อย่าปล่อยให้ Social เป็นหอกทิ่มแทงคนในครอบครัว

เผยแพร่ครั้งแรก 28 มี.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
อย่าปล่อยให้ Social เป็นหอกทิ่มแทงคนในครอบครัว

ผู้ชายกับผู้หญิงยุคปัจจุบัน ส่วนใหญ่แล้วมักจะใช้เวลาส่วนตัวในการที่จะติดตามข่าวสารหรืออัพเดทของคนดัง ตามกระแสผ่านทางระบบ Social Media ต่างๆกันอยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็นทางด้านของ Twitter , Facebook , LINE , IG และแอพพลิเคชั่นประเภท Social Media ต่างๆอีกมากมายที่มีการเขียนโปรแกรมออกมาให้ใช้กันอย่างมากมาย แต่ในทางเดียวกันนั้น การที่หลายๆคู่สามีภรรยาต่างแยกกันมองหน้าจอโทรศัพท์มือถือของใครของมันกันเลยนั้น ก็อาจจะส่งผลในเรื่องของความสัมพันธ์ของกันและกันในครอบครัวอย่างมากเช่นกัน

ตามการค้นคว้าของผู้เชี่ยวชาญ พวกเขาได้บัญญัติคำศัพท์ที่มีความหมายถึง อาการติดดทรศัพท์ขนาดหนักนี้ว่า “ฟับบิ้ง” หรือ “Phubbing” ไว้อีกด้วย ซึ่งอาการที่ว่านี้เกิดขึ้นในยุคสื่อสารในยุคปัจจุบันที่ โทรศัพท์มือถือของคนเรา มีบทบาทอย่างมากในการใช้ชีวิตอีกด้วย ไม่ว่าจะเป็นคนเพศไหน อายุเท่าไหร่ การศึกษาระดับไหน ล้วนแล้วแต่น่าจะเคยผ่านช่วงเวลาของการติดโลกโซเชียล หรือก้มหน้าก้มตาเล่นโทรศัพท์มือถือมาบ้างเช่นกันจนแทบจะแยกชีวิตตัวเอง กับชีวิตในโซเชียลแทบจะไม่ออกแล้วนั่นเอง

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาสุขภาพจิต วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 882 บาท ลดสูงสุด 51%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

เข้าใจกับความหมายของ “ฟับบิ้ง” คำว่าฟับบิ้งหรือ Phubbing นั้นมีรากศัพท์มาจากการเอาคำศัพท์สองคำมารวมเข้าด้วยกันนั่นก็คือ Phone กับ Snubbing ซึ่งเมื่อแปลความหมายของศัพท์นี้ได้ ก็จะหมายความว่า อาการของคนที่ติดโทรศัพท์มือถืออย่างหนักจนแทบจะไม่แยกตัวเองออกจากหน้าจอของโทรศัพท์มือถือ จะเอาแต่ก้มหน้ากดโทรศัพท์ เล่นแอพ เล่นโซเชี่ยลมีเดียต่างๆจนไม่สนใจคนรอบข้าง อีกทั้ง ยังเป็นคนที่มีความวิตกรจิตในเรื่องที่ว่า จะไม่ยอมตกข่าวตามกระแสที่กำลังดังกำลังมีคนแชร์อย่างมากใน Social Media เด็ดขาด หากว่าตกข่าว ก็จะมีอาการกังวล เครียด และนอกจากนี้ อาการประเภทนี้ยังเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา ไม่ว่าจะเป็นเวลาไหน จะคุยกับเพื่อน ทำงาน กินข้าว ไปเที่ยวที่ไหนก็จะเอาแต่กดโทรศัพท์ ไม่เว้นแม้แต่ตอนกำลังเดินหรือขับรถซึ่งเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุอย่างมาก

การที่อยู่กับเพื่อนในกลุ่มแต่ไม่คุยกัน เอาแต่นั่งกดโทรศัพท์ของตัวเอง ก็สามารถเรียกว่า ฟับบิ้งได้เช่นกัน ตามปกติแล้วนั้นหากว่าคนเราได้พบปะกับญาติพี่น้องหรือเพื่อนฝูง แต่แทนที่จะนั่งพูดคุยกัน แต่กลับนั่งกดโทรศัพท์ของตัวเองโดยไม่พูดจากัน และนอกจากนี้นั้น อาการที่เอาแต่นั่งหัวเราะอยู่คนเดียวเวลาอ่านเรื่องราวในโซเชียล หรือการอัพเดทตัวเองลงใน Social Media ตลอดเวลาว่าตัวเองทำอะไรอยู่ที่ไหน โดยที่ไม่ค่อยอยากจะบอกคนรอบข้าง กระทั่งว่า มีคนที่อยู่ใช้ชีวิตกับเรานั่งอยู่ข้างๆ ยังไม่คิดอยากคุย แต่กลับเอาแต่โต้ตอบกับคนใน Social Media อย่างเดียว ก็เข้าข่ายอาการฟับบิ้งเช่นกัน

ร้ายแรงสุดก็คือ คุณกำลังเดทกับแฟนหรือหวานใจของคุณ แต่ก็ยังไม่วายที่จะหยิบเอาโทรศัพท์ออกมาเล่น แบบนั้นก็เป็นอาการฟับบิ้งที่ไม่สมควรจะกระทำในช่วงเวลาส่วนตัวหรือช่วงเวลาสองต่อสองกับแฟนของคุณ การที่คุณอยากจะเลิกนิสัยแบบนี้ได้นั้น สามารถทำได้ และคุณต้องเลิกให้เด็ดขาดหากว่าอยากที่จะทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างคนที่คุณรัก คนในครอบครัว เพื่อนร่วมงาน หรือเพื่อนในกลุ่มของคุณ ยังมีความสัมพันธ์ที่ดีเหมือนเดิมก็สมควรแยกแยะเวลาที่จะใช้โทรศัพท์มือถือให้ออกให้ได้ก่อน

หากปล่อยให้อาการแบบนี้เกินเยียวยา ความสัมพันธ์หลายอย่างจะย่ำแย่ลงไปมากอย่างแน่นอน ลองหากิจกรรมอื่นๆทำบ้างเพื่อที่จะได้ลืมเรื่องราวใน Social Media ลงไปได้บ้างแล้วหันหน้ามาพูดคุยสร้างปฏิสัมพันธ์กับคนรอบข้างแบบเดิมเหมือนที่เราเคยปฏิบัติตัวตามกันมาในหลายๆปี ย่อมที่จะมีประโยชน์กับตัวคุณเองแล้วทำให้ความสัมพันธ์หลายๆอย่างดีมากกว่าเดิมอย่างแน่นอน


13 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
How Social Media Is Taking Away from Your Friendships. Healthline. (https://www.healthline.com/health/how-social-media-is-ruining-relationships)
University of Kansas. (2016). We understand that social media does not equal social interaction. (https://www.sciencedaily.com/releases/2016/08/160811143539.htm)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
การออกกำลังกาย (Fitness)
การออกกำลังกาย (Fitness)

10 ขั้นตอนในการเป็นผู้ฝึกสอนส่วนตัว

อ่านเพิ่ม
ปัญหาความขัดแย้งในครอบครัว
ปัญหาความขัดแย้งในครอบครัว

ไขปัญหายอดฮิตในชีวิตคู่ว่า ทำไมครอบครัวของคุณถึงเกิดความขัดแย้งขึ้น

อ่านเพิ่ม
โศกเศร้าจากการสูญเสียคนใกล้ตัว...ดูแลใจอย่างไรดี?
โศกเศร้าจากการสูญเสียคนใกล้ตัว...ดูแลใจอย่างไรดี?

วิธีรับมือกับความโศกเศร้าจากการสูญเสียคนใกล้ตัว รวมถึงวิธีดูแลคนใกล้ตัวเมื่อเขามีอาการโศกเศร้า

อ่านเพิ่ม