กองบรรณาธิการ HonestDocs
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HonestDocs
ทีมแพทย์ HD
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
ทีมแพทย์ HD

การฝากครรภ์

การฝากครรภ์แม้ไม่ได้ดอกเบี้ย แต่ได้ความปลอดภัยของแม่และลูก เรื่องสำคัญที่คุณแม่มือใหม่ต้องอ่าน!
เผยแพร่ครั้งแรก 28 มี.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 23 ก.พ. 2021 ตรวจสอบความถูกต้อง 29 มี.ค. 2019 เวลาอ่านประมาณ 5 นาที
การฝากครรภ์

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • การฝากครรภ์ คือ การไปตรวจสุขภาพครรภ์กับแพทย์ หรือสูติรีแพทย์เพื่อดูแลสุขภาพของแม่ และทารกในครรภ์ให้แข็งแรงจนกระทั่งถึงเวลาคลอด
  • การฝากครรภ์จะช่วยให้แพทย์เห็นความผิดปกติในระหว่างตั้งครรภ์ และสามารถรักษาได้ทันเวลา เช่น โรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ โรคลมชัก ครรภ์เป็นพิษ
  • ระยะเวลาที่คุณควรไปฝากครรภ์ควรก่อนที่อายุครรภ์จะครบ 12 สัปดาห์ เพื่อที่แพทย์จะได้ตรวจหาความผิดปกติ ความเสี่ยงในการตั้งครรภ์ รวมถึงช่วยดูแลโภชนาการ การรับวิตามินเพิ่มเติมเพื่อบำรุงครรภ์ให้อย่างเหมาะสม
  • คุณควรไปตรวจครรภ์ทั้งหมด 5 ครั้งเป็นอย่างน้อย ครั้งที่ 1 คือก่อนอายุครรภ์ 12 สัปดาห์ ครั้งที่ 2 คือ เมื่ออายุครรภ์ 18 สัปดาห์ ครั้งที่ 3 เมื่ออายุครรภ์ 26 สัปดาห์ ครั้งที่ 4 เมื่ออายุครรภ์ 32 สัปดาห์ และครั้งที่ 5 เมื่ออายุครรภ์ได้ 38 สัปดาห์
  • คุณต้องเตรียมประวัติสุขภาพ ประวัติการแพ้ยา โรคประจำตัว โรคทางพันธุกรรม ยาที่รับประทานอยู่ในขณะนั้น รวมถึงข้อมูลการมีประจำเดือนครั้งสุดท้ายเมื่อไปฝากครรภ์กับแพทย์ด้วย
  • เปรียบเทียบราคา แพ็กเกจการฝากครรภ์ คลอดบุตร

"การฝากครรภ์" เป็นเรื่องสำคัญสำหรับคุณแม่ที่ไม่ควรมองข้ามอย่างเด็ดขาด ไม่จำกัดแค่ว่าท้องแรก แต่ไม่ว่าจะเป็นท้องที่ 2- 3- 4 -5 ก็ควรต้องฝากครรภ์ทั้งสิ้น และควรทำทันทีหลังจากรู้ว่า ตั้งครรภ์ 

คุณแม่มือใหม่หลายคนอาจสงสงสัยว่า ไม่ไปฝากครรภ์ได้ไหม ดูแลตัวเองดีๆ ก็น่าจะเพียงพอแล้ว และการฝากครรภ์จำเป็นหรือไม่ ถ้าจะไปฝาครรภ์ต้องเตรียมตัวอย่างไรบ้าง เรามาอ่านข้อมูลดูพร้อมๆ กัน

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ความหมายของการฝากครรภ์

การฝากครรภ์ (Antenatal care: ANC) คือ การไปพบแพทย์ สูตินรีแพทย์ หรือบุคคลากรทางสาธารณสุขอย่างสม่ำเสมอตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์ เพื่อรับคำแนะนำเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพ ตอบข้อสงสัย ตรวจสุขภาพครรภ์ รวมถึงการจ่ายยา วิตามิน หรือสารอาหารบำรุงครรภ์อย่างปลอดภัย 

จุดมุ่งหมายของการฝากครรภ์ คือ การดูแลสุขภาพของมารดา และทารกในครรภ์ให้มีพัฒนาการที่ดี สุขภาพแข็งแรงจนกระทั่งครบกำหนดคลอด และมารดาสามารถคลอดได้อย่างปลอดภัย 

นอกจากนี้ หากตรวจพบความผิดปกติระหว่างฝากครรภ์ แพทย์ หรือบุคคลากรทางสาธารณสุขจะสามารถรักษา หรือให้คำแนะนำที่เหมาะสมได้

ความสำคัญของการฝากครรภ์

คุณแม่หลายคนคงจะสงสัยว่า ทำไมต้องฝากครรภ์ให้ยุ่งยาก และเสียเวลา แต่รู้ไหมว่า การฝากครรภ์นั้นจำเป็น และสำคัญอย่างยิ่งเพราะการฝากครรภ์จะช่วยสร้างความมั่นใจได้ว่า ทั้งตัวคุณแม่ และลูกน้อยจะมีสุขภาพแข็งแรงสมบูรณ์ตลอดการตั้งครรภ์ 

การฝากครรภ์นอกจะได้การดูแลจากแพทย์อย่างใกล้ชิดแล้ว คุณแม่ยังจะได้คำแนะนำในการปฏิบัติตัวในระหว่างที่กำลังตั้งครรภ์ ทั้งก่อน ภายหลังคลอด และการเลี้ยงดูลูกเมื่อคลอดออกมาแล้ว 

นอกจากนี้ ในระหว่างตั้งครรภ์หากแพทย์ตรวจพบความผิดปกติที่มีผลกระทบต่อลูกในท้อง เช่น โรคเบาหวาน (Diabetes) โรคลมชัก (Epilepsy) ครรภ์เป็นพิษ แพทย์จะได้ให้คำปรึกษาและรักษาได้ทันท่วงที

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ดังนั้นเมื่อรู้ว่าตั้งครรภ์ ควรรีบไปฝากครรภ์ทันทีเพื่อจะได้รู้ถึงสุขภาพของคุณแม่และลูก หากเกิดความผิดปกติจะได้รับการรักษาได้ทัน ทั้งนี้การเข้ารับตรวจสุขภาพครรภ์จะถี่มากขึ้นตามอายุครรภ์ที่มากขึ้นด้วย

ยิ่งหากคุณแม่ตั้งครรภ์ในช่วงอายุ 34 ปีขึ้นไป จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องเข้าฝากครรภ์ เพราะเป็นวัยที่มีความเสี่ยงในการตั้งครรภ์สูง ไม่ว่าจะเป็นภาวะแทรกซ้อน ความผิดปกติของตัวอ่อนแ หรือทารก จำเป็นต้องได้รับการดูแลจากแพทย์อย่างใกล้ชิด 

สาเหตุที่ควรไปฝากครรภ์ก่อนอายุครรภ์ครบ 12 สัปดาห์

การไปฝากครรภ์ก่อนอายุครรภ์ 12 สัปดาห์ จะช่วยลดความเสี่ยงการเกิดภาวะแทรกซ้อนในมารดา และทารก โดยมีรายละเอียดดังนี้

  • สามารถยืนยันอายุครรภ์ที่แน่นอน ช่วยให้แพทย์ติดตามการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ได้อย่างถูกต้อง ทำให้คำนวณกำหนดการคลอดได้ หญิงตั้งครรภ์ที่มีประจำเดือนไม่ปกติ หรือเข้าใจผิดว่า อาการแท้งคุกคามคือ ประจำเดือน จะไม่สามารถคำนวณอายุครรภ์ที่แน่นอนได้
  • แพทย์จะตรวจหาความเสี่ยงในการตั้งครรภ์ เช่น โรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ ธาลัสซีเมีย ภาวะซีด โรคติดเชื้อต่างๆ เช่น HIV โรคไวรัสตับอักเสบบี หรือความเสี่ยงที่ทารกจะมีความผิดปกติ เช่น เป็นโรคดาวน์ซินโดรม 
  • สามารถรักษาความผิดปกติได้เร็ว เช่น ท้องลม ครรภ์ไข่ปลาอุก ท้องนอกมดลูก หรือภาวะแท้งคุกคาม ทำให้ตั้งครรภ์ได้ครบกำหนด และคลอดทารกออกมาอย่างปลอดภัย  
  • แพทย์สามารถควบคุมสารอาหาร และวิตามินที่เหมาะสมกับอายุครรภ์ได้ โดยมักให้เสริมธาตุเหล็ก กรดโฟลิก และไอโอดีน
  • หญิงตั้งครรภ์จะได้รับความรู้ที่ถูกต้อง เกี่ยวกับการปฏิบัติตัวเมื่อเกิดอาการผิดปกติต่างๆ เช่น ภาวะน้ำตาลในเลือดสูง อาหารที่ควรรับประทาน การออกกำลังกายที่เหมาะสมกับบุคคล รวมถึงการเตรียมตัวเลี้ยงทารกอย่างถูกต้อง 

หญิงตั้งครรภ์ที่ไม่ได้ฝากครรภ์มีโอกาสที่ลูกน้อยในครรภ์จะมีน้ำหนักตัวน้อยกว่าแม่ที่ฝากครรภ์ถึง 3 เท่า และหญิงตั้งครรภ์ที่ไม่ได้ฝากครรภ์มีโอกาสที่เมื่อถึงกำหนดคลอด ลูกน้อยมีโอกาสเสียชีวิตมากกว่าแม่ที่ฝากครรภ์ถึง 5 เท่า 

ดังนั้นอย่าหลีกเลี่ยงที่จะฝากครรภ์ และเข้ารับการตรวจครรภ์อย่างสม่ำเสมอ

การฝากครรภ์ต้องทำทั้งหมดกี่ครั้ง

ปกติแล้ว หญิงตั้งครรภ์ควรไปตรวจครรภ์อย่างน้อย 5 ครั้ง ตลอดระยะเวลาที่ตั้งครรภ์ ดั้งนี้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

  • ครั้งที่ 1 ก่อนอายุครรภ์ 12 สัปดาห์: เป็นระยะที่สำคัญมาก อันดับแรกควรได้รับการตรวจว่า การตั้งครรภ์ปกติหรือไม่  มีตัวอ่อนหรือไม่ อญุ่ในตำแหน่งใด แม่มีการใช้ยาอะไรอยู่ก่อนหรือไม่ มีภาวะ หรือโรคประจำตัวใดที่ต้องเฝ้าระวัง
    นอกจากนี้ ในระหว่างที่คุณมีอายุครรภ์ยังไม่ถึง 12 สัปดาห์ ตัวอ่อนจะเริ่มสร้างตัว และเริ่มสร้างอวัยวะสำคัญๆ จึงควรได้รับการจ่ายวิตามิน หรือกรดโฟลิกเพิ่มเติม เพื่อเสริมสร้างพัฒนาการในปริมาณที่เหมาะสม  
  • ครั้งที่ 2 เมื่ออายุครรภ์ 18 สัปดาห์: เป็นระยะที่ตัวอ่อนเริ่มเจริญเติบโตเป็นทารก ต้องตรวจติดตามการสร้างอวัยวะ พัฒนาการ ขนาดและน้ำหนัก 
  • ครั้งที่ 3 เมื่ออายุครรภ์ 26 สัปดาห์: เป็นระยะเฝ้าดูการเจริญเติบโตของทารก ต้องตรวจติดตามการสร้างอวัยวะ พัฒนาการ ขนาดและน้ำหนัก 
  • ครั้งที่ 4 เมื่ออายุครรภ์ 32 สัปดาห์: เป็นระยะเฝ้าดูการเจริญเติบโตของทารกว่าเป็นไปตามเกณฑ์ หรือไม่ หลังอายุครรภ์ 36 จะเริ่มนัดถี่มากขึ้น สัปดาห์ละ 1 ครั้ง
  • ครั้งที่ 5 เมื่ออายุครรภ์ 38 สัปดาห์: เป็นระยะเฝ้าระวังการคลอด ตรวจเช็ครก น้ำคร่ำ การกลับหัวของทารก เพื่อวางแผนการคลอดให้เหมาะสม

ข้อดีของการไปตรวจครรภ์ครบทั้ง 5 ครั้ง จะช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อนระหว่างตั้งครรภ์ทั้งในแม่ และทารกในครรภ์ได้ รวมถึงช่วยให้แพทย์สามารถติดตามพัฒนาการการเจริญเติบโตของทารกและสุขภาพร่างกายของมารดาได้

แต่หากหญิงตั้งครรภ์ไม่ไปฝากครรภ์ตามนัดหมายจะไม่รู้เลยว่า ตนเอง หรือทารกในครรภ์มีอาการผิดปกติหรือเปล่า เมื่อเกิดภาวะแทรกซ้อนรุนแรงอาจรักษาไม่ทันการ เช่น ภาวะครรภ์เป็นพิษจนต้องคลอดก่อนกำหนด 

การเตรียมตัวไปฝากครรภ์

การเลือกสถานที่ฝากครรภ์ควรเลือกใกล้บ้าน ได้แก่ โรงพยาบาล คลินิกสูตินรีแพทย์  ศูนย์แม่และเด็ก ศูนย์บริการทางแพทย์ ศูนย์ส่งเสริมสุขภาพประจำตำบล

สิ่งที่ต้องเตรียมไปฝากครรภ์

  1. บัตรประชาชนของคุณแม่ และคุณพ่อ 
  2. ประวัติการเจ็บป่วย การแพ้ยา แพ้อาหาร การคลอดลูกครั้งก่อน โรคประจำตัว และโรคทางพันธุกรรม
  3. ข้อมูลการมีประจำเดือนครั้งสุดท้าย (นับจากวันแรกของการมีประจำเดือนครั้งสุดท้าย) 

ขั้นตอนของการฝากครรภ์

  1. แพทย์จะซักถามประวัติอย่างละเอียด เกี่ยวกับการตั้งครรภ์ที่เท่าไร ประจำเดือนครั้งสุดท้าย ลักษณะการคลอด (ในกรณีไม่ใช่ท้องแรก)  เคยแท้งหรือไม่ โรคประจำตัว ประวัติการเจ็บป่วย ยาที่กินเป็นประจำ วิธีการคุมกำเนิด ฯลฯ
  2. แพทย์จะตรวจร่างกายอย่างละเอียด วัดความดันโลหิต ดูการบวมตามร่างกาย ตรวจภายใน ตรวจปริมาณน้ำตาล และโปรตีนในปัสสาวะ
  3. ตรวจครรภ์ โดยการคลำความสูงของยอดมดลูกว่าเหมาะสมกับอายุครรภ์หรือไม่ เด็กอยู่ในท่าทางใด หันหน้าไปทางไหน และหาตำแหน่งของศีรษะของทารก
  4. วัดการเจริญเติบโตของทารก 
  5. ฟังการเต้นของหัวใจทารก หรืออาจจะอัลตราซาวด์ (ขึ้นอยู่กับอายุครรภ์ที่เหมาะสม)
  6. ตรวจประเมินการเคลื่อไหวของทารกในครรภ์
  7. แพทย์จะแนะนำการฉีดวัคซีนบาดทะยัก และเจาะเลือดในการฝากครรภ์ครั้งแรก เพื่อประเมินโรคที่อาจมีผลกับการตั้งครรภ์ และประเมินว่าการตั้งครรภ์มีความเสี่ยงหรือไม่
  8. แพทย์ให้ยาบำรุงมารับประทาน และนัดมาตรวจครรภ์ซ้ำตามสมควร
  9. เมื่ออายุครรภ์เพิ่มมากขึ้น ใกล้กำหนดคลอด แพทย์จะตรวจหัวนมว่ามีความยาวเพียงพอที่ทารกจะสามารถงับ ดูด ได้หรือไม่ หรือมีแนวโน้มปัญหาเกี่ยวกับหัวนม หรือไม่
  10. เมื่อใกล้กำหนดคลอด แพทย์จะวัดน้ำหนัก และตรวจท่าของทารกว่า กลับหัวไปทางช่องคลอด หรือไม่อย่างไร 

เพราะการฝากครรภ์สำคัญต่อชีวิตของมารดาและทารกในครรภ์เป็นอย่างมาก สมกับประโยคที่ว่า "ลูกเกิดรอด แม่ปลอดภัย" ดังนั้นเมื่อตั้งครรภ์จึงไม่ควรละเลยการฝากครรภ์ ไม่ว่าด้วยเหตุผลใดๆ ก็ตาม   

ดูแพ็กเกจฝากครรภ์ คลอดบุตร เปรียบเทียบราคา โปรโมชั่นล่าสุดจากโรงพยาบาลและคลินิกชั้นนำได้ที่นี่ หรือไม่พลาดทุกการอัปเดตแพ็กเกจต่างๆ เมื่อกดเป็นเพื่อนทางไลน์ @hdcoth และกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


8 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
ฝากครรภ์ ต้องไปพบแพทย์กี่ครั้ง? แต่ละครั้งทำอะไรบ้าง?, (https://hdmall.co.th/c/how-often-do-you-need-prenatal-visits).
ตรวจการตั้งครรภ์ ได้ตอนไหน ขึ้น 2 ขีดท้องไหม? อ่านสรุปที่นี่ , (https://hdmall.co.th/c/human-chorionic-gonadotropin).
ฝากครรภ์กี่เดือน? ควรฝากตอนไหน?, (https://hdmall.co.th/c/what-you-need-to-know-about-antenatal-care).

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)