งานวิจัยเผย สุนัขช่วยลดความเครียดในครอบครัวที่ลูกเป็นออทิสติก

เผยแพร่ครั้งแรก 22 เม.ย. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
งานวิจัยเผย สุนัขช่วยลดความเครียดในครอบครัวที่ลูกเป็นออทิสติก

โรคออทิสติกเป็นโรคที่เกิดจากความผิดปกติของสมอง ซึ่งผู้ป่วยจะมีความบกพร่องในเรื่องของพัฒนาการหลายด้าน และจะดำเนินต่อเนื่องไปตลอดชีวิต โดยเริ่มแสดงอาการตั้งแต่ก่อนที่มีอายุ 3 ขวบ และแน่นอนว่ามันทำให้คนในครอบครัวเครียดได้มากทีเดียว

อย่างไรก็ตาม มีงานวิจัยชิ้นใหม่พบว่า การเลี้ยงสุนัขสามารถช่วยลดความเครียดในครอบครัวที่มีลูกเป็นโรคออทิสติกได้ นักวิจัยยังพบด้วยว่า การปฏิบัติหน้าที่ของครอบครัวในครอบครัวที่เลี้ยงสุนัขดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญเมื่อเทียบกับครอบครัวที่ไม่ได้เลี้ยงสุนัข

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาสุขภาพจิต วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 882 บาท ลดสูงสุด 51%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

งานวิจัยดังกล่าวทำโดย University of Lincoln UK และได้ถูกเผยแพร่ใน The American Journal of Veterinary Behavior ทั้งนี้งานวิจัยชิ้นก่อนได้โฟกัสไปที่ผลดีของการเลี้ยงสุนัขที่มีต่อเด็ก และคราวนี้นักวิจัยอยากดูผลกระทบของการเลี้ยงสุนัขในบ้านที่มีลูกเป็นโรคออทิสติก

งานวิจัยชิ้นนี้ได้ติดตามงานวิจัยชิ้นก่อนที่มีการโฟกัสไปที่ผลของการเลี้ยงสุนัขในระยะสั้นที่มีต่อครอบครัวที่มีลูกเป็นโรคออทิสติก และนักวิจัยได้ติดตามครอบครัวนี้ 2.5 ปีต่อในภายหลังเพื่อศึกษาผลกระทบที่สุนัขมีต่อครอบครัวในระยะยาว ซึ่งมีการค้นพบว่า การปฏิบัติหน้าที่ของครอบครัวที่ดีขึ้นในระยะสั้นของเมื่อปีที่แล้วอยู่เหนือจากสิ่งที่พบในช่วงเริ่มแรก และระดับของความเครียดเริ่มลดลง

งานวิจัยชิ้นนี้แสดงให้เห็นว่า การเลี้ยงสุนัขสามารถช่วยลดความเครียดของทุกคนในบ้าน ซึ่งไม่มีการลดลงของความเครียดที่ว่านี้ในครอบครัวของคนที่ไม่ได้เลี้ยงสุนัข และงานวิจัยชิ้นนี้ยังเน้นให้เห็นถึงผลดีในระยะยาวของการเลี้ยงสุนัข

นอกจากนี้ในปี ค.ศ.2014 นักวิจัยจาก University College Cork (UCC) พบว่า เด็กที่เป็นโรคออทิสติกได้รับประโยชน์จากการเลี้ยงสุนัข โดยเฉพาะเด็กเล็ก ซึ่งงานวิจัยชิ้นนี้ได้โฟกัสไปที่สุนัขที่ได้รับการฝึกมาเพื่อช่วยเหลือว่าสามารถมอบประโยชน์ให้แก่เด็กที่เป็นโรคนี้ได้หรือไม่ โดยมีการวิเคราะห์แบบทดสอบจาก 80 ครอบครัวที่เลี้ยงสุนัข และ 84 ครอบครัวที่กำลังอยู่ในช่วงรอให้สุนัขส่งมาที่บ้าน

นักวิจัยได้จับตามองไปที่ผลกระทบของการเลี้ยงสุนัขที่ถูกฝึกมาสำหรับครอบครัวในเรื่องของความปลอดภัยของเด็ก สายพันธุ์ของสุนัข และการรับรู้ถึงโรคออทิสติก พวกเขาพบว่า ทุกคนในครอบครัวที่มีสุนัขผู้ช่วยมีคุณภาพชีวิตดีขึ้น นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยชิ้นหนึ่งเมื่อปี ค.ศ.2016 พบว่า สุนัขที่ถูกฝึกมาเพื่อช่วยเหลือนั้นสามารถช่วยให้เด็กปลอดภัย และออกไปนอกบ้านมากขึ้น อีกทั้งยังช่วยให้เด็กสื่อสารและมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคมเพิ่มขึ้น

ไม่น่าเชื่อเลยใช่ไหมคะว่า นอกจากสุนัขจะได้ชื่อว่าเป็นเพื่อนที่ดีที่สุดของมนุษย์แล้ว มันก็ยังมีส่วนช่วยให้เรามีสุขภาพจิตดีขึ้นได้อย่างคาดไม่ถึง หากคุณมีความพร้อมไม่ว่าจะเป็นเรื่องเงิน เวลา หรือสถานที่เลี้ยง การเลี้ยงสุนัขก็อาจทำให้คุณและครอบครัวมีความสุขมากขึ้นค่ะ

ที่มา : https://www.puppyleaks.com/red...


2 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Acquiring a Pet Dog Significantly Reduces Stress of Primary Carers for Children with Autism Spectrum Disorder: A Prospective Case Control Study. National Center for Biotechnology Information. (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC4513200/)
The Power of Pets: Animals Can Help Autistic Children Socialize. Healthline. (https://www.healthline.com/health-news/mental-animals-help-autistic-children-socialize-022713)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป