บีเอ็มไอ(BMI): ดัชนีมวลกาย (Body Mass Index) บ่งบอกอะไรบ้าง ?

ใช้วิธีคำนวณบีเอ็มไอ (BMI) เพื่อหาดัชนีมวลกาย (Body Mass Index) ของคุณ
เผยแพร่ครั้งแรก 1 ก.ย. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
บีเอ็มไอ(BMI): ดัชนีมวลกาย (Body Mass Index) บ่งบอกอะไรบ้าง ?

บีเอ็มไอ (BMI) หรือดัชนีมวลกาย (Body Mass Index) คือวิธีการประมาณระดับไขมันในร่างกายโดยใช้น้ำหนักและส่วนสูง การคำนวณดัชนีมวลกายไม่ใช่การวัดโดยตรงแต่ก็เป็นตัวชี้วัดไขมันในร่างกายที่ค่อนข้างเชื่อถือได้สำหรับคนส่วนใหญ่ งานวิจัยพบว่าการหาดัชนีมวลกายนี้มีความสัมพันธ์อย่างมากกับวิธีการวัดปริมาณไขมันในร่างกายโดยตรงวิธีอื่นที่ซับซ้อนกว่า เช่น การหาน้ำหนักใต้น้ำ (underwater weighing) เนื่องจากดัชนีมวลกายมีวิธีคำนวณที่ง่าย ทำให้ใคร ๆ ก็สามารถประเมินความเสี่ยงจากการมีปริมาณไขมันในร่างกายเกินได้

วิธีวัดปริมาณไขมันในร่างกายวิธีอื่น

มีหลากหลายวิธีในการประเมินเปอร์เซ็นต์ของไขมันและกล้ามเนื้อในร่างกาย วิธีคำนวณเหล่านี้เป็นการวิเคราะห์องค์ประกอบของร่างกาย (Body Composition Analysis) ซึ่งวิธีที่นิยมใช้กันมาก ได้แก่

  • การวัดความหนาของชั้นผิวหนัง (skinfold thickness)
  • การชั่งน้ำหนักใต้น้ำ (underwater weighing)
  • การวัดองค์ประกอบของร่างกายด้วยกระแสไฟฟ้า (bioelectrical impedance)

การชั่งน้ำหนักใต้น้ำ (Underwater weighing) หรือไฮโดรเดนซิโตเมตทรี (hydrodensitometry)นั้นยุ่งยากและซับซ้อน ผู้เชี่ยวชาญส่วนใหญ่จึงใช้การวัดความหนาของชั้นผิวหนัง (skinfold thickness) เพื่อหาปริมาณไขมันในร่างกาย

การวัดองค์ประกอบของร่างกายด้วยกระแสไฟฟ้า (bioelectrical impedance) เป็นอีกวิธีหนึ่งที่ใช้บ่อยเพื่อประเมินปริมาณไขมันในร่างกาย วิธีนี้จะบอกน้ำหนักทั้งหมด สัดส่วนและปริมาณไขมัน มวลกล้ามเนื้อ ปริมาณน้ำ และมวลกระดูก โดยการประมวลผลอาจคลาดเคลื่อนได้จากปริมาณน้ำในร่างกายและปัจจัยอื่น ๆ แต่จะแม่นยำมากขึ้นเมื่อวัดซ้ำหลาย ๆ ครั้ง และเครื่องวัดไขมันในร่างกายที่ใช้กันตามบ้านก็ใช้วิธีนี้ในการวัด

วิธีและสูตรคำนวณดัชนีมวลกาย

สูตรคำนวณดัชนีมวลกายแบบเมตริกซ์ (Metric BMI Formula) = น้ำหนัก (กิโลกรัม) / [ส่วนสูง (เมตร)]2

ตัวอย่าง: น้ำหนัก = 68 กิโลกรัม, ส่วนสูง = 165 เซนติเมตร (เท่ากับ 1.65 เมตร)
วิธีคิด: 68 / (1.65)2 = 24.98

สูตรคำนวณดัชนีมวลกายแบบอังกฤษ (English BMI Formula) = น้ำหนัก (ปอนด์) / [ส่วนสูง (นิ้ว)]2 x 703

ตัวอย่าง: ถ้าคุณมีน้ำหนัก 150 ปอนด์ และสูง 5 ฟุต 5 นิ้ว(เท่ากับ 65 นิ้ว)
วิธีคิด: [150 / (65)2] x 703 = 24.96

ผลดัชนีมวลกายบอกอะไรบ้าง?

คุณสามารถแปลผลค่าดัชนีมวลกายด้วยตารางง่าย ๆ นี้ โดยค่าดัชนีมวลกายสำหรับผู้ใหญ่แปลผลได้ดังนี้

- ดัชนีมวลกายต่ำกว่า 18.5 = น้ำหนักน้อย

- ดัชนีมวลกาย 18.5 – 24.9 = น้ำหนักปกติ

- ดัชนีมวลกาย 25.0 – 29.9 = น้ำหนักเกิน

- ดัชนีมวลกายมากกว่าหรือเท่ากับ 30.0 = อ้วน

ควรทราบว่าการแปลผลดัชนีมวลกายในเด็กนั้นแตกต่างออกไปเพราะจะต้องใช้ตารางการเจริญเติบโต (Growth chart) และเปอร์เซนไทล์ (percentile) ด้วย ถ้าเปิดตารางการเจริญเติบโตแล้วน้ำหนักอยู่ในเปอร์เซนไทล์ที่ 95 หรือมากกว่าแปลว่าอ้วน

ข้อจำกัดของการใช้ดัชนีมวลกายในการวัดปริมาณไขมันในร่างกาย

แม้ว่าดัชนีมวลกายจะสัมพันธ์กับการวัดไขมันในร่างกายค่อนข้างมาก แต่ก็มีข้อจำกัดอยู่บ้างโดยขึ้นอยู่กับเพศ อายุ และความสามารถทางกีฬา ข้อจำกัดเหล่านี้ได้แก่

- ผู้หญิงมีแนวโน้มที่จะมีปริมาณไขมันในร่างกายมากกว่าผู้ชาย

- คนที่อายุมากกว่ามีแนวโน้มที่จะมีปริมาณไขมันในร่างกายมากกว่าคนที่อายุน้อยกว่า

- นักกีฬาที่ฝึกฝนมาอย่างดีจะมีดัชนีมวลกายสูงเนื่องจากมีมวลกล้ามเนื้อมากกว่า ทำให้น้ำหนักตัวที่มากนั้นมาจากมวลกล้ามเนื้อ ไม่ใช่ไขมัน องค์ประกอบของร่างกาย, ไขมันในร่างกาย และดัชนีมวลกาย

นักกีฬาซึ่งมีมวลกล้ามเนื้อมากจำเป็นจะต้องปรับวิธีการคำนวณดัชนีมวลกายเพราะว่าค่าดัชนีมวลกายไม่สามารถแยกแยะสัดส่วนองค์ประกอบต่าง ๆ ของร่างกายที่รวมกันเป็นน้ำหนักตัวทั้งหมดได้ ดังนั้นนักกีฬาจึงใช้วิธีการวัดองค์ประกอบของร่างกายและปริมาณไขมันในร่างกายโดยตรงจะดีกว่าการคำนวณดัชนีมวลกาย และควรทราบว่าการคำนวณดัชนีมวลกายใช้เพื่อคัดกรองความเสี่ยงที่เกิดจากไขมันในร่างกายสูงเกินกลุ่มประชากรทั่วไป ซึ่งไม่ใช่เครื่องมือที่ดีในการวัดผลกับนักกีฬาที่ฝึกฝนหนักเพราะร่างกายมีทั้งมวลกล้ามเนื้อและไขมัน

ความเสี่ยงของสุขภาพจากการมีดัชนีมวลกายสูง

เหตุผลที่ใช้ดัชนีมวลกายในการคัดกรองสุขภาพของประชากรทั่วไปเนื่องจากการมีน้ำหนักเกินหรืออ้วนนั้นมีความสัมพันธ์กันอย่างมากกับการมีปัญหาสุขภาพ การเกิดโรคเรื้อรัง และการเสียชีวิตก่อนวัยอันควร ผู้ที่มีน้ำหนักเกินหรืออ้วนจะเสี่ยงที่จะเกิดปัญหาสุขภาพต่อไปนี้เพิ่มขึ้น

คำณวนค่าดัชมวลกายของคุณได้ ที่นี่



5 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Erica Cirino, Body Mass Index (https://www.healthline.com/health/body-mass-index#1) 21 March 2016
Kathleen M. Zelman, How Accurate Is Body Mass Index, or BMI? (https://www.webmd.com/diet/features/how-accurate-body-mass-index-bmi)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
คำนวณค่า BMI ดัชนีมวลกาย
คำนวณค่า BMI ดัชนีมวลกาย

โปรแกรมคำนวณค่า BMI พร้อมประเมินความอ้วน-ผอมเบื้องต้น สำหรับชาวเอเชียโดยเฉพาะ

อ่านเพิ่ม
ดัชนีมวลกาย (BMI) บอกอะไรได้บ้าง?
ดัชนีมวลกาย (BMI) บอกอะไรได้บ้าง?

ใช้วิธีคำนวณบีเอ็มไอ (BMI) เพื่อหาค่าดัชนีมวลกายของคุณ

อ่านเพิ่ม