ภาวะสมองขาดเลือดชั่วคราว หรือ TIA คือภาวะที่มีการขาดเลือดไปเลี้ยงสมองชั่วคราว ผู้ป่วยจะมีอาการคล้ายกับเป็นโรคหลอดเลือดสมอง เช่น พูดไม่ชัด การมองเห็นผิดปกติ และชา หรือ อ่อนแรง ที่ใบหน้า แขน ขา ซึ่งภาวะนี้ถือเป็นสัญญาณเตือนของการเป็นโรคหลอดเลือดสมองถาวรในอนาคตอันใกล้ ดังนั้นหากมีอาการดังกล่าว ให้รีบโทรเรียกรถพยาบาลทันที
บทนำ
ภาวะสมองขาดเลือดชั่วคราว (transient ischaemic attack) หรือย่อว่า TIA มีสาเหตุมาจากการขาดเลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของสมองชั่วคราว
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
การขาดเลือดไปเลี้ยงสมองเป็นผลให้สมองขาดออกซิเจน ทำให้มีอาการคล้ายกับเป็นโรคหลอดเลือดสมอง (stroke) เช่น พูดไม่ชัด การมองเห็นผิดปกติ และชา หรือ อ่อนแรง ที่ใบหน้า แขน ขา
อย่างไรก็ตามอาการสมองขาดเลือดชั่วคราวจะเป็นอยู่ไม่นานเท่ากับโรคหลอดเลือดสมอง โดยมักจะมีอาการเพียงไม่กี่นาทีหรือไม่กี่ชั่วโมงเท่านั้นและจะหายเป็นปกติภายใน 24 ชั่วโมง
อาการและอาการแสดงของภาวะสมองขาดเลือดชั่วคราว
อาการหลักของภาวะสมองขาดเลือดชั่วคราว ได้แก่:
- อาการที่ใบหน้า-อ่อนแรงที่ใบหน้าครึ่งซีก ผู้ป่วยอาจไม่สามารถยิ้มได้ หรือปากเบี้ยว มุมปากตก
- อาการที่แขน-ผู้ที่สงสัยว่าเป็นโรคหลอดเลือดสมองอาจไม่สามารถยกแขนขึ้นได้ เพราะมีอาการอ่อนแรงหรือชาที่แขนข้างใดข้างหนึ่ง
- มีปัญหาเกี่ยวกับการพูด-พูดไม่ชัด พูดติด พูดไม่ได้ หรือผู้ป่วยอาจไม่สามารถพูดคุยสื่อสารได้แม้ว่าจะตื่นอยู่ก็ตาม
หากคุณหรือคนใกล้ตัวมีอาการดังกล่าว ให้รีบโทรเรียกรถพยาบาลทันทีที่เบอร์ 1669
การขอรับคำแนะนำจากแพทย์
ในระยะแรกของการมีอาการสมองขาดเลือดชั่วคราวจะยังไม่สามารถบอกได้ว่าคุณกำลังเป็นภาวะสมองขาดเลือดชั่วคราวหรือกำลังเป็นโรคหลอดเลือดสมองถาวรกันแน่ ดังนั้นสำคัญที่สุดคือให้โทรเรียกรถพยาบาลที่ 1669 ทันทีที่มีอาการ
และแม้ว่าอาการจะดีขึ้นและหายไประหว่างที่รอรถพยาบาลมารับ แต่คุณก็ควรเข้ารับการตรวจประเมินที่โรงพยาบาล เพราะรับการวินิจฉัยและรักษาอย่างเหมาะสม
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
ภาวะสมองขาดเลือดชั่วคราวคือสัญญาณเตือนที่บอกว่าคุณมีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหลอดเลือดสมองถาวรในอนาคตอันใกล้นี้ ดังนั้นการเข้ารับการตรวจประเมิน จะทำให้แพทย์เลือกวิธีที่ดีที่สุดให้กับคุณในการป้องกันไม่ให้เป็นโรคหลอดเลือดสมองในอนาคต
หากคุณคิดว่าตัวคุณเองเพิ่งผ่านการมีอาการของโรคหลอดเลือดสมองมา แต่อาการของคุณหายแล้ว และคุณยังไม่ได้เข้าพบแพทย์ ขอแนะนำให้คุณเข้าพบแพทย์โดยด่วนเพื่อรับการตรวจประเมินที่เหมาะสม ซึ่งแพทย์อาจพิจารณาส่งคุณไปพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านประสาทวิทยาเพื่อรับการตรวจประเมินต่อไป
สาเหตุของภาวะสมองขาดเลือดชั่วคราว
ระหว่างมีอาการของสมองขาดเลือดชั่วคราว เส้นเลือดในสมองที่นำเลือดที่มีออกซิเจนสูงไปเลี้ยงสมองเกิดการอุดตันขึ้น
การอุดตันที่เกิดขึ้นมักเกิดจากลิ่มเลือดที่เกิดขึ้นในร่างกายที่บริเวณอื่นๆ และลิ่มเลือดเหล่านั้นได้เดินทางมาอุดตันที่หลอดเลือดที่นำเลือดไปเลี้ยงสมอง นอกจากนี้การอุดตันอาจเกิดจากไขมันหรือฟองอากาศได้ด้วย
ปัจจัยต่างๆ ต่อไปนี้จะเพิ่มความเสี่ยงของการมีภาวะสมองขาดเลือดชั่วคราว ได้แก่:
- การสูบบุหรี่
- ความดันโลหิตสูง
- อ้วน
- คอเลสเตอรอลในเลือดสูง
- ดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไป
- ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะชนิดหัวใจห้องบนสั่นพริ้ว (atrial fibrillation)
- เป็นเบาหวาน
คนที่อายุเกิน 60 ปี และคนเชื้อสายเอเชีย แอฟริกัน หรือแคริบเบียน เป็นกลุ่มคนที่มีความเสี่ยงต่อการเป็นภาวะสมองขาดเลือดชั่วคราว
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
จะรักษาภาวะสมองขาดเลือดชั่วคราวได้อย่างไร
แม้ว่าอาการของภาวะสมองขาดเลือดชั่วคราวจะดีขึ้นภายในเวลาไม่กี่นาที หรือไม่กี่ชั่วโมง แต่คุณยังจำเป็นต้องได้รับการรักษาเพื่อป้องกันไม่ให้มีอาการของภาวะสมองขาดเลือดชั่วคราว หรือเป็นโรคหลอดเลือดสมองถาวรในอนาคต
การรักษาจะขึ้นกับแต่ละบุคคลคน เช่น ขึ้นกับอายุ และประวัติทางการแพทย์ของคุณ
คุณจะได้รับคำแนะนำให้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตเพื่อลดความเสี่ยงของการเป็นโรคหลอดเลือดสมองในอนาคต นอกจากนี้คุณยังอาจได้รับยาเพื่อรักษาอาการเจ็บป่วยของคุณที่เป็นสาเหตุของภาวะสมองขาดเลือดชั่วคราวด้วย
ในผู้ป่วยบางราย อาจต้องมีการผ่าตัดเพื่อแก้ปัญหาการอุดตันในหลอดเลือดใหญ่ที่คอ (carotid arteries) ซึ่งเป็นหลอดเลือดใหญ่ที่นำเลือดไปเลี้ยงสมอง
การป้องกันภาวะสมองขาดเลือดชั่วคราว
ภาวะสมองขาดเลือดชั่วคราวคือหนึ่งในสัญญาณเตือนที่จะบอกว่าคุณมีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหลอดเลือดสมองถาวรในอนาคตอันใกล้ ซึ่งเป็นภาวะอันตรายร้ายแรงต่อชีวิต
ไม่ว่าคุณจะเคยเป็นภาวะสมองขาดเลือดชั่วคราวหรือเคยเป็นโรคหลอดเลือดสมองมาก่อนหรือไม่ แต่คุณสามารถลดความเสี่ยงต่อการเป็นภาวะดังกล่าวในอนาคตได้ด้วยวิธีต่อไปนี้:
- ควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานสำหรับคนสุขภาพดี
- รับประทานอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพ
- ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
- จำกัดการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
- ไม่สูบบุหรี่