ภณิตา พงษ์เดช
เขียนโดย
ภณิตา พงษ์เดช
พญ. วรรณวนัช เสถียรธรรมมณี แพทย์ทั่วไป
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
พญ. วรรณวนัช เสถียรธรรมมณี แพทย์ทั่วไป

ป้องกันโรคร้ายที่มียุงลายเป็นพาหะ ด้วยวัคซีนไข้เลือดออก

"ผู้ที่มีอายุอยู่ระหว่าง 9-45 ปี ควรเข้ารับการฉีดวัคซีนไข้เลือดออก เพื่อป้องกันการเป็นไข้เลือดออกจากไวรัสเด็งกีทั้ง 4 สายพันธุ์ หรือช่วยลดความรุนแรงของโรค "
เผยแพร่ครั้งแรก 21 พ.ย. 2019 อัปเดตล่าสุด 22 ธ.ค. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 6 ม.ค. 2020 เวลาอ่านประมาณ 4 นาที
ป้องกันโรคร้ายที่มียุงลายเป็นพาหะ ด้วยวัคซีนไข้เลือดออก

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • พาหะนำโรคไข้เลือดออก คือ ยุงลายที่มีเชื้อไวรัสเดงกี เมื่อกัดแล้วจะถ่ายทอดเชื้อทันที
  • ไข้เลือดออกเป็นโรคที่ยังไม่มียาปฏิชีวนะที่สามารถฆ่าเชื้อได้ แต่สามารถลดอัตราการป่วย ความรุนแรงของโรค ด้วยการฉีดวัคซีน
  • อาการของผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกมีความรุนแรงต่างกัน บางรายมีไข้เล็กน้อย แต่บางรายมีอาการไข้สูง อ่อนเพลีย เกล็ดเลือดต่ำ มีเลือดออก หากมีเลือกออกมากเกินไปจะนำไปสู่ภาวะช็อก และเสียชีวิตได้
  • ผู้ที่มีอายุ 9-45 ปี ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ที่มีการระบาดของโรคไข้เลือดออก และคนที่เป็นไข้เลือดออกจากเชื้อไวรัสเดงกีมาก่อน ควรฉีดวัคซีนไข้เลือดออก
  • ดูแพ็กเกจฉีดวัคซีนไข้เลิอดออกจากโรงพยาบาลชั้นนำได้ที่นี่

ในประเทศไทย พบไข้เลือดออกในคนทุกกลุ่มอายุ โดย 80% ของผู้ติดเชื้อโรคไข้เลือดออกอยู่ในกลุ่มอายุระหว่าง 5-34 ปี เฉลี่ยประมาณ 30,000-50,000 รายต่อปี และการติดเชื้อยังเพิ่มขึ้นทุกปี

แม้โรคไข้เลือดออกเป็นโรคที่ยังไม่มียาปฏิชีวนะที่สามารถฆ่าเชื้อได้ แต่สามารถลดอัตราการป่วย ความรุนแรงของโรค การนอนโรงพยาบาล อัตราการเสียชีวิตด้วยวัคซีนไข้เลือดออกได้ ด้วยการฉีดวัคซีน

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ฉีดวัคซีนไข้เลือดออก วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 3,136 บาท ลดสูงสุด 2,295 บาท

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

ผู้ที่เคยติดเชื้อมาแล้ว เมื่อได้รับวัคซีนไข้เลือดออกจะสามารถป้องกันโรคได้มากถึง 81.9%

ไข้เลือดออกเกิดจากอะไร?

โรคไข้เลือดออก (Dengue Fever) เกิดจากเชื้อไวรัสเดงกี (Dengue) มีทั้งหมด 4 สายพันธุ์ ได้แก่

  1. DENV-1
  2. DENV-2
  3. DENV-3
  4. DENV-4

โรคไข้เลือดออกเป็นโรคที่เป็นแล้วหายเองได้ และยังไม่มียาปฏิชีวนะที่สามารถฆ่าเชื้อไข้เลือดออกได้ พาหะนำโรคคือ ยุงลายที่มีเชื้อไวรัสเดงกี เมื่อกัดแล้วจะถ่ายทอดเชื้อทันที

เมื่อติดเชื้อเดงกีสายพันธุ์ใดแล้ว ร่างกายจะมีภูมิคุ้มกันต่อสายพันธุ์นั้น หากติดเชื้อซ้ำอีก ภูมิคุ้มกันที่เคยสร้างไว้จะเข้าไปต่อสู้กับเชื้อ อย่างไรก็ตาม เนื่องจากเชื้อเด็งกีมีหลายสายพันธุ์และภูมิคุ้มกันทำลายได้เฉพาะสายพันธุ์ที่เคยเป็น การเป็นไข้เลือดออกซ้ำด้วยเชื้อตัวใหม่จะทำให้ภูมิคุ้มกันเกิดความสับสนและทำงานได้ไม่ดีพอ การติดเชื้อครั้งที่สอง (Secondary infection) จึงอาจมีอาการรุนแรงมากขึ้นกว่าเดิม

อาการของโรคไข้เลือดออก

อาการของผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกมีความรุนแรงต่างกัน บางรายมีไข้เล็กน้อย ไม่ต้องพบแพทย์ก็สามารถหายเองได้ แต่บางรายมีอาการไข้สูง อ่อนเพลีย เกล็ดเลือดต่ำ มีเลือดออก หากมีเลือกออกมากเกินไปจะนำไปสู่ภาวะช็อก และเสียชีวิตได้

โรคไข้เลือดออก แบ่งออกเป็น 3 ระยะ ได้แก่

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ฉีดวัคซีนไข้เลือดออก วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 3,136 บาท ลดสูงสุด 2,295 บาท

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

  1. ระยะไข้สูง ประมาณ 2-7 วันหลังจากติดเชื้อ จะมีอาการปวดศีรษะ ไข้ขึ้งสูง 38-40◦C ปวดกล้ามเนื้อ เบื่ออาหาร ตัวแดง มีผื่น หรือมีจุดเลือดออกตามผิวหนัง ตรวจพบตับโต
  2. ระยะวิกฤติ (ระยะช็อกและเลือดออก) ประมาณวันที่ 3-6 ของโรค เป็นระยะรุนแรงที่สุด ไข้จะเริ่มลดลง มือเท้าเย็น หากมีความดันโลหิตต่ำ เกิดภาวะช็อก อาจถึงเสียชีวิตได้ ซึ่งระยะนี้มีระยะเวลาประมาณ 24-48 ชั่วโมง
  3. ระยะฟื้นตัว อาการทั่วไปดีขึ้น ความดันโลหิตและชีพจรกลับเป็นปกติ ตับที่โตจะลดขนาดลงภายใน 1-2 สัปดาห์

วัคซีนไข้เลือดออกคืออะไร?

วัคซีนไข้เลือดออก (Dengue vaccine) คือวัคซีนป้องกันโรคที่ฉีดเข้าไปกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกัน ให้สร้างภูมิต้านทานขึ้น ช่วยป้องกันการติดเชื้อไวรัสเดงกี โดยวัคซีนไข้เลือดออกผลิตจากเชื้อไวรัสที่ยังมีชีวิต แต่ถูกทำให้อ่อนฤทธิ์ลงจนไม่สามารถก่อโรคในคนได้

วัคซีนไข้เลือดออกมีกี่ชนิด?

วัคซีนไข้เลือดออกมีการพัฒนามายาวนานและมีหลากหลายประเภท เพื่อให้ครอบคลุมกับการป้องกันความสูญเสียจากโรคไข้เลือดออกให้ได้มากที่สุด ในปัจจุบัน วัคซีน CYD-TDV (Chimeric Yellow Fever Dengue Tetravalent Dengue Vaccine) หรือ DENGVAXIA เป็นวัคซีนป้องกันไข้เลือดออกชนิดเดียวที่มีประสิทธิภาพสูงและได้รับการรับรองให้ใช้ คิดค้นและพัฒนาโดยประเทศเม็กซิโกในปี ค.ศ. 2015

วัคซีนป้องกันเชื้อไข้เลือดออกได้กี่สายพันธุ์?

วัคซีน CYD-TDV เป็นวัคซีนที่ใช้สำหรับป้องกันโรคไข้เลือดออกที่ครอบคลุมเชื้อไวรัสเดงกีทั้ง 4 สายพันธุ์

วัคซีนป้องกันไข้เลือดออกฉีดอย่างไร และฉีดเมื่อไรบ้าง?

วัคซีน CYD-TDV จะถูกฉีดเข้าชั้นใต้ผิวหนัง โดยต้องฉีดทั้งหมด 3 ครั้ง ห่างกันครั้งละ 6 เดือน ได้แก่

  • เดือนที่ 1 : 1 เข็ม
  • เดือนที่ 6 : 1 เข็ม
  • เดือนที่ 12 : 1 เข็ม

ภูมิคุ้มกันจะเกิดขึ้นเต็มที่เมื่อฉีดวัคซีนครบ 3 เข็ม

ประสิทธิภาพของวัคซีนไข้เลือดออกมากแค่ไหน?

เมื่อฉีดวัคซีนไข้เลือดออกครบทั้ง 3 เข็มตามกำหนด จะลดความเสี่ยงในการเป็นผู้ป่วยไข้เลือดออกในอนาคต และลดความรุนแรงของโรคที่อาจนำไปสู่การเสียชีวิตได้ โดยประสิทธิภาพของวัคซีนในคนที่เคยได้รับเชื้อไข้เลือดออกเดงกีมาก่อนจะสูงกว่า และสามารถช่วยป้องกันเชื้อไวรัสไข้เลือดออกเดงกีสายพันธุ์อื่นๆได้อีกด้วย

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ฉีดวัคซีนไข้เลือดออก วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 3,136 บาท ลดสูงสุด 2,295 บาท

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

โดยงานวิจัยทวีปเอเชียแปซิฟิกและแถบละตินอเมริกาพบว่า วัคซีน CYD-TDV มีประสิทธิภาพสูงในการป้องกันไข้เลือดออกเดงกี ดังนี้

  • สามารถป้องกันโรคไข้เลือดออกเดงกีทุกสายพันธุ์ได้ 65.6%
  • ลดการนอนโรงพยาบาลได้ถึง 80.8%
  • ป้องกันการติดเชื้อไวรัสเดงกีได้ถึง 92.9%

ใครควรฉีดวัคซีนไข้เลือดออกบ้าง?

ทุกคนที่มีอายุตั้งแต่อายุ 9-45 ปี ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ที่มีการระบาดของโรคไข้เลือดออก และคนที่เป็นไข้เลือดออกจากเชื้อไวรัสเดงกีมาก่อน

ก่อนฉีดวัคซีนไข้เลือดออก ควรเตรียมตัวอย่างไร?

ก่อนเข้ารับการฉีดวัคซีนไข้เลือดออก ควรดูแลสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง ไม่ให้เจ็บป่วย มีไข้ หรือหากอยู่ระหว่างการรักษาโรคบางอย่าง ควรเลื่อนการฉีดวัคซีนไข้เลือดออกไปก่อน ถ้ามีการแพ้อาหาร แพ้ยา หรือมีโรคประจำตัวควรแจ้งให้แพทย์ทราบ

หลังฉีดวัคซีน ควรดูแลตัวเองอย่างไร

หลังการฉีดวัคซีนไข้เลือดออกควรนั่งพักอย่างน้อย 30 นาที หลังจากนั้นอาจมีไข้ได้ ควรสังเกตอาการอย่างต่อเนื่อง หากพบอาการผิดปกติต้องรีบแจ้งให้แพทย์ทราบโดยด่วน

ผลข้างเคียงหลักจากฉีดวัคซีนไข้เลือดออก

หลังจากฉีดวัคซีนไข้เลือดออก ผู้รับวัคซีนอาจมีอาการข้างเคียงซึ่งแบ่งตามระดับความรุนแรงได้ดังต่อไปนี้

  1. อาจมีไข้ หรือเจ็บปวดบริเวณที่ฉีด มีอาการปวดบวมแดงบริเวณผิวหนังที่ฉีด อ่อนเพลีย
  2. บางรายอาจมีอาการข้างเคียงที่รุนแรงขึ้น เช่น ปวดศีรษะ คลื่นไส้ เจ็บคอ ต่อมน้ำเหลืองโต น้ำมูกไหล ปวดตามข้อ ซึ่งอาจต้องใช้เวลาพักฟื้นสักระยะหนึ่ง
  3. ผลข้างเคียงที่พบได้น้อยมากคือ การแพ้วัคซีนซึ่งจะมีอาการที่รุนแรง เช่น มีผื่นขึ้น ใบหน้าบวม ความดันต่ำ หายใจลำบาก ฯลฯ หากพบอาการดังกล่าวต้องรีบแจ้งให้แพทย์ทราบโดยด่วน

ข้อควรรู้ก่อนไปฉีดวัคซีนไข้เลือดออก

ก่อนฉีควัคซีนควรปฏิบัติตามคำเตือนอย่างเคร่งครัดเพื่อความปลอดภัยในการฉีดวัคซีนไข้เลือดออก มีรายละเอียดดังนี้

  • คนที่มีปฏิกิริยาแพ้รุนแรงหลังได้รับวัคซีนเข็มแรกหรือมีอาการแพ้ส่วนประกอบใดๆ ของวัคซีน ควรแจ้งให้แพทย์ทราบ เพราะมีโอกาสเสี่ยงในการเกิดอาการรุนแรงตามมา
  • หากมีไข้สูง หรือเป็นโรคไม่ร้ายแรงที่หายได้ภายในระยะสั้น ควรรอให้อาการดีขึ้นหรือหายขาดก่อนฉีดวัคซีนไข้เลือดออก รวมทั้งควรแจ้งแพทย์ให้ทราบถึงประวัติการป่วยของตนเอง
  • คนที่มีระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอจากสาเหตุต่างๆ เช่น ติดเชื้อเอชไอวี เป็นโรคทางพันธุกรรมหรือโรคที่มีผลต่อระบบภูมิคุ้มกัน อยู่ในช่วงรับประทานยาหรือเข้ารับการรักษาที่ส่งผลต่อระบบภูมิคุ้มกัน ฯลฯ ควรแจ้งแพทย์และขอคำปรึกษาเกี่ยวกับการฉีดวัคซีนก่อนทุกครั้ง
  • เด็กอายุต่ำกว่า 9 ปีไม่ควรฉีดวัคซีนไข้เลือดออก เนื่องจากไม่อาจยืนยันถึงผลดีและผลเสียหลังได้รับวัคซีน
  • หญิงตั้งครรภ์ไม่ควรฉีดวัคซีนไข้เลือดออก ควรรอจนกว่าคลอดบุตรเรียบร้อย เพราะยังไม่มีรายงานยืนยันว่าปลอดภัยต่อทารก
  • หญิงที่วางแผนมีบุตรควรทิ้งระยะเวลาในการตั้งครรภ์หลังฉีดวัคซีนอย่างน้อย 1 เดือน

ฉีดวัคซีนไข้เลือดออกได้ที่ไหนบ้าง และราคาเท่าไร?

ปัจจุบันโรงพยาบาลเอกชนหลายแห่ง รวมถึงคลินิก เริ่มมีการนำวัคซีนไข้เลือดออกมาให้บริการแล้ว อัตราค่าบริการแตกต่างกันไป อยู่ที่เข็มละประมาณ 3,000-3,600 บาท

โรคไข้เลือดออกมีความรุนแรงและอันตรายถึงแก่ชีวิต ดังนั้นควรรับมือกับโรคไข้เลือดออกด้วยการป้องกันและรักษาอย่างถูกวิธี รวมถึงการหลีกเลี่ยงไม่ให้ถูกยุงกัด และกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายที่เป็นสาเหตุหลักของการเกิดโรค


6 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Helen Branswell, FDA approves the first vaccine for dengue fever, but with major restrictions (https://www.statnews.com/2019/05/01/fda-dengue-vaccine-restrictions/), 1 May 2019
Jon Cohen, New dengue vaccine performs well in large trial, but safety remains key concern (https://www.sciencemag.org/news/2019/11/new-dengue-vaccine-performs-well-large-trial-safety-remains-key-concern), 6 November 2019
Centers for Disease Control and Prevention, Dengue Vaccine (https://www.cdc.gov/dengue/prevention/dengue-vaccine.html), 23 September 2019

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)