สาเหตุของภาวะสมองขาดเลือดชั่วคราว

เผยแพร่ครั้งแรก 26 มิ.ย. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
สาเหตุของภาวะสมองขาดเลือดชั่วคราว

ภาวะสมองขาดเลือดชั่วคราวเกิดขึ้นจากเส้นเลือดที่นำเลือดที่มีออกซิเจนสูงไปเลี้ยงสมองเกิดการอุดตันขึ้น

ภาวะสมองขาดเลือดชั่วคราวเกิดขึ้นจากเส้นเลือดที่นำเลือดที่มีออกซิเจนสูงไปเลี้ยงสมองเกิดการอุดตันขึ้น การอุดตันของเส้นเลือดที่นำเลือดไปเลี้ยงสมองทำให้สมองขาดเลือดและไม่สามารถทำงานได้ตามปกติอย่างที่ควรจะเป็น ทำให้มีอาการพูดไม่ชัด และกล้ามเนื้ออ่อนแรง

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ภาวะสมองขาดเลือดชั่วคราว การอุดตันที่เกิดขึ้นจะหายไปอย่างรวดเร็ว และเลือดจะกลับมาไหลเวียนเป็นปกติได้ดังเดิมก่อนที่จะมีความเสียหายเกิดขึ้นที่สมอง แต่ในโรคหลอดเลือดสมองการอุดตันของหลอดเลือดจะเป็นนานขึ้น ทำให้มีความเสียหายรุนแรงต่อสมองและทำให้เกิดปัญหาในระยะยาวตามมา

การอุดตันของเส้นเลือดที่ทำให้มีภาวะสมองขาดเลือดชั่วคราวมักเกิดจากลิ่มเลือดที่เกิดขึ้นที่ร่างกายส่วนอื่นๆ และเดินทางมาอุดตันที่เส้นเลือดที่นำเลือดไปเลี้ยงสมอง อย่างไรก็ตามการอุดตันอาจเกิดขึ้นจากไขมันหรือฟองอากาศก็ได้

ในกรณีที่พบได้น้อยมากๆ ภาวะสมองขาดเลือดอาจเกิดจากการมีเลือดออกในสมองปริมาณเล็กน้อย

ลิ่มเลือด

ลิ่มเลือดที่เป็นสาเหตุของภาวะสมองขาดเลือดชั่วคราวมักเกิดขึ้นที่บริเวณเส้นเลือดแดงที่ตีบแคบหรือมีการอุดตันจากการสะสมของไขมันที่เรียกว่า พลัก (plaques) พลักที่เกิดขึ้นนี้ถือเป็นส่วนหนึ่งของการเกิดโรคหลอดเลือดแดงแข็ง (atherosclerosis)

เมื่อคุณมีอายุมากขึ้น เส้นเลือดแดงจะมีแนวโน้มที่จะตีบแคบตามธรรมชาติอยู่แล้ว แต่จะมีปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้กระบวนการนี้เกิดได้เร็วขึ้น ได้แก่

ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะชนิดหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว (atrial fibrillation) ยังเป็นสาเหตุของภาวะสมองขาดเลือดชั่วคราวด้วย ซึ่งจะมีลิ่มเลือดเกิดขึ้นภายในหัวใจ และลิ่มเลือดเหล่านั้นอาจหลุดลอยออกมาจากหัวใจไปตามเส้นเลือดและไปอุดตันเส้นเลือดที่นำเลือดไปเลี้ยงสมองได้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ใครบ้างที่มีความเสี่ยงต่อภาวะสมองขาดเลือดชั่วคราว

มีปัจจัยเสี่ยงหลายปัจจัยที่ทำให้คุณมีโอกาสเป็นภาวะสมองขาดเลือดชั่วคราวได้ และปัจจัยบางอย่างสามารถเปลี่ยนแปลงได้ เช่น พฤติกรรมการใช้ชีวิต

ปัจจัยเสี่ยงหลักของภาวะสมองขาดเลือดชั่วคราวบางประการ ได้แก่:

  • อายุ-แม้ว่าภาวะสมองขาดเลือดชั่วคราวเกิดได้ทุกช่วงอายุ (รวมถึงวัยเด็กและวัยหนุ่มสาว) แต่โดยทั่วไปมักเกิดขึ้นในช่วงอายุมากกว่า 60 ปีขึ้นไป
  • เชื้อชาติ-คนเชื้อสายเอเชียใต้ แอฟริกา หรือแคริบเบียน มีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะสมองขาดเลือดชั่วคราวมากกว่าเชื้อชาติอื่น ส่วนหนึ่งเป็นเพราะว่าผู้คนกลุ่มนี้มีอัตราการเกิดภาวะความดันโลหิตสูงมากกว่าคนกลุ่มอื่น
  • ประวัติทางการแพทย์-โรคบางโรคจะเพิ่มความเสี่ยงของการเป็นภาวะสมองขาดเลือดชั่วคราว เช่น เบาหวาน
  • น้ำหนักและอาหารที่รับประทาน-ความเสี่ยงของการมีภาวะสมองขาดเลือดชั่วคราวจะมากขึ้นเมื่อคุณมีน้ำหนักตัวมาก และ/หรือ รับประทานอาหารที่ไม่เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพ มีเกลือและไขมันสูง
  • การสูบบุหรี่และดื่มแอลกอฮอล์-การสูบบุหรี่และการดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไปเป็นประจำ จะเพิ่มความเสี่ยงของภาวะสมองขาดเลือดชั่วคราว

การจัดการกับบางอย่างที่สามารถเปลี่ยนแปลงได้จะลดความเสี่ยงของการมีภาวะสมองขาดเลือดชั่วคราว หรือลดความเสี่ยงของการเป็นโรคหลอดเลือดสมองถาวรในอนาคต

https://www.nhsinform.scot/illnesses-and-conditions/brain-nerves-and-spinal-cord/transient-ischaemic-attack-tia#causes


18 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Transient ischaemic attack (TIA) - Causes. NHS (National Health Service). (https://www.nhs.uk/conditions/transient-ischaemic-attack-tia/causes/)
Transient ischemic attack (TIA): Symptoms, causes, and treatment. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/164038)
Transient Ischemic Attack (TIA): Mini Stroke Symptoms & Causes. MedicineNet. (https://www.medicinenet.com/transient_ischemic_attack_tia_mini-stroke/article.htm)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป