กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

เลือดออกทางช่องคลอดขณะตั้งครรภ์

เลือดออกทางช่องคลอดขณะตั้งครรภ์อาจเป็นสัญญาณอันตรายของภาวะร้ายแรงได้ เมื่อเกิดอาการ ควรรีบไปพบแพทย์ทันที
เผยแพร่ครั้งแรก 23 มี.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 5 นาที
เลือดออกทางช่องคลอดขณะตั้งครรภ์

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • เลือดออกทางช่องคลอดระหว่างการตั้งครรภ์เป็นภาวะที่พบได้บ่อย โดยทั่วไปไม่ใช่สัญญาณอันตราย แต่บางครั้งก็อาจเป็นสัญญาณเตือนของภาวะร้ายแรงได้เช่น เมื่อเกิดอาการจึงควรรีบไปพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัย
  • เลือดออกทางช่องคลอดในไตรมาสที่ 1 ของการตั้งครรภ์ อาจเกิดได้จากเลือดล้างหน้าเด็ก การแท้งบุตร หรือการตั้งครรภ์นอกมดลูก
  • เลือดออกทางช่องคลอดในไตรมาสที่ 2 และ 3 ของการตั้งครรภ์ อาจเกิดได้จากภาวะรกเกาะต่ำ มดลูกแตก ภาวะเส้นเลือดสายสะดือทอดผ่านปากมดลูก หรือคลอดก่อนกำหนด
  • หากมีอาการต่อไปนี้ให้รีบไปพบแพทย์ทันที ซึ่งได้แก่ ปวดท้องส่วนล่าง เลือดออกจากช่องคลอดอย่างรุนแรง มีของเหลวไหลปนออกมากับเนื้อเยื่อ มีอาการหน้ามืดคล้ายจะเป็นลม และมีไข้สูง 38 องศาเซลเซียส หรือมีไข้หนาวสั่น
  • การฝากครรภ์ตั้งแต่เนิ่นๆ จะช่วยให้คุณแม่และทารกในครรภ์ได้รับการดูแลจากสูตินรีแพทย์อย่างใกล้ชิด ช่วยป้องกันอันตรายที่อาจเกิดจากการตั้งครรภ์ได้ (ดูแพ็กเกจฝากครรภ์และคลอดบุตรได้ที่นี่)

เลือดออกทางช่องคลอดระหว่างการตั้งครรภ์เป็นภาวะที่พบได้บ่อย โดยทั่วไปไม่ใช่สัญญาณอันตราย แต่บางครั้งอาการเลือดออกอาจเป็นสัญญาณเตือนของภาวะร้ายแรงบางอย่างได้

ดังนั้นจึงมีความสำคัญที่คุณควรรู้ว่าอะไรบ้างที่เป็นสาเหตุของการเกิดเลือดออก และไปพบแพทย์เพื่อตรวจให้แน่ใจว่า คุณและทารกในครรภ์ยังแข็งแรงดีอยู่

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ฝากครรภ์ คลอดบุตรวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 79 บาท ลดสูงสุด 65%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

เลือดออกทางช่องคลอดในไตรมาสที่ 1 ของการตั้งครรภ์

ประมาณ 20% ของหญิงตั้งครรภ์จะมีเลือดออกบ้างในช่วง 12 สัปดาห์แรกของการตั้งครรภ์ สาเหตุของการเกิดเลือดออกในช่วงไตรมาสที่ 1 มีดังนี้

เลือดล้างหน้าเด็ก (Implantation bleeding)

คุณอาจพบเลือดออกทางช่องคลอดปริมาณไม่มากในช่วง 6 – 12 วันแรกหลังจากที่คุณตั้งครรภ์ ซึ่งเกิดจากไข่ที่ผสมกับอสุจิฝังตัวที่เยื่อบุโพรงมดลูก ผู้หญิงบางรายอาจไม่รู้ตัวว่า กำลังตั้งครรภ์เพราะเข้าใจผิดคิดว่าเลือดที่ออกมานี้เป็นเลือดประจำเดือน

แต่โดยทั่วไปเลือดล้างหน้าเด็กจะออกมาในปริมาณน้อยกว่าประจำเดือนมาก และจะเป็นเพียงไม่กี่ชั่วโมงถึงไม่กี่วันก็จะหายไป

แท้งบุตร (Miscarriage)

การแท้งบุตรสามารถพบได้บ่อยในช่วง 12 สัปดาห์แรกของการตั้งครรภ์ ซึ่งเป็นเรื่องที่ต้องกังวลมากที่สุดเกี่ยวกับการมีเลือดออกในช่วงไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์ 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ฝากครรภ์ คลอดบุตรวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 79 บาท ลดสูงสุด 65%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

อย่างไรก็ตาม ไม่ได้หมายความว่าการมีเลือดออกทางช่องคลอดในช่วงนี้จะหมายความว่าคุณจะแท้งเสมอไป ในความเป็นจริงแล้ว หากตรวจพบอัตราการเต้นของหัวใจผ่านการตรวจอัลตราซาวน์ นั่นหมายความว่ามากกว่า 90% ของหญิงตั้งครรภ์ที่พบเลือดออกในไตรมาสที่หนึ่งจะไม่แท้ง

อาการอื่นๆ ของการแท้งบุตร ได้แก่ การปวดเกร็งที่ท้องส่วนล่างอย่างรุนแรง และพบเนื้อเยื่อหลุดออกมาทางช่องคลอด

การตั้งครรภ์นอกมดลูก (Ectopic pregnancy)

การตั้งครรภ์นอกมดลูกหมายถึง ตัวอ่อนฝังตัวนอกบริเวณมดลูก โดยทั่วไปพบว่าจะฝังตัวที่ท่อนำไข่ (fallopian tube) หากตัวอ่อนยังคงเจริญเติบโตต่อ จะทำให้ท่อนำไข่แตกออกได้ ซึ่งเป็นภาวะร้ายแรงเป็นอันตรายต่อมารดา 

แม้ว่าการตั้งครรภ์นอกมดลูกจะเป็นภาวะอันตราย แต่ก็พบได้เพียงประมาณ 2% ของการตั้งครรภ์ทั้งหมด

อาการอื่นๆ ของการตั้งครรภ์นอกมดลูก คือ ปวดท้องเกร็งมาก หรือมีอาการปวดที่ท้องส่วนล่าง และเวียนศีรษะ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ฝากครรภ์ คลอดบุตรวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 79 บาท ลดสูงสุด 65%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

ครรภ์ไข่ปลาอุก (Molar pregnancy หรือ gestational trophoblastic disease)

ภาวะนี้เป็นภาวะที่พบได้น้อยมาก เป็นเนื้อเยื่อผิดปกติที่เจริญอยู่ภายในมดลูกแทนที่จะเป็นตัวทารก ส่วนน้อยเท่านั้นที่เนื้อเยื่อนี้จะพัฒนาเป็นมะเร็งและแพร่กระจายไปที่บริเวณอื่นๆ ของร่างกาย

อาการอื่นๆ ของครรภ์ไข่ปลาอุกก็คือ คลื่นไส้และอาเจียนอย่างรุนแรง และมดลูกขยายตัวใหญ่ขึ้นอย่างรวดเร็ว

สาเหตุอื่นๆ ของการเกิดเลือดออกในช่วงแรกๆ ของการตั้งครรภ์ ได้แก่

  • การเปลี่ยนแปลงของปากมดลูก (Cervical changes) ระหว่างการตั้งครรภ์จะมีเลือดไปเลี้ยงที่ปากมดลูกเพิ่มมากขึ้น การมีเพศสัมพันธ์หรือการตรวจแป๊บ (Pap test) ทำให้เกิดการสัมผัสที่บริเวณปากมดลูก ทำให้เกิดเลือดออกได้ การเกิดเลือดออกจากสาเหตุนี้ไม่ใช่เรื่องที่ต้องกังวล
  • การติดเชื้อ การติดเชื้อใดๆ ก็ตามที่ปากมดลูก ช่องคลอด หรือการติดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เช่น หนองในเทียม หนองใน หรือเริม เป็นสาเหตุของการเกิดเลือดออกทางช่องคลอดในช่วงไตรมาสแรกได้

เลือดออกทางช่องคลอดในไตรมาสที่ 2 และ 3 ของการตั้งครรภ์

เลือดออกผิดปกติทางช่องคลอดในช่วงหลังๆ ของการตั้งครรภ์อาจมีความรุนแรงมากกว่า เพราะอาจเป็นสัญญาณเตือนของปัญหาที่เกิดขึ้นกับมารดาหรือทารกในครรภ์ได้ หากเกิดเลือดออกทางช่องคลอดในช่วงไตรมาสที่ 2 หรือไตรมาสที่ 3 ของการตั้งครรภ์ ให้รีบไปพบแพทย์ทันที

สาเหตุของการเกิดเลือดออกในระยะหลังๆ ของการตั้งครรภ์ ได้แก่

ภาวะรกเกาะต่ำ (Placenta previa)

ภาวะนี้ภาวะที่รกมาเกาะตัวที่บริเวณส่วนล่างของมดลูก หรืออาจคลุมมาปิดปากมดลูกบางส่วนหรือทั้งหมด ภาวะรกเกาะต่ำเป็นภาวะที่พบได้น้อยในช่วงไตรมาสที่ 3 ของการตั้งครรภ์ พบในหญิงตั้งครรภ์ประมาณ 1 ใน 200 คน 

อาการคือจะพบเลือดออกทางช่องคลอด ซึ่งจะไม่มีอาการเจ็บครรภ์ แต่เป็นภาวะฉุกเฉินที่ต้องได้รับการดูแลจากแพทย์

ภาวะรกลอกตัวก่อนกำหนด (Placental abruption)

พบได้ประมาณ 1% ของการตั้งครรภ์ทั้งหมด ซึ่งเป็นภาวะที่รกลอกตัวจากผนังมดลูกก่อนที่จะมีการคลอดทารก ทำให้เกิดเลือดออกระหว่างรกและมดลูก ภาวะนี้เป็นภาวะที่อันตรายมากทั้งต่อมารดาและทารกในครรภ์

อาการและอาการแสดงอื่นๆ ของภาวะรกลอกตัวก่อนกำหนดคือ ปวดท้อง มดลูกหดรัดตัวแข็ง และปวดหลัง

มดลูกแตก (Uterine rupture)

ในกรณีที่พบได้น้อย แผลจากการผ่าตัดคลอดในครรภ์ก่อนหน้านี้อาจปริแตกระหว่างการตั้งครรภ์ได้ ภาวะดมลูกแตกเป็นภาวะฉุกเฉินร้ายแรง และต้องได้รับการผ่าตัดคลอดฉุกเฉิน

อาการอื่นๆ ของภาวะมดลูกแตก คือ อาการปวดท้องน้อยและกดเจ็บที่ท้อง

ภาวะเส้นเลือดสายสะดือทอดผ่านปากมดลูก (Vasa previa)

ภาวะนี้เป็นภาวะที่พบได้น้อยมาก คือเส้นเลือดของสายสะดือหรือรกทอดผ่านบริเวณปากมดลูก ซึ่งสามารถทำให้เกิดอันตรายร้ายแรงต่อทารกได้ เพราะเส้นเลือดนี้สามารถฉีกขาดได้ ทำให้ทารกเสียเลือดอย่างรุนแรงและขาดออกซิเจน

อาการแสดงอื่นๆ ที่พบได้ของภาวะนี้คือ อัตราการเต้นของหัวใจทารกผิดปกติ และมีเลือดออกมาผิดปกติ

คลอดก่อนกำหนด (Premature labor)

เลือดออกทางช่องคลอดในช่วงท้ายๆ ของการตั้งครรภ์ อาจเป็นสัญญาณของร่างกายที่เตรียมพร้อมสำหรับการคลอด ในเวลาไม่กี่วัน หรือไม่กี่สัปดาห์ก่อนการคลอดจะเริ่มต้นขึ้น 

มูกที่ปิดบริเวณปากมดลูกจะหลุดออกทางช่องคลอด ซึ่งมักจะมีเลือดปริมาณเล็กน้อยปนอยู่ในมูกนั้น ทำให้เห็นว่ามีเลือดปน 

แต่ถ้าการเกิดเลือดออกร่วมกับมีอาการของการคลอดเกิดขึ้นก่อนสัปดาห์ที่ 37 ของการตั้งครรภ์ ให้รีบไปพบแพทย์ทันที เพราะอาจหมายถึงการคลอดก่อนกำหนดได้

อาการอื่นๆ ของการคลอดก่อนกำหนด ได้แก่ การหดตัวของมดลูก, มีของเหลวไหลจากช่องคลอด, ปวดท้อง, ปวดหลังส่วนล่าง

สาเหตุอื่นๆ ของการเกิดเลือดออกทางช่องคลอดในการตั้งครรภ์ระยะหลังๆ

  • การบาดเจ็บที่ปากมดลูกหรือช่องคลอด
  • ติ่งเนื้อโพรงมดลูก (Polyps)
  • มะเร็ง

ฉันต้องทำอย่างไรเมื่อมีเลือดออกผิดปกติทางช่องคลอดระหว่างการตั้งครรภ์

การมีเลือดออกทางช่องคลอดไม่ว่าจะเป็นไตรมาสใดก็ตามอาจเป็นสัญญาณของการเกิดปัญหาใดๆ ระหว่างการตั้งครรภ์ ดังนั้นหากมีอาการเกิดขึ้น ให้ไปพบแพทย์ 

คุณสามารถสวมใส่ผ้าอนามัยเพื่อดูได้ว่า เลือดที่ออกมามีปริมาณมากแค่ไหน และจดบันทึกถึงลักษณะของเลือดที่ออกมาได้ เช่น มีสีชมพู น้ำตาล หรือสีแดง และหลังเลือดเหลว หรือเป็นลิ่มเลือด 

หากมีเนื้อเยื่อใดๆ หลุดออกมาทางช่องคลอด ให้นำไปให้แพทย์ดูด้วย อย่าใช้ผ้าอนามัยแบบสอดหรือมีเพศสัมพันธ์ขณะที่คุณกำลังมีเลือดออกนี้

คุณควรคาดหวังว่าจะได้รับการตรวจอัลตราซาวด์เพื่อดูว่า มีอะไรที่อาจเป็นสาเหตุของการเกิดเลือดออกในครั้งนี้หรือไม่ การอัลตราซาวด์ผ่านทางช่องคลอดและผ่านหน้าท้องมักถูกทำไปพร้อมๆ กัน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการตรวจติดตามแบบเต็มรูปแบบ

อาการที่ต้องไปพบแพทย์ทันที

ให้ไปห้องฉุกเฉินของโรงพยาบาลหรือโทรเรียกรถพยาบาลทันที ถ้าคุณมีอาการดังต่อไปนี้ เพราะอาจเป็นสัญญาณของการแท้งบุตรหรือปัญหาร้ายแรงอื่นๆ

  • ปวดท้องส่วนล่าง หรือหดเกร็งอย่างรุนแรง
  • เลือดออกทางช่องคลอดอย่างรุนแรง ไม่ว่าจะมีอาการปวดหรือไม่ก็ตาม
  • มีของเหลวไหลจากช่องคลอดปนกับเนื้อเยื่อบางอย่าง
  • เวียนศีรษะ หรือหน้ามืดจะเป็นลม
  • มีไข้สูงกว่า 38 องศาเซลเซียส และ/หรือ หนาวสั่น

ผู้หญิงที่กำลังตั้งครรภ์จะต้องดูแลสุขภาพร่างกายอย่างเคร่งครัด โดยการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ และออกกำลังกายตามความเหมาะสม ซึ่งผู้ใกล้ชิดจะต้องให้กำลังใจและช่วยกันระมัดระวังอันตรายที่อาจเกิดขึ้นด้วย 

อย่างไรก็ตาม การฝากครรภ์ตั้งแต่เนิ่นๆ และขอคำแนะนำจากสูตินรีแพทย์ จะช่วยให้คุณแม่สามารถปฏิบัติตัวได้อย่างเหมาะสม

ดูแพ็กเกจฝากครรภ์และคลอดบุตร เปรียบเทียบราคา โปรโมชั่นล่าสุดจากโรงพยาบาลและคลินิกชั้นนำได้ที่นี่ หรือไม่พลาดทุกการอัปเดตแพ็กเกจต่างๆ เมื่อกดเป็นเพื่อนทางไลน์ @hdcoth และกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


9 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Bleeding During Pregnancy – What‘s Normal?. American Academy of Family Physicians. (https://familydoctor.org/bleeding-pregnancy-whats-normal/)
Spotting During Pregnancy Causes, Symptoms, How to Stop & Prevent. eMedicineHealth. (https://www.emedicinehealth.com/pregnancy_bleeding/article_em.htm)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
ทารกมีอัตราการเต้นของหัวใจช้า อันตรายหรือไม่
ทารกมีอัตราการเต้นของหัวใจช้า อันตรายหรือไม่

เรื่องง่ายๆ ที่คุณแม่ทุกคนต้องใส่ใจเพราะอัตราการเต้นของหัวใจสัมพันธ์กับความปลอดภัยของลูกน้อย

อ่านเพิ่ม
อะไรคือสัญญาณการฉีกขาดในภาวะตั้งครรภ์นอกมดลูก?
อะไรคือสัญญาณการฉีกขาดในภาวะตั้งครรภ์นอกมดลูก?

เรียนรู้สัญญาณการตั้งครรภ์นอกมดลูกก่อนที่มันจะฉีกขาด

อ่านเพิ่ม
ทำความเข้าใจกับภาวะตั้งครรภ์ที่ไข่ที่ปฏิสนธิไม่ฝังตัว (Chemical Pregnancy) ใช่หรือไม่ใช่?
ทำความเข้าใจกับภาวะตั้งครรภ์ที่ไข่ที่ปฏิสนธิไม่ฝังตัว (Chemical Pregnancy) ใช่หรือไม่ใช่?

การตั้งครรภ์ที่เร็วเกินไปที่จะยืนยันด้วยวิธีการทางชีวเคมี

อ่านเพิ่ม