ในปัจจุบัน องค์การอนามัยโลกแนะนำให้ใช้ยาสูตรมาตรฐานเดียวกันหมดในผู้ป่วยรายใหม่ นั่นคือ 2HRZE/4HR ซึ่งหมายถึงจะมีการใช้ยา Isoniazid(H), Rifampicin(R), Pyrazinamide(Z) และ Ethambutol(E) ร่วมกันนาน 2 เดือน หลังจากนั้นจึงใช้ยา Isoniazid(H) และ Rifampicin(R) ต่ออีก 4 เดือนจนครบขนาดการรักษา (หรืออาจจำเป็นต้องยืดเวลาให้นานกว่านี้ในบางกรณี)
แต่การใช้ยาดังกล่าวในสตรีที่ให้นมบุตรจะมีผลต่อการสร้างและหลั่งน้ำนมมั้ย ปลอดภัยต่อทารกที่ดื่มนมหรือเปล่า จำเป็นต้องเว้นระยะการให้นมหรือควรบีบน้ำนมทิ้งหรือไม่ ...ถ้าสงสัยก็ตามมาดูกันเลยค่ะ
แนะนำคุณแม่มือใหม่วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 297 บาท ลดสูงสุด 59%
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
คำแนะนำการใช้ยาแต่ละชนิด ขณะให้นมบุตร
ยา | คำแนะนำ (อ้างอิงจาก Drug in Pregnancy and Lactation 10th edition) |
Isoniazid | Limited Human Data—Probably Compatible |
แม้ Isoniazid จะขับออกทางน้ำนมได้ แต่ไม่พบรายงานว่ามีผลกระทบใด ๆ ต่อทารก จึงสามารถให้นมในระหว่างที่ใช้ยาได้ แต่ควรติดตามการเกิดพิษต่อตับและปลายประสาทอักเสบในทารกด้วย ส่วนการจัดแบ่งกลุ่มยาตามความเสี่ยงของสถาบันกุมารเวชศาสตร์อเมริกัน (American Academy of Pediatrics หรือ AAP) แนะนำว่า Isoniazid เป็นยาที่สามารถใช้ได้ในสตรีที่ให้นมบุตรค่ะ | |
Rifampicin | Compatible |
นอกจาก Rifampicin จะขับออกทางน้ำนมได้น้อย จึงมีความเสี่ยงที่ต่ำมากแล้ว ยังไม่พบรายงานการเกิดอาการไม่พึงประสงค์ใด ๆ ต่อทารกที่ดื่มนมแม่ ดังนั้น สามารถให้นมในระหว่างที่ใช้ยาได้ค่ะ AAP ระบุว่าสามารถใช้ Rifampicin ได้ในสตรีที่ให้นมบุตร | |
Pyrazinamide | Limited Human Data—Probably Compatible |
ยา Pyrazinamide สามารถขับออกทางน้ำนมได้ แต่ไม่พบรายงานความเป็นพิษต่อทารกที่ดื่มนม ดังนั้น สามารถให้นมบุตรในระหว่างที่ใช้ Pyrazinamide ได้ค่ะ แต่ควรเฝ้าระวังอาการอันไม่พึงประสงค์ที่อาจเกิดขึ้นในทารก เช่น ดีซ่าน, ไข้, เบื่ออาหาร, คลื่นไส้และอาเจียน, เกล็ดเลือดต่ำ, ผื่น และปวดข้อ | |
Ethambutol | Limited Human Data—Probably Compatible |
เนื่องจาก Ethambutol ถูกขับออกทางน้ำนมไม่มากนัก อีกทั้งไม่พบรายงานความผิดปกติใด ๆ ในทารก AAP จึงแนะนำว่าสามารถใช้ Ethambutol ในสตรีที่ให้นมบุตรได้ |
จะเห็นได้ว่ายาสูตรมาตรฐาน หรือ 2HRZE/4HR สามารถนำมาใช้ในหญิงที่ให้นมบุตรได้ โดยไม่จำเป็นต้องงดหรือเว้นช่วงการให้นมในระหว่างที่ใช้ยา
โดยทั่วไป ผู้ป่วยวัณโรคปอดที่ได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่องมาอย่างน้อย 2 สัปดาห์ก็จะไม่แพร่กระจายเชื้อแล้วค่ะ อย่างไรก็ตาม หากมารดายังมีอาการไอหนักมาก ร่วมกับผลตรวจเสมหะยังคงเป็นบวก ในคู่มือ “แนวทางการควบคุมวัณโรคประเทศไทย พ.ศ.2561” แนะนำว่าควรหลีกเลี่ยงการสัมผัสใกล้ชิดกับทารก โดยใช้วิธีปั๊มนมไว้แล้วให้เด็กดูดนมจากขวดแทน เพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อจากแม่สู่ลูกนะคะ
แนะนำคุณแม่มือใหม่วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 297 บาท ลดสูงสุด 59%
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท