กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

ข้อมูลภาพรวมของการรับประทานอาหารสูตร Atkins

เผยแพร่ครั้งแรก 26 ก.พ. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
ข้อมูลภาพรวมของการรับประทานอาหารสูตร Atkins

*อ่านข้อมูลล่าสุดเกี่ยวกับการรับประทานอาหารสูตร Atkins ได้ที่ มีอะไรที่เปลี่ยนแปลงในการรับประทานอาหารสูตร Atkins แบบใหม่

อาหารสูตร Atkins เป็นอาหารยอดนิยมที่เน้นเรื่องการลดปริมาณคาร์โบไฮเดรตที่รับประทานและเน้นการรับประทานอาหารที่โปรตีนสูง สูตรอาหารนี้ต้องการความใส่ใจในปริมาณของคาร์โบไฮเดรตนอาหารแต่ละชนิด โดยเฉพาะในช่วงสัปดาห์แรกๆ ข้อมูลต่อไปนี้เป็นข้อมูลภาพรวมเกี่ยวกับอาหารสูตรนี้

หลักการพื้นฐานของอาหารสูตร Atkins

ใจความหลักของการรับประทานอาหารสูตรนี้มาจากทฤษฎีของ Dr. Atkins ที่ว่าการรับประทานอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตมากและความไวต่อคาร์โบไฮเดรตที่รับประทานเข้าไปมากกว่าปกติเป็นสาเหตุที่ทำให้น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น หลักการนี้ต้องการอธิบายว่า น้ำหนักที่เพิ่มขึ้นนั้นเกิดจากกระบวนการจัดการคาร์โบไฮเดรตของร่างกาย ไม่ใช่ปริมาณไขมันที่รับประทานเข้าไป Dr. Atkins กล่าวต่อว่า ในคนที่มีน้ำหนักตัวมากอาจมีภาวะดื้อต่ออินซูลินซึ่งเซลล์ทำหน้าที่เปลี่ยนคาร์โบไฮเดรตให้เป็นน้ำตาล (ซึ่งจะกลายเป็นพลังงานของร่างกาย) ทำงานผิดปกติและผู้ที่มีน้ำหนักเกินส่วนใหญ่อาจเกิดจากภาวะนี้ ดังนั้น สูตรอาหารของ Atkins จึงเน้นที่การจำกัดปริมาณคาร์โบไฮเดรต

ในการรับประทานอาหารตามสูตร Atkins คุณจะต้องเริ่มจับตาดูและควบคุมปริมาณคาร์โบไฮเดรตที่รับประทานเข้าไป มีอาหารบางชนิดที่สามารถรับประทานหรือไม่ให้รับประทานระหว่างการใช้สูตรนี้ โดยเฉพาะการเลิกรับประทานคาร์โบไฮเดรตชนิดแย่ ซึ่งเป็นอาหารที่ผ่านการแปรรูปหรือปรุงสำเร็จหรืออาหารขยะ เช่น คุกกี้และเปลี่ยนไปรับประทานอาหารที่มีโปรตีนสูงแทน

สูตรอาหารนี้สามารถลดน้ำหนักได้อย่างไร?

การลดปริมาณคาร์โบไฮเดรตที่รับประทานให้เหลือน้อยกว่า 40 กรัมต่อวันจะทำให้ร่างกายเข้าสู่ภาวะ ketosis ซึ่งร่างกายจะนำไขมันมาใช้เป็นพลังงานแทน Dr. Atkins ยังได้กล่าวว่า ภาวะนี้จะส่งผลต่อการผลิตอินซูลิน ซึ่งจะช่วยป้องกันไม่ให้เกิดการสะสมของไขมันเพิ่มขึ้น และเมื่อร่างกายเข้าสู่ภาวะ ketosis แล้ว ร่างกายจะสามารถใช้ไขมันเป็นพลังงานได้อย่างมีประสิทธิภาวะความอยากรับประทานคาร์โบไฮเดรตจะลดลงและคุณจะไม่รู้สึกอยากอาหารที่ต้องหลีกเลี่ยงอีกต่อไป

ช่วงเวลาและอาหารสำหรับสูตรอาหาร Atkins

สูตรอาหาร Atkins ประกอบด้วย 4 ช่วงหลัก คือ ระยะเริ่มต้น น้ำหนักตัวลดลงต่อเนื่อง ก่อนการเข้าสู่ระยะคงตัว และระยะคงตัว

ระยะเริ่มต้น คือ ช่วงเวลา 14 วันแรกของการเริ่มรับประทานอาหารสูตรนี้ ซึ่ง Dr. Atkins กล่าวว่า สามารถลดน้ำหนักได้ถึง 15 ปอนด์ โดยการลดน้ำหนักให้ได้มากอาจจำกัดปริมาณคาร์โบไฮเดรตที่รับประทานให้เหลือเพียง 20 กรัมต่อวัน คาร์โบไฮเดรตชนิดเดียวที่สามารถรับประทานได้ในระยะนี้คือ ผักกาดขาว บร็อคโคลี่ และมะเขือเทศ (รับประทานได้ไม่เกิน 3 ถ้วยต่อวัน) และต้องเลิกรับประทานอาหารอื่นๆ ที่คุณอาจจะคิดว่าเป็นอาหารที่ดีต่อสุขภาพด้วย เช่นโยเกิร์ต ผลไม้ และผักที่เป็นแป้ง (เช่น มันฝรั่ง) นอกจากนั้น ยังต้องจำกัดเครื่องดื่มบางชนิดด้วยเช่นกัน

ในระยะถัดไป คือ ระยะน้ำหนักลดต่อเนื่อง คุณสามารถเพิ่มปริมาณคาร์โบไฮเดรตที่รับประทานได้อีก 5 กรัม แต่หลังจากนั้นคุณอาจเข้าสู่ช่วงคงที่และอาจต้องกลับมาจำกัดปริมาณคาร์โบไฮเดรตที่รับประทานเข้าไปอีกครั้ง

ในช่วงก่อนเข้าสู่ระยะคงตัว อัตราการลดน้ำหนักของคุณจะค่อยๆ ลดลง คุณจะเริ่มลองทานอาหารบางชนิดได้เพื่อดูว่าจะสามารถเพิ่มอาหารเหล่านี้เข้าไปในสูตรอาหารโดยไม่ทำให้น้ำหนักเพิ่มได้หรือไม่

เมื่อคุณสามารถลดน้ำหนักได้ถึงระดับที่ต้องการ คุณจะเริ่มเข้าสู่ระยะน้ำหนักคงตัวและอาจเริ่มเพิ่มการรับประทานอาหารคาร์โบไฮเดรตได้ แต่ไม่ใช่คาร์โบไฮเดรตชนิดไม่ดีที่จะทำให้น้ำหนักเพิ่ม คุณจะต้องเลือกรับประทานคาร์โบไฮเดรตที่ดีต่อสุขภาพแทนคาร์โบไฮเดรตที่ผ่านการแปรรูป (เช่น ขนมปังขาว) ตั้งแต่นี้เป็นต้นไป หากคุณเริ่มกลับมามีน้ำหนักเพิ่ม คุณอาจเริ่มการรับประทานอาหารสูตรนี้ใหม่อีกครั้ง


5 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Laura Dolson, What Is the Atkins Diet? (https://www.verywellfit.com/atkins-diet-4013435)
Yvette Brazier, Atkins diet: What is it, and should I try it? (https://www.medicalnewstoday.com/articles/7379.php) 30 January 2020
Lisa Fields, Atkins Diet Plan Review (https://www.webmd.com/diet/a-z/atkins-diet-what-it-is)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป