรรณดี, มะเร็งต่อมน้ำเหลือง โรคร้ายใกล้ตัวที่ไม่อาจมองข้าม (https://med.mahidol.ac.th/ramachannel/home/article/lymphoma_cancer/)
รศ.นพ.อดุลย์ รัตนวิจิตราศิลป์, การตัดต่อมน้ำเหลืองที่รักแร้ ในการผ่าตัดมะเร็งเต้านมวิธี เซนติเนล หรือ เลาะต่อมน้ำเหลืองทั้งหมด (https://www.si.mahidol.ac.th/sidoctor/e-pl/articledetail.asp?id=451), 13/10/2553

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
อาหารและเมนูสำหรับกรดไหลย้อน (Heartburn)
อาหารและเมนูสำหรับกรดไหลย้อน (Heartburn)

แค่ปรับอาหารและพฤติกรรมการรับประทานให้เหมาัะสม ก็สามารถรักษาอาการกรดไหลย้อนได้

อ่านเพิ่ม
การรักษาการฉีกขาดของผิวหนัง
การรักษาการฉีกขาดของผิวหนัง

ผิวหนังที่บางนั้นอาจเกิดการฉีกขาดได้ง่ายแม้แต่เวลาที่คุณพยายามจะรักษามัน

อ่านเพิ่ม
ก้อนที่เต้านม (Breast Lump)
ก้อนที่เต้านม (Breast Lump)

การพบก้อนที่เต้านม แม้ส่วนใหญ่จะไม่ใช่เนื้อร้ายที่พัฒนาไปเป็นมะเร็ง แต่เพื่อความแน่ใจก็ควรไปพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยและหาแนวทางรักษาที่ถูกต้องต่อไป

อ่านเพิ่ม