การวินิจฉัยภาวะสมองขาดเลือดชั่วคราวต้องอาศัยการตรวจหลายๆ อย่างร่วมกัน เช่น การตรวจร่างกายโดยแพทย์ การตรวจเลือด การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ การวัดความดันโลหิต การตรวจอัลตราซาวด์หลอดเลือดใหญ่ที่คอ รวมถึงอาจมีการตรวจสแกนสมองร่วมด้วย
ถือเป็นเรื่องสำคัญที่คุณต้องเข้าพบแพทย์เพื่อรับการตรวจประเมินให้เร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้หลังจากมีอาการที่ทำให้สงสัยว่าเป็นภาวะสมองขาดเลือดชั่วคราว
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
หลังจากได้รับการตรวจประเมินอาการในเบื้องต้นแล้ว คุณอาจได้รับการส่งต่อไปพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคหลอดเลือดสมองเพื่อรับการตรวจเพิ่มเติมเพื่อหาสาเหตุของภาวะสมองขาดเลือดชั่วคราว
ภาวะสมองขาดเลือดชั่วคราวถือเป็นสัญญาณเตือนของความเสี่ยงในการเป็นโรคหลอดเลือดสมองถาวรในอนาคตอันใกล้ โดยการตรวจประเมินจะทำให้แพทย์ทราบและตัดสินใจเลือกวิธีที่ดีที่สุดในการลดความเสี่ยงของการเป็นโรคหลอดเลือดสมองให้กับคุณ
การประเมินเบื้องต้น
ภาวะสมองขาดเลือดชั่วคราวจะมีอาการเพียงช่วงเวลาสั้นๆ และหายไปอย่างรวดเร็ว ดังนั้นเมื่อคุณไปพบแพทย์ คุณอาจไม่มีอาการใดๆ เลยก็ได้
แพทย์จะสอบถามถึงอาการที่คุณเป็นระหว่างมีภาวะสมองขาดเลือดชั่วคราวรวมถึงระยะเวลาที่มีอาการว่านานเพียงใด ซึ่งข้อมูลเหล่านี้จะช่วยในการวินิจฉัยแยกโรคอื่นๆ ที่อาจเป็นสาเหตุของอาการของคุณได้
แม้ว่าอาการของคุณจะหายไปแล้ว แต่การตรวจประเมินทางประสาทวิทยายังจำเป็นต้องทำอยู่ ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับการประเมินความแข็งแรงกล้ามเนื้อ การรับความรู้สึก และการทำงานประสานงานกันของร่างกาย
การส่งต่อไปพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านประสาทวิทยา
ถ้าคุณได้รับการสงสัยว่าเป็นภาวะสมองขาดเลือดชั่วคราว คุณจะได้รับการส่งต่อไปพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านประสาทวิทยาเพื่อรับการตรวจเพิ่มเติม ถ้าคุณเป็นผู้ที่มีความเสี่ยงสูงต่อการเป็นโรคหลอดเลือดสมองหรือภาวะสมองขาดเลือดชั่วคราวซ้ำในอนาคต คุณควรพบแพทย์โดยเร็วภายใน 24 ชั่วโมง แต่ในผู้ที่มีความเสี่ยงต่ำกว่าควรพบแพทย์ภายใน 7 วัน
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
คุณจะได้รับคำแนะนำให้รับประทานยาแอสไพริน (aspirin) ระหว่างรอการตรวจประเมินอย่างละเอียด เพราะยานี้จะช่วยลดความเสี่ยงของการเป็นโรคหลอดเลือดสมองหรือภาวะสมองขาดเลือดชั่วคราวซ้ำได้
และแน่นอนว่าคุณจะได้รับการส่งต่อไปพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านประสาทวิทยา (แพทย์ที่เชี่ยวชาญเกี่ยวกับโรคในสมองและไขสันหลัง) หรือแพทย์ที่เชี่ยวชาญด้านโรคหลอดเลือดสมองโดยเฉพาะ ซึ่งแพทย์เหล่านี้อาจอยู่ในคลินิกเฉพาะทางด้านโรคหลอดเลือดสมองหรือภาวะสมองขาดเลือด
การทดสอบที่ต้องทำเพื่อการวินิจฉัยภาวะสมองขาดเลือดชั่วคราว
มีการทดสอบหลายการทดสอบที่อาจทำเพื่อยืนยันการวินิจฉัยภาวะสมองขาดเลือดชั่วคราว และเพื่อหาโรคที่คุณเป็นอยู่และเป็นสาเหตุของภาวะสมองขาดเลือดชั่วคราว บางส่วนของการทดสอบมีรายละเอียดดังนี้
การวัดความดันโลหิต
คุณจะได้รับการตรวจวัดความดันโลหิต เพราะความดันโลหิตสูงสามารถเป็นสาเหตุของภาวะสมองขาดเลือดชั่วคราวได้
การตรวจเลือด
คุณอาจจำเป็นต้องได้รับการตรวจเลือดเพื่อดูว่าคุณมีระดับคอเลสเตอรอลในเลือดสูง หรือเป็นโรคเบาหวานหรือไม่
การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (Electrocardiogram (ECG))
การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจคือการวัดคลื่นไฟฟ้าของหัวใจโดยการใช้ตัวจับสัญญาณไฟฟ้ามาติดที่ผิวหนังของคุณ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจจะช่วยให้ตรวจเจอภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ ซึ่งอาจเป็นสัญญาณของภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะชนิดหัวใจห้องบนสั่นพริ้ว (atrial fibrillation) ซึ่งจะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นภาวะสมองขาดเลือดชั่วคราว
การตรวจหลอดเลือดใหญ่ที่คอ (Carotid ultrasound)
การตรวจอัลตราซาวด์หลอดเลือดใหญ่ที่คอจะช่วยให้ทราบว่ามีการอุดตันหรือหลอดเลือดที่คอตีบแคบหรือไม่ ซึ่งเป็นหลอดเลือดใหญ่ที่นำเลือดไปเลี้ยงสมอง
การตรวจอัลตราซาวด์ แพทย์จะใช้อุปกรณ์หัวตรวจขนาดเล็กที่เรียกว่า probe ปล่อยคลื่นเสียงความถี่สูงเข้าสู่ร่างกาย เมื่อคลื่นเสียงสะท้อนกลับมา จะทำให้เกิดภาพของสิ่งที่อยู่ภายในร่างกายผู้ถูกตรวจ

การสแกนสมอง
การสแกนสมองอาจไม่จำเป็นต้องทำทุกครั้งหากคุณมีภาวะสมองขาดเลือดชั่วคราว แต่จะทำเมื่อไม่แน่ใจว่าบริเวณใดของสมองที่มีภาวะขาดเลือดชั่วคราว
การตรวจเอกซเรย์ด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (magnetic resonance imaging (MRI) scan) คือการตรวจสแกนสมองที่นิยมทำในกรณีนี้ การตรวจนี้จะใช้สนามแม่เหล็กเข้มข้นร่วมกับคลื่นวิทยุเพื่อสร้างเป็นภาพสมองของคุณ
ในบางครั้งอาจใช้ซีที สแกน/การสแกนด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (computerised tomography (CT) scan) ในผู้ป่วยที่ไม่สามารถทำการตรวจเอกซเรย์ด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าได้ การตรวจนี้จะใช้รังสีเอกซ์เพื่อสร้างเป็นภาพของสิ่งที่อยู่ภายในสมองคุณ