กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

ยาต้านจุลชีพ

เผยแพร่ครั้งแรก 24 ก.พ. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 1 นาที
ยาต้านจุลชีพ

คำว่า ยาต้านจุลชีพ หมายความถึง ยาที่ใช้ยับยั้งหรือทำลายสิ่งมีชีวิตที่ทำให้เกิดโรคในสิ่งมีชีวิตอื่น ไม่ว่าจะเป็นคนหรือสัตว์ก็ตาม

ยาต้านจุลชีพ

  1. ยาต้านไวรัส

    ไวรัสเป็นสิ่งมีชีวิตที่เล็กมากแม้แต่ดูด้วยกล้องจุลทรรศน์ที่มีกำลังขยายสูงก็ยังไม่สามารถแยกได้ว่าประกอบด้วยอะไรบ้างยาต้านไวรัสจะใช้รักษาโรคที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัส เช่น เริม งูสวัด โรคเอดส์ เป็นต้น ตัวอย่างยา เช่น อะซัยโคลเวียร์

    แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
    หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

    จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

  2. ยาปฏิชีวนะ

    เป็นยาที่ใช้ทำลายแบคทีเรีย ยากลุ่มนี้รู้จักและเรียกทั่วไปว่า “ยาแก้อักเสบ

  3. ยาต้านเชื้อรา

    ยากลุ่มนี้มีฤทธิ์ทำลายเชื้อราที่ทำให้เกิดโรค เช่น โรคผิวหนังจาก เชื้อรา กลาก เกลื้อน แคนดิด้า หรือเชื้อราที่ทำให้เกิดโรคภายในร่างกาย

    ตัวอย่างยากลุ่มนี้ ได้แก่ ยากลุ่มอิมิดาโซล ซึ่งเป็นยาต้านเชื้อรากลุ่มใหญ่ที่ใช้กันแพร่หลาย ประกอบด้วยหลายชนิดในกลุ่ม เช่น คีโตโคนาโซล โครไตรมาโซล และไมโคนาโซล นอกจากนี้ยังมียาต้านเชื้อราอื่นนอกเหนือจากที่กล่าวข้างต้น ก็จัดเป็นยาต้านจุลชีพเช่นกัน

  4. ยาต้านปรสิต

    ปริสิต หมายความถึง สิ่งมีชีวิตที่เมื่ออาศัยอยู่ในสิ่งมีชีวิตอื่นแล้ว เป็นฝ่ายได้ประโยชน์ และทำให้สิ่งมีชีวิตที่มันอาศัยอยู่เป็นฝ่ายเสียประโยชน์ เช่น ดูดเอาอาหารจากสิ่งมีชีวิตที่มันอาศัยอยู่มาเลี้ยงตัวมันเอง นอกจากนั้นยังอาจทำให้สิ่งมีชีวิตที่มันอาศัยอยู่เป็นโรค

    เราเรียกสิ่งมีชีวิตที่มันอาศัยอยู่ว่า โฮสต์

    ปรสิตที่ทำให้คนเกิดโรคมี 2 กลุ่มใหญ่ คือ

    • โปรโตชัว เช่น เชื้อบิดอะมีบา เชื้อพยาธิช่องคลอด ทริโคโมแนส เชื้อมาลาเรีย
    • พยาธิ

    ยาที่ใช้ในการทำลายโปรโตชัวและยาที่ใช้ถ่ายพยาธิ จัดเป็นยาต้ายจุลชีพด้วยเข่นกัน

    สำหรับหนังสือเล่มนี้ จะกล่าวเฉพาะยาต้านจุลชีพ 2 กลุ่ม คือยาปฏิชีวนะหรือยาแก้อักเสบและยาถ่ายพยาธิ


4 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
What is antimicrobial resistance?. World Health Organization (WHO). (https://www.who.int/features/qa/75/en/)
Definition of Antimicrobial. MedicineNet. (https://www.medicinenet.com/script/main/art.asp?articlekey=9621)
General Principles of Antimicrobial Therapy. National Center for Biotechnology Information. (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3031442/)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)