การติดเชื้อที่ระบบทางเดินปัสสาวะ

เผยแพร่ครั้งแรก 29 พ.ย. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
การติดเชื้อที่ระบบทางเดินปัสสาวะ

การติดเชื้อที่ระบบทางเดินปัสสาวะ (Urinary tract infections - UTI) เป็นภาวะติดเชื้อที่กระเพาะปัสสาวะ ไต และท่อที่เชื่อมอวัยวะข้างต้นที่เกิดขึ้นบ่อย

ไม่ว่าใครก็สามารถประสบกับภาวะติดเชื้อนี้ได้ แต่มักจะพบได้บ่อยกับผู้หญิง โดยผู้หญิงบางคนอาจประสบกับภาวะติดเชื้อเช่นนี้ซ้ำซากได้ UTI ทำให้รู้สึกเจ็บปวดและไม่สบายเนื้อสบายตัว แต่ก็มักจะหายไปหลังการใช้ยาปฏิชีวนะไม่กี่วัน

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

อาการของภาวะติดเชื้อที่ระบบทางเดินปัสสาวะ

การติดเชื้อที่กระเพาะปัสสาวะ (cystitis) หรือท่อปัสสาวะ (urethra) (ท่อที่ใช้ลำเลียงปัสสาวะออกจากร่างกาย) จะเรียกว่าเป็น UTI ส่วนล่าง/ตอนปลาย ซึ่งทำให้เกิดอาการ:

  • ปวดปัสสาวะบ่อยกว่าปรกติ
  • ความเจ็บปวดหรือไม่สบายตัวขณะปัสสาวะ
  • เกิดความอยากปัสสาวะกะทันหัน
  • รู้สึกว่าไม่สามารถถ่ายปัสสาวะให้หมดกระเพาะได้
  • เจ็บปวดที่ท้องน้อย
  • ปัสสาวะมีสีขุ่น กลิ่นแรง หรือมีเลือดปน
  • รู้สึกไม่สบายเนื้อสบายตัว คัน และเหน็ดเหนื่อย

ภาวะติดเชื้อที่ไตหรือหลอดไต (ureters) (ท่อที่เชื่อมไตเข้ากับกระเพาะปัสสาวะ) จะเรียกว่า UTI ส่วนบน/ตอนต้น ซึ่งทำให้เกิดอาการ:

UTI ส่วนปลายจะเกิดขึ้นได้บ่อยและมักไม่ทำให้เกิดปัญหาร้ายแรงอะไร ส่วน UTI ตอนต้นจะมีความร้ายแรงมากกว่าหากไม่ทำการรักษา เพราะการติดเชื้อสามารถทำลายไตหรือแพร่กระจายเข้าสู่กระแสเลือดได้

ควรไปพบแพทย์เมื่อไร?

ควรไปพบแพทย์ทันทีที่คุณคาดว่าตนเองประสบกับ UTI โดยเฉพาะหากว่า:

  • คุณมีอาการของการติดเชื้อส่วนบน
  • มีอาการรุนแรงหรือทรุดลงเรื่อย ๆ
  • อาการไม่ดีขึ้นหลังจากผ่านไปสองถึงสามวัน
  • คุณประสบกับ UTI บ่อยครั้ง

แพทย์จะทำการตรวจหาภาวะอื่น ๆ ที่ทำให้มีอาการคล้ายกันด้วยการตรวจปัสสาวะและจ่ายยาปฏิชีวนะแก่คุณเพื่อรักษาภาวะติดเชื้อ

ยาปฏิชีวนะมักจะแนะนำกับ UTI ที่สุด เพราะหากไม่ทำการรักษา UTI จะทำให้เกิดปัญหาอื่น ๆ ตามมาหากเชื้อลุกลามมากขึ้น

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

การรักษาภาวะติดเชื้อที่ระบบทางเดินปัสสาวะ

UTI มักรักษาได้ด้วยการใช้ยาปฏิชีวนะคอร์สสั้น ผู้หญิงที่ป่วยส่วนมากจะถูกกำหนดให้ยาปฏิชีวนะชนิดเม็ดหรือแคปซูลนานสามวัน ส่วนผู้ชาย ผู้หญิงตั้งครรภ์ และผู้ที่มีอาการรุนแรงอาจต้องใช้ยาปฏิชีวนะนานกว่านั้น

อาการของคุณควรจะดีขึ้นหลังใช้ยาไปแล้วสามถึงห้าวัน ซึ่งคุณต้องใช้ยาให้ครบตามที่แพทย์กำหนดแม้จะมีอาการดีขึ้นแล้วก็ตาม

คุณสามารถทานยาแก้ปวดที่หาซื้อได้ตามร้านขายยาอย่างพาราเซตตามอลก็ช่วยบรรเทาอาการปวดได้ และการดื่มน้ำมาก ๆ ก็ช่วยทำให้คุณรู้สึกดีขึ้นได้เช่นกัน

ควรกลับไปพบแพทย์เมื่ออาการต่าง ๆ ไม่ดีขึ้น ทรุดลง หรือกลับมาเป็นซ้ำ ๆ หลังจากเริ่มการรักษาไปแล้ว

สาเหตุของภาวะติดเชื้อที่ระบบทางเดินปัสสาวะ

UTI เกิดขึ้นเมื่อระบบทางเดินปัสสาวะของคุณติดเชื้อ มักจะเกิดจากเชื้อแบคทีเรีย กรณีส่วนมากแล้วเชื้อแบคทีเรียจะมาจากลำไส้และเข้าสู่กระเพาะปัสสาวะผ่านทางท่อปัสสาวะ ซึ่งมักเกิดจากการเช็ดทวารหนักหรือระหว่างมีเพศสัมพันธ์ แต่ก็มีบ่อยครั้งที่แพทย์ไม่พบสาเหตุของการติดเชื้อเช่นกัน

ข้อมูลต่อไปนี้จะเพิ่มความเสี่ยงต่อการประสบกับ UTI:

  • ภาวะที่มีสิ่งอุดกั้นระบบทางเดินปัสสาวะ เช่นนิ่วไต
  • ภาวะที่ไม่สามารถถ่ายปัสสาวะได้หมดกระเพาะปัสสาวะ
  • การใช้ฝาครอบปากมดลูก (diaphragm) ในการคุมกำเนิด หรือถุงยางที่มีสารฆ่าน้ำเชื้อ
  • ภาวะเบาหวาน
  • ระบบภูมิคุ้มกันที่อ่อนแอ เช่นจากการทำเคมีบำบัด หรือ HIV
  • การใช้สายสวนท่อปัสสาวะ
  • ภาวะต่อมลูกหมากโต

ผู้หญิงอาจประสบกับ UTI บ่อยกว่าผู้ชายเนื่องจากมีท่อปัสสาวะสั้นและอยู่ใกล้กับทวารหนักมากกว่าผู้ชาย

การป้องกันภาวะติดเชื้อที่ระบบทางเดินปัสสาวะ

หากคุณประสบกับ UTI มีหลายสิ่งที่คุณสามารถทดลองเพื่อหยุดการกลับมาของโรคได้ อย่างไรก็ตามก็ยังไม่มีหลักฐานว่าข้อปฏิบัติเหล่านี้มีประสิทธิภาพมากน้อยเพียงไหน:

  • เลี่ยงใช้สบู่อาบน้ำผสมน้ำหอม สบู่ หรือแป้งฝุ่นรอบอวัยวะเพศ: ควรใช้สารทำความสะอาดร่างกายที่ไม่ผสมน้ำหอม และควรใช้วิธีอาบน้ำฝักบัวแทนการแช่น้ำ
  • เข้าห้องน้ำทันทีที่ปวดปัสสาวะ และพยายามถ่ายให้หมดจริง ๆ
  • ดื่มน้ำมาก ๆ
  • เช็ดทวารหนักจากหน้าไปข้างหลังหลังขับถ่าย
  • ถ่ายกระเพาะปัสสาวะให้หมดหลังจากมีเพศสัมพันธ์
  • ไม่ใช่ฝาครอบปากมดลูกหรือถุงยางที่มีสารฆ่าน้ำเชื้อในการคุมกำเนิด: ควรเปลี่ยนไปใช้วิธีคุมกำเนิดอื่นแทน
  • สวมกางเกงชั้นในที่ทอจากผ้าไหม แทนใยสังเคราะห์อย่างไนลอน และเลี่ยงการใส่กางเกงที่แน่นเกินไป
  • ควรไปปรึกษาแพทย์หากว่าข้อปฏิบัติข้างต้นไม่ได้ผล แพทย์จะทำการแนะนำวิธีรักษาด้วยยาปฏิชีวนะระยะยาว หรือจ่ายยาปฏิชีวนะให้คุณใช้ทันทีที่เริ่มมีอาการจากภาวะ UTI
  • ณ ปัจจุบันยังมีหลักฐานว่าการดื่มน้ำแครนเบอร์รี่หรือทาน probiotics จะช่วยลดโอกาสการติด UTI ได้อยู่น้อยมาก

28 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Urinary tract infections (UTIs). NHS (National Health Service). (https://www.nhs.uk/conditions/urinary-tract-infections-utis/)
Urinary tract infection: Causes, symptoms, and prevention. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/189953)
Urinary tract infection (UTI) - Symptoms and causes - Mayo Clinic (https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/urinary-tract-infection/symptoms-causes/syc-20353447)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)