กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

รู้จักนมโปรตีนสูง ควบคู่การอ่านฉลาก

เราจะพูดถึงการอ่านฉลากโดยทั่วไป และการเลือกซื้อ “นม”
เผยแพร่ครั้งแรก 26 ส.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 30 มี.ค. 2023 เวลาอ่านประมาณ 4 นาที
รู้จักนมโปรตีนสูง ควบคู่การอ่านฉลาก

อาหารการกินทุกวันนี้ แน่นอนล่ะว่า มีทั้งที่เป็นประโยชน์และไม่เป็นประโยชน์ ผู้ผลิตก็มีหลากหลายประเภท มีทั้งผู้ผลิตที่นึกถึงจิตใจและสุขภาพร่างกายของผู้บริโภค แต่ก็มีผู้ผลิตบางรายที่มุ่งหวังแต่ผลประโยชน์และกำไรจนบางครั้งลืมนึกถึงบรรดาลูกค้าที่บริโภคอาหารเหล่านั้นเข้าไป ทั้งนี้ทั้งนั้นแล้ว เราในฐานะผู้บริโภคก็คงไม่สามารถไว้ใจและเชื่อมั่นในผู้ผลิตเพียงฝ่ายเดียวได้ แต่ควรระมัดระวังด้วยการรู้จักหาความรู้ใส่ตัว ไม่ว่าจะเป็นเรื่องหลักโภชนาการ การเลือกกิน การเลือกซื้อ และอื่น ๆ เพราะแต่ละอย่างที่เราซื้อมานั้น ก็ล้วนแล้วแต่ต้องลงกระเพาะของเราและคนที่เรารักทั้งสิ้น วันนี้ เราจะพูดถึงการอ่านฉลากโดยทั่วไป และการเลือกซื้อ “นม” อันเป็นเครื่องดื่มประจำมื้อเช้าของใครหลาย ๆ คนกันดีกว่า ไปดูกันเลย

นมให้คุณค่าและประโยชน์อะไรต่อร่างกาย? 

โดยทั่วไปแล้ว เรามักเคยได้ยินกันว่า โปรตีนจะช่วยสร้างเสริมและซ่อมแซมกล้ามเนื้อ รวมถึงช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกันให้แก่ร่างกาย ซึ่งแหล่งโปรตีนนั้นหาได้จากอาหารหลากหลายชนิด ไม่ว่าจะเป็นเนื้อสัตว์ ไข่ ถั่ว และนม 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ขนมปัง "ไร้แป้ง ไร้น้ำตาล อิ่มนาน ไปรตีนสูง" อยากคุมน้ำหนัก แบบไม่อด ต้องลอง พร้อมโปร 5 ฟรี 1

ซื้อผ่าน HD ประหยัดกว่า / ราคาพิเศษสำหรับ นศ. / ผ่อน 0% / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

ในส่วนของเครื่องดื่มแล้ว นมถือเป็นแหล่งโปรตีนที่หาซื้อทานง่ายและสะดวกที่สุด ภายในนมนั้น มีส่วนประกอบหลัก ๆ คือ เวย์ 20 เปอร์เซ็นต์ และเคซีน 80 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งเวย์นั้นสามารถย่อยสลายได้ง่ายจึงนำไปใช้งานได้เร็ว ส่วนเคซีนนั้นใช้เวลาย่อยนาน สามารถช่วยรักษาสมดุลของโปรตีน 

ทั้งนี้ หลายคนที่ต้องการสร้างกล้ามเนื้อ นิยมใส่เวย์เข้าไปเพิ่มเติม เพราะเวย์จะมีสารเจือปนอย่างอื่นไม่มาก กล่าวคือ ไขมันและคาร์โบไฮเดรตที่ติดมาด้วยค่อนข้างน้อยนั่นเอง จัดว่าช่วยควบคุมหุ่นได้ดีทีเดียว

นมที่มีโปรตีนสูงในท้องตลาด

ควบคู่ไปกับการเรียนรู้วิธีการอ่านฉลากกันเถอะ ในที่นี้ เราจะไล่จากยี่ห้อที่มีพลังงานสูงมากสุดไปน้อยสุด (ทั้งนี้ แต่ละยี่ห้อก็มีข้อดีข้อเด่นแตกต่างกันไป) 

  1. เมจิ ฮาย โปรตีน (พลังงาน 280 กิโลแคลอรี่, ไขมัน 2.6 กรัม, โปรตีน 26.25 กรัม และคาร์โบไฮเดรต 36.75 กรัม ซึ่งประกอบด้วยน้ำตาล 22.75 กรัม): ข้อดีคือโปรตีนสูง แต่ข้อเสียคือคาร์โบไฮเดรตและน้ำตาลค่อนข้างมากทีเดียว ใครก็ตามที่กำลังลดน้ำหนักหรือควบคุมสัดส่วน อาจต้องระวังกันเสียหน่อย
  2. ฮูเร่ เบทเทอร์เชค (พลังงาน 180 กิโลแคลอรี่, ไขมัน 2 กรัม, โปรตีน 30 กรัม และคาร์โบไฮเดรต 11 กรัม ซึ่งประกอบด้วยน้ำตาล 4 กรัม): หากเทียบแล้ว ข้อมูลทางโภชนาการจัดว่าดีมากเลยล่ะ เพราะพลังงานต่ำกว่า ไขมันน้อย โปรตีนเยอะ และที่สำคัญ คาร์โบไฮเดรตกับน้ำตาลไม่สูงมาก

  3. รัมเบิ้ล อาร์ทีดี เวย์ โปรตีน (พลังงาน 170 กิโลแคลอรี่, ไขมัน 2 กรัม, โปรตีน 24 กรัม และคาร์โบไฮเดรต 12 กรัม ซึ่งประกอบด้วยน้ำตาล 0 กรัม): ข้อมูลทางโภชนาการของผลิตภัณฑ์นี้ก็ดีไม่น้อย ที่สำคัญคือไร้น้ำตาล อีกทั้งยังมีข้อแตกต่าง นั่นคือ การใส่เวย์ลงไปในส่วนผสมของนมนี้ด้วย ใครที่อยากรีบสร้างกล้ามเนื้อ อาจถูกอกถูกใจกัน

ทุกวันนี้ เชื่อว่าหลายคนคงมีชีวิตในช่วงเช้าที่เร่งรีบ ทั้งจากการตื่นนอนสาย การจราจรที่ติดขัด การสัญจรในยามเช้าที่วุ่นวายสุด ๆ หรือการเคลียร์งานจนหาเวลาทานข้าวไม่ได้ ทั้งหมดนี้อาจส่งผลทำให้คุณต้องอดมื้อเช้าไปโดยปริยาย อย่างไรก็ตาม หลัง ๆ มานี้มีผลิตภัณฑ์มื้อเช้าฉบับเร่งด่วน ง่าย สะดวก และเคลมว่าได้ประโยชน์ต่าง ๆ ออกมาวางขายตามห้างสรรพสินค้าและร้านสะดวกซื้อมากมาย หนึ่งในนั้นคือธัญพืชอบกรอบที่สามารถทานพร้อมผลไม้และปิดท้ายด้วยการเทนมราด ไม่ต้องเสียเวลาเข้าครัวให้ยุ่งยาก (ง่ายจริงง่ายจัง) เพียงเท่านี้ หลาย ๆ คนก็ได้มื้อเช้าอยู่ท้องกันสบาย ๆ ซึ่งนับเป็นเรื่องดีที่ทำให้หนุ่มสาววัยเรียนวัยทำงานทั้งหลายไม่ต้องอดข้าวเช้าอีกต่อไป แต่! สำหรับใครที่กำลังพะวงกับเรื่องหุ่นและน้ำหนัก อย่าลืมใส่ใจ “นม” ที่คุณ ๆ เลือกบริโภคกันด้วยล่ะ ดังที่กล่าวไปข้างต้นเกี่ยวกับข้อมูลทางโภชนาการของนม ยิ่งใครที่เข้มงวดกับปริมาณโภชนาการที่ได้รับในแต่ละวันแล้วล่ะก็ ควรใส่ใจเกี่ยวกับการอ่านฉลากข้างผลิตภัณฑ์ให้มากขึ้น ไม่ว่าจะนมโปรตีนเองหรืออาหารใด ๆ ก็ตาม ฉะนั้น 

วิธีการอ่านข้อมูลเบื้องต้นบนฉลาก

  1. หนึ่งหน่วยบริโภคและจำนวนหน่วยบริโภคต่อภาชนะบรรจุ: ปริมาณที่ผู้ผลิตแนะนำให้ผู้บริโภคกิน ซึ่งในบางครั้ง ปริมาณหนึ่งหน่วยในการบริโภค อาจต้องแบ่งกิน 2 ครั้ง (หรืออาจมากกว่านั้น) จึงจะได้ปริมาณที่ผู้ผลิตแนะนำ ฉะนั้น หากไม่ได้แบ่งกินแต่กลับกินรวดเดียวแล้วล่ะก็ ย่อมคลาดเคลื่อนจากปริมาณที่บอกไว้บนฉลากอย่างแน่นอน
  2. คุณค่าทางโภชนาการต่อหนึ่งหน่วยบริโภค: หมายถึง การกินตามจำนวนครั้งที่กำหนด ผู้บริโภคจะได้รับสารอาหารใดเข้าสู่ร่างกายบ้าง
  3. ปริมาณสารอาหาร: ปริมาณสารอาหารทุกอย่างที่บรรจุ จำไวเสมอว่า เป็นปริมาณสำหรับ 1 หน่วยเท่านั้น หากกินทั้งหมดแล้วล่ะก็ อย่าลืมคูณหน่วยบริโภคด้วยล่ะ (ไม่แปลกใจทำไมถึงอ้วนง่าย...ลืมคูณ!)
  4. เช็คปริมาณน้ำตาล: หากคุณรับประทานน้ำตาลเกิน 24 กรัม หรือ 6 ช้อนชาต่อหนึ่งหน่วยบริโภค ถือว่าเกินขีดจำกัดของร่างกาย ซึ่งนั่นจะนำคุณไปสู่โรคเบาหวาน โรคอ้วน และอีกสารพัด
  5. ตรวจสอบปริมาณโซเดียม: อาหารบางอย่าง บนฉลากดูมีตัวเลขแคลอรี่น้อยนิด ดึงดูดคุณลูกค้าเป็นอย่างยิ่ง แต่หลายคนมักละเลยปริมาณโซเดียม ซึ่งถือเป็นเจ้าวายร้ายสาเหตุของอาการตัวบวม ดังนั้น คุณควรเลือกกินอาหารที่มีโซเดียมไม่เกิน 2, 300 มิลลิกรัม เพื่อช่วยหลีกเลี่ยงอาการตัวบวม โรคไต และโรคความดันโลหิตสูง

เหล่านี้คือทริคเบื้องต้นในการตรวจสอบและอ่านฉลากก่อนเลือกซื้อผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่มใด ๆ ก็ตาม หวังว่าจะเป็นประโยชน์ต่อเพื่อน ๆ ต่อไปไม่มากก็น้อย...


7 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Almond Milk vs. Cow’s Milk vs. Soy Milk vs. Rice Milk. Healthline. (https://www.healthline.com/health/milk-almond-cow-soy-rice)
Mumma K, et al. (2015). Effects of medium-chain triglycerides on weight loss and body composition: A meta-analysis of randomized controlled trials [Abstract]. DOI: (https://doi.org/10.1016/j.jand.2014.10.022)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
โฆษณาอาหารทำให้เด็กอ้วนได้อย่างไร?
โฆษณาอาหารทำให้เด็กอ้วนได้อย่างไร?

อาหารสำเร็จรูปสำหรับทารก เป็นอาหารที่ดูเหมาะสม

อ่านเพิ่ม
ยาลดน้ำหนักที่ชื่อ Alli และอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตต่ำ
ยาลดน้ำหนักที่ชื่อ Alli และอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตต่ำ

ยาลดความอ้วนทั้ง Alli, Orlistat และ Xenical นั้นไม่ได้ช่วยลดความอ้วนในกลุ่มผู้ที่รับประทานอาหารสูตร Atkins หรือสูตรที่มีคาร์โบไฮเดรตต่ำอื่น ๆ

อ่านเพิ่ม