กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

วิตามินสำหรับหญิงตั้งครรภ์

เผยแพร่ครั้งแรก 18 ก.พ. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
วิตามินสำหรับหญิงตั้งครรภ์

วิตามินสำหรับหญิงตั้งครรภ์

หญิงตั้งครรภ์นอกจากจะต้องรับประทานอาหารที่เป็นประโยชน์แล้ว การรับประทานวิตามินสำหรับการตั้งครรภ์ก็ถือเป็นสิ่งจำเป็น เพื่อให้แน่ใจว่ามารดาจะได้รับสารอาหารที่ครบถ้วนเพียงพอสำหรับการตั้งครรภ์ โดยวิตามินและแร่ธาตุที่มีความสำคัญมาก คือ กรดโฟลิก ธาตุเหล็ก ไอโอดีน และแคลเซียม

วิตามินสำหรับหญิงตั้งครรภ์คืออะไร?

การรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพอยู่ตลอดเวลาคือแนวคิดที่ดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงเวลาของการตั้งครรภ์ นอกจากนี้ยังมีวิตามินสำหรับการตั้งครรภ์ ซึ่งเป็นวิตามินที่จำเป็นเพื่อช่วยเสริมสารอาหารให้เพียงพอสำหรับการตั้งครรภ์ด้วย

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ฝากครรภ์ คลอดบุตรวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 79 บาท ลดสูงสุด 65%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

วิตามินสำหรับการตั้งครรภ์ประกอบไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุหลายชนิด โดยกรดโฟลิก, ธาตุเหล็ก, ไอโอดีน และแคลเซียม คือวิตามินและแร่ธาตุที่สำคัญเป็นพิเศษ

กรดโฟลิก, ธาตุเหล็ก และแคลเซียม

กรดโฟลิกจะช่วยป้องกันความผิดปกติคือ ภาวะหลอดประสาทไม่ปิด (neural tube defects) ซึ่งส่งผลต่อสมองและไขสันหลัง

ภาวะหลอดประสาทไม่ปิดจะเกิดขึ้นภายใน 28 วันแรกของการตั้งครรภ์ ซึ่งเป็นช่วงเวลาก่อนที่ผู้หญิงหลายๆ คนจะรู้ตัวเองว่าตั้งครรภ์เสียอีก เพราะว่ามากกว่าครึ่งหนึ่งของการตั้งครรภ์ทั้งหมดเป็นการตั้งครรภ์ที่ไม่ได้วางแผนไว้ล่วงหน้า ดังนั้นจึงแนะนำผู้หญิงทุกคนที่สามารถตั้งครรภ์ได้ต้องรับประทานกรดโฟลิก 400 ไมโครกรัมทุกวัน โดยเริ่มรับประทานตั้งแต่ก่อนตั้งครรภ์อย่างต่อเนื่องไปจนถึง 12 สัปดาห์แรกของการตั้งครรภ์

ผู้หญิงที่เคยมีลูกที่มีความผิดปกติของหลอดประสาทไม่ปิดมาก่อนแล้ว ควรปรึกษาแพทย์ก่อนการตั้งครรภ์ครั้งถัดไปถึงปริมาณกรดโฟลิกที่ควรได้รับเพื่อเตรียมตั้งครรภ์ถัดไป ข้อมูลจากการศึกษาพบว่าการรับประทานกรดโฟลิกขนาดสูง (สูงถึง 4,000 ไมโครกรัม) อย่างน้อย 1 เดือนก่อนการตั้งครรภ์และระหว่างการตั้งครรภ์ไตรมาสแรก (3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์) จะเป็นประโยชน์ในผู้หญิงกลุ่มนี้ แต่ให้ปรึกษากับแพทย์ก่อนเสมอ

อาหารที่ประกอบด้วยกรดโฟลิก ได้แก่ ผักใบเขียว ถั่ว ผลไม้ตระกูลซิตรัส และอาหารอื่นๆ ที่มีการเสริมกรดโฟลิกเข้าไป อย่างไรก็ตามแม้จะได้รับกรดโฟลิกจากอาหารแล้ว แต่ก็ควรรับประทานกรดโฟลิกเสริมในปริมาณที่เหมาะสมเพื่อเตรียมสำหรับการตั้งครรภ์และระหว่างตั้งครรภ์ด้วย

แคลเซียม เป็นสารอาหารที่มีความสำคัญสำหรับหญิงตั้งครรภ์เช่นกัน โดยจะช่วยป้องกันไม่ให้หญิงตั้งครรภ์สูญเสียมวลกระดูก  เนื่องจากทารกในครรภ์จะดึงแคลเซียมจากแม่ไปใช้ในการสร้างกระดูกของทารกด้วย

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ไอโอดีน มีบทบาทสำคัญต่อการทำงานของต่อมไทรอยด์ในหญิงตั้งครรภ์ การขาดไอโอดีนจะทำให้ทารกแคระแกรน เกิดความผิดปกติทางสมอง และหูหนวก ได้ นอกจากนี้การได้รับไอโอดีนไม่เพียงพอจะทำให้คลอดก่อนกำหนด หรือทำให้ทารกเสียชีวิตได้

ธาตุเหล็ก เป็นองค์ประกอบของเม็ดเลือดแดง ทั้งในมารดาและทารกในครรภ์ เพื่อช่วยขนส่งออกซิเจนในร่างกาย

วิตามินสำหรับหญิงตั้งครรภ์มีอะไรบ้าง

วิตามินสำหรับหญิงตั้งครรภ์ประกอบไปด้วย:

ในบางกรณีแพทย์อาจสั่งวิตามินบางชนิดให้กับคุณ

ถ้าวิตามินสำหรับบำรุงครรภ์นี้ทำให้มีอาการคลื่นไส้อาเจียน

วิตามินสำหรับบำรุงครรภ์บางชนิดทำให้มีอาการคลื่นไส้อาเจียนในหญิงตั้งครรภ์ที่มีอาการคลื่นไส้อาเจียนอยู่แล้ว ถ้าเกิดเหตุการณ์นี้กับคุณ ให้ปรึกษาแพทย์ ซึ่งแพทย์อาจพิจารณาวิตามินชนิดอื่นๆ ให้แทน ตัวอย่างเช่น ผู้หญิงบางรายอาการคลื่นไส้อาเจียนดีขึ้นเมื่อเปลี่ยนจากการกลืนยาทั้งเม็ดมาเป็นวิตามินชนิดเคี้ยวหรือชนิดน้ำ

https://www.webmd.com/baby/guide/prenatal-vitamins#1


4 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Vitamin A supplementation during pregnancy. World Health Organization (WHO). (https://www.who.int/elena/titles/vitamina_pregnancy/en/)
Vitamins, minerals and supplements in pregnancy. NHS (National Health Service). (https://www.nhs.uk/conditions/pregnancy-and-baby/vitamins-minerals-supplements-pregnant/)
Pregnancy and prenatal vitamins. WebMD. (https://www.webmd.com/baby/guide/prenatal-vitamins)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)