โรคดึงผมตัวเอง (Trichotillomania)

การดึงผมตัวเอง – ความผิดปกติในการควบคุมตัวเอง
เผยแพร่ครั้งแรก 9 ก.ย. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
โรคดึงผมตัวเอง (Trichotillomania)

โรคดึงผมตัวเอง (Trichotillomania – trik-o-til-o-MAY-nee-uh/ Trichotillosis หรือ compulsive hair pulling) นั้นจัดอยู่ในกลุ่มความผิดปกติเกี่ยวกับการควบคุมตัวเอง (impulse control order – ICD) ซึ่งแสดงออกโดยการดึงผมของตัวเอง ผมที่ดึงนั้นสามารถเป็นขนที่ส่วนใดๆ ของร่างกายก็ได้ ตั้งแต่หนังศีรษะ ใบหน้า แขน ขา ขนคิ้ว ขนตา และขนทีอวัยวะเพศ โรคนี้พบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย

โรคนี้จัดอยู่ในกลุ่ม body-focused repetitive behaviors (BFRBs) ผู้ที่เป็นโรคนี้ส่วนใหญ่มักจะดึงผมของตัวเองขณะที่อ่านหนังสือ เขียนหนังสือ ทำงานคอมพิวเตอณ์ คุยโทรศัพท์ หรือดูโทรทัศน์

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาสุขภาพจิต วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 882 บาท ลดสูงสุด 51%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

สาเหตุของโรคดึงผมตัวเอง

ยังไม่ทราบสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคนี้ในปัจจุบัน โดยเชื่อว่าอาจเป็นความผิดปกติทางระบบประสาทชีวภาพที่เกี่ยวข้องกับพันธุกรรมหรือสิ่งแวดล้อม และเชื่อว่าผู้ที่เป็นโรคนี้นั้นดึงผมตัวเองเพื่อเป็นวิธีในการจัดการกับความเครียดของตัวเองวิธีหนึ่ง

อาการและอาการแสดงของโรคดึงผมตัวเอง

อาการของโรคนี้อาจเริ่มในเด็กที่อายุน้อยกว่า 6 ปี แต่มักจะพบได้บ่อยในกลุ่มวัยรุ่นตอนปลาย ผู้ป่วย่วนใหญ่มักจะมีโรคซึมเศร้า วิตกกังวลและรู้สึกไม่ดีต่อภาพลักษณ์และรูปร่างของตัวเอง

อาการและอาการแสดงของภาวะนี้บางส่วนประกอบด้วย

  • ดึงผมบ่อยๆ จนสังเกตได้ว่าผมร่วง
  • ลำไส้อุดตัน
  • ปฏิเสธการดึงผม
  • มีพฤติกรรมทำร้ายตัวเอง
  • รู้สึกมีความสุข ตื่นเต้น หรือปลอดโปร่งมากขึ้นเมื่อได้ดึงผม
  • อับอายจากการที่ผมร่วง
  • ใส่หมวก วิก หรือผ้าโพกหัว
  • เอามือจับผมบ่อยๆ
  • มีปัญหาที่ทำงาน ที่บ้าน หรือที่โรงพรียน

10% ของผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้มีการรับประทานผมของตัวเองหลังจากที่ดึงออกมา ภาวะนี้เรียกว่า trichophagia ซึ่งอาจทำให้เกิดก้อนผมขนาดใหญ่ในระบบทางเดินอาหารได้ เมื่อเวลาผ่านไป ภาวะนี้จะทำให้น้ำหนักลด อาเจียน เกิดลำไส้อุดตันและเสียชีวิตได้

การรักษาโรคดึงผมตัวเอง

หากไม่ได้รับการรักษา โรคนี้อาจจะกลายเป็นโรคเรื้อรังหรือเป็นปัญหาระยะสั้นที่สามารถเริ่มเป็นและหายได้เองโดยไม่ได้รักษาก็ได้ การตรวจพบโรคดึงผมได้รวดเร็วนั้นจะทำให้เข้ารับการรักษาได้เร็ว การลดความเครียดจะช่วยลดพฤติกรรมดังกล่าวลงได้

แนวทางอื่นในการรักษาประกอบด้วย

  • Cognitive behavioral therapy (CBT) จะช่วยให้ผู้ป่วยตระหนักถึงสถานการณ์ที่เกิดขึ้นและเหตุการณ์ที่ทำให้เกิดการดึงผม วิธีนี้จะรวมถึงการฝึกการกำจัดนิสัยดังกล่าว การทำ biofeedback และการสะกดจิต
  • การใช้ยาเพื่อช่วยลดอาการวิตกกังวล ซึมเศร้าและอาการย้ำคิดย้ำทำ
  • การบำบัดร่วมกับครอบครัวและกลุ่มช่วยเหลือ

แนวทางในการรักษานั้นจะแตกต่างกันออกไปขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้ป่วยและครอบครัว


12 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Trichotillomania: Symptoms, causes, and treatments. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/326833)
Trichotillomania. National Center for Biotechnology Information. (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC5328413/)
Trichotillomania (hair pulling disorder) - NHS (https://www.nhs.uk/conditions/trichotillomania/)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป