คุณอาจจะรู้ว่าค่าดัชนีมวลกาย (Body mass index หรือ BMI) สามารถแสดงว่าคุณกำลังมีน้ำหนักที่อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสมได้แม่นยำกว่าค่าตัวเลขที่ได้จากการชั่งน้ำหนักและคุณอาจสงสัยว่าค่านี้สามารถใช้ในเด็กได้หรือไม่ หรือหมายความว่าค่าดัชนีมวลกายนี้สามารถแสดงถึงสถานะของน้ำหนักของเด็กได้ยังแม่นยำหรือไม่ คำตอบก็คือ ใช่ แต่ก็มีข้อจำกัด
ข้อจำกัดของการใช้ดัชนีมวลกายในเด็ก
ข้อแรก คือ ค่าดัชนีมวลกายนี้ไม่ใช่ค่าที่แสดงว่ามีสุขภาพทีให้เด็กออกกำลังกายมาก (หรือมีกล้ามเนื้อมาก) เนื่องจากกล้ามเนื้อจะหนักกว่าไขมัน
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง
ประการที่สอง คือ ควรเข้าใจว่าค่าดัชนีมวลกายนี้ไม่ได้วัดปริมาณไขมันในร่างกายโดยตรง แต่เป็นการเปรียบเทียบน้ำหนักกับส่วนสูงของเด็กเช่นเดียวกับในผู้ใหญ่ ซึ่งในเด็กพบว่าปัจจัยนี้เป็นปัจจัยที่ค่อนข้างซับซ้อน แทนที่จะวัดจากอัตราส่วนระหว่างน้ำหนักต่อส่วนสูงโดยตรง ค่าดัชนีมวลกายในเด็กกลับขึ้นอยู่กับอายุและเพศอีกด้วย จึงมักเรียกว่า ค่าดัชนีมวลกายต่ออายุ (BMI-for- age)
ตารางค่าดัชนีมวลกายสำหรับเด็กจะแสดงว่าลูกของคุณมีการเจริญเติบโตอย่างไรเมื่อเปรียบเทียบกับเด็กชายหรือเด็กหญิงคนอื่นๆ ที่มีอายุเท่ากัน โดยหลังจากการคิดคำนวนค่าดัชนีมวลกายแล้วนั้น ก็จะนำตัวเลขดังกล่าวมาจุดลงบนกราฟค่าดัชนีมวลกายต่ออายุ (แยกสำหรับผู้หญิงและผู้ชาย) ซึ่งออกแบบโดยศูนย์ป้องกันและควบคุมโรค ตารางการเจริญเติบโตนี้จะแสดงรูปแบบขนาดและการเจริญเติบโตโดยเฉลี่ยของเด็กในประเทศสหรัฐอเมริกาในแต่ละปีตามเพศ ดังนั้นจุดที่ค่าดัชนีมวลกายของลูกคุณจุดอยู่ก็แสดงถึงลำดับที่ของการเจริญเติบโตของพวกเขาเมื่อเปรียบเทียบกับเด็กที่มีอายุและเพศเดียวกัน
ตารางนี้ยังแสดงถึงบริเวณที่สถานะของน้ำหนักของพวกเขาจะเข้าสู่ระดับต่ำกว่าเกณฑ์ ระดับที่เหมาะสม น้ำหนักมากกว่าเกณฑ์ และภาวะอ้วน การมีน้ำหนักอยู่ในระดับต่ำกว่าเกณฑ์แสดงว่าลูกของคุณมีน้ำหนักอยู่ที่น้อยกว่า Percentile ที่ 5 ของเด็กที่มีอายุและเพศเดียวกัน ระดับน้ำหนักที่เหมาะสมจะอยู่ระหว่าง Percentile ที่ 5 และ 85
น้ำหนักที่มากกว่าเกณฑ์แสดงว่าน้ำหนักของลูกคุณอยู่ระหว่าง Percentile ที่ 85 และ 95 และกลุ่มที่จัดอยู่ในภาวะอ้วนนั้นแสดงว่าอยู่ในช่วง Percentile ที่ 95 หรือมากกว่า แต่ค่า Percentile และประเภทต่างๆ เหล่านี้ก็มีความแตกต่างกันขึ้นกับว่าลูกของคุณเป็นผู้หญิงหรือผู้ชาย
ทำไมเกณฑ์ของน้ำหนักเด็กและผู้ใหญ่จึงแตกต่างกัน?
มีหลายเหตุผลที่ทำให้การมีน้ำหนักที่มากกว่าเกณฑ์ในเด็กนั้นแตกต่างจากในผู้ใหญ่ เหตุผลหนึ่งก็คือเด็กยังอยู่ในช่วงที่มีการเจริญเติบโตและเด็กชายและเด็กหญิงก็มีอัตราการเจริญเติบโตที่แตกต่างกัน นอกจากนั้นในเด็กยังมีการเปลี่ยนแปลงปริมาณของไขมันในร่างกายตามช่วงอายุและก็ยังแตกต่างระหว่างเด็กชายและเด็กหญิงอีกด้วย ดังนั้นช่วงน้ำหนักที่เหมาะสมจึงมีการเปลี่ยนแปลงในแต่ละเดือนสำหรับเด็กทุกช่วงอายุและทั้ง 2 เพศ ซึ่งจะเปลี่ยนแปลงเมื่อมีความสูงเพิ่มขึ้นด้วย หากน้ำหนักของเด็กเข้าข่ายน้ำหนักที่มากกว่าเกินในปีหนึ่ง แต่หากเขาสูงมากขึ้นในช่วงปีต่อไปและมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อย ค่าดัชนีมวลกายของเขาก็อาจอยู่ในเกณฑ์น้ำหนักปกติได้ แต่ในผู้ใหญ่มักจะไม่ได้มีความสูงเพิ่มขึ้น ทำให้การคิดในรูปแบบนี้ใช้ไม่ได้กับผู้ใหญ่
ศูนย์ป้องกันและควบคุมโรคและวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศสหรัฐอเมริกาได้แนะนำให้ใช้ค่าดัชนีมวลการในการคัดกรองภาวะน้ำหนักมากกว่าเกณฑ์และอ้วนในเด็กและวัยรุ่นอายุตั้งแต่ 2-20 ปี ความจริงที่พบก็คือพ่อแม่บางคนอาจไม่ยอมรับว่าลูกของตัวเองกำลังอยู่ในเกณฑ์เสี่ยงที่จะเป็นโรคอ้วน ดังนั้นการวัดค่าดัชนีมวลกายในแต่ละปี จึงทำให้กุมารแพทย์และแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวสามารถติดตามความเปลี่ยนแปลงของน้ำหนักและให้คำแนะนำในเรื่องการรับประทานอาหารและการออกกำลังกายตามต้องการได้และแนะนำพ่อแม่เกี่ยวกับความเสี่ยงทางสุขภาพที่อาจเกิดขึ้นหากเด็กมีน้ำหนักเกินอย่างรุนแรงนี่จึงเป็นตัวอย่างเหตุผลที่ว่าทำไมการคิดค่าดัชนีมวลกายและตารางค่าดัชนีมวลกายตามอายุจึงเป็นเครื่องมือที่มีประโยชน์มากๆ