กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

การรักษาโรคอัลไซเมอร์

เผยแพร่ครั้งแรก 8 พ.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 5 นาที
การรักษาโรคอัลไซเมอร์

โรคอัลไซเมอร์เป็นโรคที่พัฒนาช้า ๆ อย่างค่อยเป็นค่อยไป และยังไม่มีการรักษาให้หายขาด การวางแผนการดูแลรักษาจึงเป็นสิ่งสำคัญเพื่อให้ผู้ป่วยมีชีวิตอย่างอิสระ และสะดวกสบายที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้

ในปัจจุบัน ยังไม่มีการรักษาโรคอัลไซเมอร์ที่มีประสิทธิภาพ แม้ว่าจะสามารถใช้ยาเพื่อช่วยลดอาการบางอย่าง หรือชะลอการพัฒนาของโรคในผู้ป่วยบางคนได้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

นอกจากนี้ การสนับสนุนและการช่วยเหลือก็เป็นสิ่งจำเป็นเพื่อช่วยให้ผู้ป่วยโรคดังกล่าวสามารถรับมือกับชีวิตประจำวันตามปกติได้

แผนการดูแลรักษา

หากคุณได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคอัลไซเมอร์ เป็นการดีสำหรับคุณหากคุณได้รับการประเมินความต้องการด้านการดูแลสุขภาพและด้านสังคมสงเคราะห์ และนำปัจจัยต่าง ๆ มาวางแผนสำหรับอนาคต

แผนการดูแลรักษาที่สร้างขึ้น จะช่วยสร้างความมั่นใจว่าคุณจะได้รับการรักษาที่เหมาะสมกับความต้องการของคุณ แผนนี้จะครอบคลุมไปถึงเรื่องที่คุณอาจต้องได้รับความช่วยเหลือ เช่น:

  • สิ่งใดที่ช่วยสนับสนุนคุณ หรือสิ่งใดที่ผู้ดูแลของคุณต้องการเพื่อให้คุณยังใช้ชีวิตแบบไม่ต้องพึ่งพาใครให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้
  • การเปลี่ยนแปลงใด ๆ ในแบบแผน หรือการจัดวางในบ้านของคุณเพื่อให้ง่ายต่อการอยู่อาศัย
  • ความช่วยเหลือทางการเงินใด ๆ ที่คุณอาจต้องการ

โดยปกติแล้ว บุคลากรวิทยาศาสตร์สุขภาพ (เช่น แพทย์ประจำตัวหรือจิตแพทย์ของคุณ) และองค์กรดูแลทางสังคมสงเคราะห์จะมีส่วนร่วมในการช่วยวางแผนและดูแลแผนการดูแลรักษาดังกล่าวด้วย

การรักษาด้วยยา

มียาหลายชนิดที่ถูกสั่งสำหรับการรักษาโรคอัลไซเมอร์เพื่อช่วยให้อาการเหล่านี้ดีขึ้นชั่วคราว และช่วยชะลอการลุกลามของโรคไม่ให้รุนแรงมากขึ้น

ยา Donepezil ยา Galantamine และยา Rivastigmine ซึ่งเป็นกลุ่มยาที่ทำหน้าที่ยับยั้งเอนไซม์ Acetylcholinesterase ในสมอง (Ache inhibitors) อาจถูกนำมาใช้ในผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์ได้ ตั้งแต่เริ่มเป็นโรคในระยะแรกจนถึงระยะปานกลาง หรืออาจจะมีการสั่งยา Memantine สำหรับคนที่เป็นโรคในระยะปานกลางซึ่งไม่สามารถใช้ยากลุ่มก่อนหน้าทั้งสามตัว หรือใช้ในผู้ป่วยโรคระยะสุดท้าย

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ขนมปัง "ไร้แป้ง ไร้น้ำตาล อิ่มนาน ไปรตีนสูง" อยากคุมน้ำหนัก แบบไม่อด ต้องลอง พร้อมโปร 5 ฟรี 1

ซื้อผ่าน HD ประหยัดกว่า / ราคาพิเศษสำหรับ นศ. / ผ่อน 0% / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

ไม่มีความแตกต่างกันของประสิทธิภาพยาในการรักษาโรคอัลไซเมอร์ระหว่างยาสามตัวที่ได้กล่าวไปข้างต้น แม้ว่าอาจมีบางคนตอบสนองตัวยาบางตัวได้ดีกว่า หรือมีผลข้างเคียงกับยาตัวนั้นน้อยกว่าตัวอื่นๆ ก็เป็นได้

ยาเหล่านี้ทั้งหมดสามารถสั่งจ่ายได้โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เช่น จิตแพทย์ แพทย์ประสาทวิทยา และ แพทย์เชี่ยวชาญผู้สูงอายุ

หากคุณกำลังดูแลผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์อยู่ มุมมองและความคิดเห็นของคุณจะมีผลต่อการสั่งยา ซึ่งอาจจะได้มาจากการเฝ้าประเมินผู้ป่วยประจำวันด้วยตัวคุณเอง การประเมินเหล่านี้เป็นข้อมูลที่จำเป็นเพื่อให้แน่ใจว่ายาที่สั่งจ่ายไปมีประสิทธิภาพคุ้มค่า และสามารถตรวจสอบและเฝ้าระวังผลข้างเคียงหากว่ามี

ผลข้างเคียงของยา

ทั้งยา Donepezil Galantamine และ Rivastigmine นั้นสามารถทำให้เกิดผลข้างเคียงต่าง ๆ เช่น:

  • รู้สึกไม่สบาย หรือป่วย
  • วิงเวียนศีรษะ
  • ท้องร่วง
  • ปวดหัว
  • กระสับกระส่าย
  • นอนไม่หลับ
  • ปวดเกร็งกล้ามเนื้อ
  • อาการที่พบได้น้อย คือ หัวใจเต้นช้าลง - ซึ่งอาจทำให้เกิดปัญหาได้หากคุณมีปัญหาเกี่ยวกับจังหวะการเต้นของหัวใจอยู่แล้ว

ผลข้างเคียงเหล่านี้มีแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นในช่วงแรกของการรักษา หรือเมื่อปรับปริมาณยาให้เพิ่มขึ้น แพทย์ของคุณจะตรวจสอบประวัติทางการแพทย์ และประวัติการใช้ยาอื่น ๆ ของคุณเพื่อตรวจสอบถึงความเหมาะสมของปริมาณยา และความเสี่ยงที่จะเกิดปฏิกิริยาต่อยาที่ทานอยู่

ผลข้างเคียงที่พบบ่อยของยา Memantine ได้แก่ :

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ขนมปัง "ไร้แป้ง ไร้น้ำตาล อิ่มนาน ไปรตีนสูง" อยากคุมน้ำหนัก แบบไม่อด ต้องลอง พร้อมโปร 5 ฟรี 1

ซื้อผ่าน HD ประหยัดกว่า / ราคาพิเศษสำหรับ นศ. / ผ่อน 0% / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

  • วิงเวียนศีรษะ
  • ปวดหัว
  • ความดันโลหิตสูงขึ้น
  • เหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้า
  • ท้องผูก
  • หายใจหอบเหนื่อย
  • อาการที่พบได้น้อย ได้แก่ ปัญหาการเดิน หรือสับสนมึนงง
  • อาการที่พบได้น้อยมาก ได้แก่ อาการชัก

สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับผลข้างเคียงที่เป็นไปได้ของยาของคุณ ให้อ่านที่ฉลากยาที่แนบมากับตัวยาที่ใช้ หรือปรึกษาพูดคุยกับแพทย์หรือเภสัชกรของคุณ

การดูแลและการรักษาประคับประคอง

นอกเหนือจากการใช้ยาแล้ว การรักษาโรคอัลไซเมอร์ยังมีมาตรการการดูแลอื่น ๆ อีกมากมายและการรักษาอื่น ๆ ที่สามารถทำได้เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยภาวะสมองเสื่อมที่มีชีวิตอยู่อย่างอิสระ ไม่ต้องพึ่งพาคนอื่นมากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้

ตัวอย่างเช่น นักกิจกรรมบำบัดสามารถระบุปัญหาหรือพื้นที่ที่ไม่ปลอดภัยในชีวิตประจำวันของผู้ป่วยอัลไซเมอร์ และช่วยแนะนำแนวทางแก้ไข หรือใช้เครื่องมือต่าง ๆ ในการจัดการปัญหาเหล่านี้ พวกเขาอาจให้คำแนะนำต่าง ๆ ดังนี้:

  • วิธีการกระตุ้นความจำ และเตือนถึงงานที่สำคัญ เช่น การใช้ไดอารี่หรือตารางปฏิทิน
  • การใช้เทคโนโลยีเพื่อช่วยเหลือ - อุปกรณ์หรือระบบที่ถูกพัฒนามาเพื่อช่วยรักษาความเป็นอิสระ และความปลอดภัยของผู้ที่มีภาวะสมองเสื่อม
  • เพิ่มราวจับรอบบริเวณบ้านของคุณ เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยสามารถเคลื่อนที่ไปตามจุดต่าง ๆ ได้อย่างปลอดภัย
  • อาจมีการเยี่ยมผู้ป่วยที่บ้านโดยบุคลากรเฉพาะทาง และช่วยดูแลแนวทางการใช้ชีวิตประจำวันเพื่อรักษาความเป็นอิสระของคุณในภาคชุมชน
  • การบำบัดทางจิตวิทยา เช่น การบำบัดด้วยการกระตุ้นการรู้คิด (cognitive stimulation therapy) อาจถูกนำมาใช้เพื่อช่วยสนับสนุนเรื่องความจำ ทักษะการแก้ปัญหา และความสามารถทางภาษาของคุณ

การบำบัดด้วยยา การบำบัดทางจิตวิทยาอื่น ๆ เช่น การบําบัดทางความคิดและพฤติกรรม (Cognitive Behavioral Therapy: CBT) การบำบัดด้วยดนตรีและศิลปะ (Music-Art Therapy) การบำบัดด้วยความทรงจำ (reminiscence therapy) และการบำบัดผ่อนคลายเหล่านี้อาจถูกนำมาใช้ เพื่อช่วยในการจัดการกับภาวะซึมเศร้า ความวิตกกังวล ความตื่นตระหนก การเกิดภาพหลอน ความหลงผิด และพฤติกรรมก้าวร้าวที่อาจเกิดขึ้นในผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์

เคล็ดลับการปฏิบัติสำหรับผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์

หากคุณเป็นโรคอัลไซเมอร์ คุณอาจจะได้ประโยชน์จากข้อแนะนำดังต่อไปนี้:

  • เก็บบันทึกประจำวันติดตัวอยู่เสมอ และเขียนสิ่งที่คุณต้องการจดจำลงไป
  • ติดตารางงานประจำสัปดาห์ไว้บนผนังให้เห็นชัด
  • เก็บพวงกุญแจของคุณในบริเวณที่มองเห็นชัด เช่น ในถ้วยใบใหญ่กลางโต๊ะในห้องนั่งเล่น
  • ส่งหนังสือพิมพ์มาที่บ้านทุกวัน เพื่อคอยแจ้งคุณเกี่ยวกับวันเวลาปัจจุบัน
  • บันทึกเบอร์ที่สำคัญในโทรศัพท์
  • ติดป้ายชื่อตามลิ้นชัก และตู้ว่ามีอะไรด้านในบ้าง
  • เขียนเตือนความจำให้กับตนเอง เช่น ติดโน้ตที่หน้าประตูบ้านว่าอย่าลืมกุญแจก่อนออกจากบ้าน
  • จด หรือบันทึกชื่อและเบอร์โทรศัพท์ของคนอื่น ๆ ไว้ในโทรศัพท์
  • ติดตั้งอุปกรณ์เพื่อความปลอดภัยต่าง ๆ เช่น ตัวตรวจจับควัน หรือตัวตรวจจับแก๊สรั่วรอบ ๆ บ้าน เพื่อป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้น

นอกจากนี้ ยังเป็นการดีหากคุณไปเข้าร่วมกลุ่มผู้ป่วยอัลไซเมอร์ด้วยกันตามโรงพยาบาล หรือศูนย์บำบัดใกล้บ้าน เพื่อหาข้อมูลและแลกเปลี่ยนคำแนะนำต่าง ๆ ในชีวิตประจำวันทั้งในกรณีที่คุณเป็นผู้ป่วย หรือผู้ดูแลก็ตาม

การวางแผนการดูแลขั้นสูง

ผู้ป่วยภาวะสมองเสื่อมมักจะมีชีวิตอยู่ได้เป็นเวลาหลายปีหลังจากได้รับการวินิจฉัย อย่างไรก็ตาม โรคดังกล่าวมีการพัฒนาแบบค่อยเป็นค่อยไป จึงอาจเป็นประโยชน์และสร้างความมั่นใจให้กับทั้งคุณและครอบครัว หากคุณวางแผนต่าง ๆ ที่จะทำในอนาคตไว้ก่อนล่วงหน้า

การวางแผนการดูแลขั้นสูง นั้นหมายถึง การพิจารณา การพูดคุยอภิปราย และการบันทึกความปรารถนาและการตัดสินใจต่าง ๆ ของคุณสำหรับการดูแลผู้ป่วยหรือตัวคุณเองในอนาคต นอกจากนี้ ยังรวมไปถึงการวางแผนสำหรับช่วงเวลาที่คุณอาจไม่สามารถทำการตัดสินใจบางอย่างด้วยตัวเองได้

ในระยะแรก ๆ ของโรคซึ่งยังมีอาการไม่รุนแรงนัก คุณควรมีโอกาสได้พูดคุยกับบุคลากรทางการแพทย์ และครอบครัวของคุณเกี่ยวกับเรื่องอนาคต ซึ่งอาจครอบคลุมไปถึงเรื่องดังนี้:

  • งบการเงินที่จะใช้ในอนาคต
  • การตัดสินใจหากจะปฏิเสธการรักษาในอนาคต
  • การมอบอำนาจต่าง ๆ ทางกฎหมาย
  • ลำดับความสำคัญที่ต้องการสำหรับการดูแลรักษาที่จะเกิดขึ้น

การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายแบบประคับประคอง

แม้ว่าแนวโน้มของโรคจะแปรผันกันไปในแต่ละบุคคล ภาวะสมองเสื่อมเป็นความเจ็บป่วยที่เป็นอันตรายถึงชีวิต และอาจส่งผลต่อระบบต่าง ๆ ของร่างกายมากมายในระยะหลัง ๆ ของโรค

การดูแลช่วงสุดท้ายของชีวิต หรือการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายแบบประคับประคอง หมายถึง การสนับสนุนหรือการดูแลต่าง ๆ ให้กับผู้ที่มีความเจ็บป่วยที่ไม่สามารถรักษาให้หายได้ เพื่อให้พวกเขาสามารถมีชีวิตอยู่ได้อย่างสะดวกสบายเท่าที่จะเป็นไปได้จนกว่าจะถึงแก่ชีวิต นอกจากนี้ การดูแลประคับประคองยังรวมไปถึงการให้การสนับสนุนแก่สมาชิกในครอบครัว การดูแลแบบประคับประคองนี้อาจเกิดขึ้นได้ที่ที่บ้าน สถานพยาบาลผู้ป่วยระยะสุดท้าย บ้านพักคนชรา หรือโรงพยาบาล

สำหรับผู้ป่วยที่ใกล้ถึงจุดจบของชีวิต ทีมผู้ดูแลควรประเมินความต้องการทางกายต่าง ๆ ของพวกเขาเพื่อทำให้ผู้ป่วยรู้สึกสะดวกสบายมากที่สุด และลาจากโลกนี้ไปอย่างสมศักดิ์ศรีในสถานที่ที่ผู้ป่วยต้องการ

https://www.nhsinform.scot/illnesses-and-conditions/brain-nerves-and-spinal-cord/alzheimers-disease#treatment


30 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Alzheimer's disease - Treatment. NHS (National Health Service). (https://www.nhs.uk/conditions/alzheimers-disease/treatment/)
How Alzheimer's Disease Is Treated. Verywell Health. (https://www.verywellhealth.com/alzheimers-treatment-4014202)
List of Alzheimer's Disease Medications (29 Compared). Drugs.com. (https://www.drugs.com/condition/alzheimer-s-disease.html)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป