กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

รวมราคาวัคซีน HPV 2020

รวมราคาวัคซีน HPV จากโรงพยาบาลชั้นนำในราคาแพ็กเกจจาก HD
เผยแพร่ครั้งแรก 8 เม.ย. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 4 นาที
รวมราคาวัคซีน HPV 2020

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • ไวรัส HPV มีชื่อเต็มว่า ไวรัสฮิวแมนแพพพิลโลมา (Human Papilloma Virus) มีสายพันธุ์จำนวนมาก แต่มีไม่กี่สายพันธุ์ที่มีความเสี่ยงสูงในการก่อให้เกิดมะเร็งปากมดลูก เช่น สายพันธุ์ 16 และ 18
  • เชื้อเอชพีวีบางสายพันธุ์อาจไปแฝงอยู่ในเนื้อเยื่อของร่างกายโดยจะไม่แสดงอาการใดๆ จนกระทั่งทำให้เซลล์เกิดความผิดปกติระยะก่อนเป็นมะเร็ง และหากยังไม่ได้รับการรักษา เซลล์ก็จะกลายพันธุ์เป็นมะเร็งปากมดลูกในที่สุดซึ่งอาจใช้เวลา 10-15 ปี กว่าจะเริ่มมีอาการ
  • วัคซีนป้องกันการติดเชื้อ HPV ปัจจุบัน ได้แก่ วัคซีน 2 สายพันธุ์ (Cervarix) และวัคซีน 4 สายพันธุ์ (Gardasil) ในอนาคตน่าจะมีวัคซีน 9 สายพันธุ์มาทดแทนวัคซีน 4 สายพันธุ์) วัคซีนทุกชนิดแนะนำให้ฉีดได้ทั้งผู้หญิงและชาย อายุตั้งแต่ 9 ปีขึ้นไป 
  • นอกจากผู้หญิงที่ควรฉีดวัคซีน HPV แล้ว ผู้ชายก็สามารถฉีดวัคซีนนี้ได้เช่นกัน ถึงแม้ผู้ชายจะไม่มีมดลูก แต่หากรับเชื้อ HPV ก็อาจทำให้เกิดหูดหงอนไก่ มะเร็งองคชาต และมะเร็งทวารหนักได้เช่นกัน ดังนั้นจึงควรฉีดวัซีนป้องกันตั้งแต่ช่วงอายุ 9-26 ปี
  • เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจฉีดวัคซีนมะเร็งปากมดลูก (HPV)

มะเร็งปากมดลูกเป็นหนึ่งในโรคร้ายแรงที่ส่งผลกระทบต่อชีวิตผู้หญิงทั่วโลกรวมทั้งผู้หญิงไทย มีรายงานว่า ผู้หญิงป่วยด้วยโรคมะเร็งปากมดลูกปีละไม่ต่ำกว่า 9,000 คน 

มะเร็งปากมดลูกเป็นโรคที่กว่าจะแสดงอาการชัดเจนก็ใช้เวลากว่า 10 ปีขึ้นไปแล้ว ดังนั้นจึงมักตรวจพบโรคในระยะท้ายๆ ซึ่งในตอนนั้นโรคก็เข้าสู่ระยะลุกลามและรุนแรงแล้ว ทำให้กระบวนการรักษาไม่ได้ประสิทธิภาพเท่าที่ควรและนำไปสู่การเสียชีวิตนั่นเอง

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ฉีดวัคซีน HPV วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 2548 บาท ลดสูงสุด 63%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

โรคมะเร็งปากมดลูกจึงเป็นหนึ่งในปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของทั่วโลก ด้วยเหตุนี้จึงมีการรณรงค์เกี่ยวกับการป้องกันการเกิดโรคนี้ ทั้งการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกและการฉีดวัคซีนป้องกันการติดเชื้อเอชพีวี  

ไวรัส HPV คืออะไร?

ไวรัส HPV มีชื่อเต็มว่า ไวรัสฮิวแมนแพพพิลโลมา (Human Papilloma Virus) มีสายพันธุ์จำนวนมาก แต่มีไม่กี่สายพันธุ์ที่มีความเสี่ยงสูงในการก่อให้เกิดมะเร็งปากมดลูก เช่น สายพันธุ์ 16 และ 18

ไวรัสชนิดนี้พบได้บ่อยในทุกเพศ ติดต่อกันได้ผ่านการมีเพศสัมพันธ์ การสัมผัสบาดแผลตามเยื่อบุผิวที่ปากมดลูก ปากช่องคลอด ปากทวารหนัก หรือปลายองคชาต 

ร่างกายของมนุษย์โดยปกติจะมีภูมิต้านทานไวรัสชนิดนี้อยู่แล้ว ส่วนมากเมื่อรับเชื้อ HPV เข้าไป ผู้ที่มีร่างกายแข็งแรง มีภูมิคุ้มกันดี จะสามารถกำจัดออกได้เอง แต่หากรับไวรัสเข้าไปบ่อยครั้ง หรือร่างกายมีความผิดปกติเกี่ยวกับระบบภูมิคุ้มกัน ก็อาจทำให้เชี้อไวรัสหลงเหลืออยู่ได้

เชื้อเอชพีวีบางสายพันธุ์อาจไปแฝงอยู่ในเนื้อเยื่อของร่างกายโดยจะไม่แสดงอาการใดๆ จนกระทั่งทำให้เซลล์เกิดความผิดปกติระยะก่อนเป็นมะเร็ง และหากยังไม่ได้รับการรักษา เซลล์ก็จะกลายพันธุ์เป็นมะเร็งปากมดลูกในที่สุดซึ่งอาจใช้เวลา 10-15 ปี กว่าจะเริ่มมีอาการ 

อาการที่พบบ่อย เช่น มีเลือดปนออกมาจากช่องคลอดบ่อยครั้งจึงทำให้ผู้ติดเชื้อส่วนใหญ่ไม่ทราบว่า ตนเองติดเชื้ออยู่

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ฉีดวัคซีน HPV วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 2548 บาท ลดสูงสุด 63%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

วัคซีน HPV คืออะไร?

ปัจจุบันมีทั้งหมด 2 ชนิด ได้แก่

  • วัคซีน 2 สายพันธุ์ (Cervarix) สามารถป้องกันเชื้อไวรัสเอชพีวีสายพันธุ์ 16 และ 18 ที่ทำให้เกิดมะเร็งปากมดลูก สามารถฉีดได้ตั้งแต่อายุ 9 ปีขึ้นไป
  • วัคซีน 4 สายพันธุ์ (Gardasil) สามารถป้องกันทั้งเชื้อไวรัสเอชพีวีสายพันธุ์ 16, 18 และสายพันธุ์ 6, 11 ที่เป็นสาเหตุของโรคหูดหงอนไก่ และมะเร็งทวารหนักได้ เดิมฉีดได้ในช่วงอายุ 9-26 ปี แต่ปัจจุบันมีการศึกษารับรองว่า สามารถฉีดได้จนถึงอายุ 45 ปีแล้ว ส่วนผู้ชายสามารถฉีดได้ในช่วงอายุ 9-26 ปี

คาดการณ์กันว่า อีกไม่นานจะมีวัคซีนชนิด 9 สายพันธุ์ ออกมาทดแทนวัคซีน 4 สายพันธุ์ ซึ่งมีคุณสมบัติสามารถป้องกันทั้งเชื้อไวรัสเอชพีวีสายพันธุ์ 16,18, 31, 33, 45, 52, 58 ได้ และวัซีนชนิด 9 สายพันธุ์นี้ยังสามารถป้องกันหูดหงอนไก่ที่เกิดจากเชื้อเอชพีวีสายพันธุ์ 6,11 ได้ด้วย 

วัคซีน HPV เหมาะกับใครบ้าง?

แม้จะพบการติดต่อเชื้อ HPV มากที่สุดในช่วงวัยรุ่นถึงวัยกลางคน ซึ่งหากพบในระยะลุกลามจะทำการรักษาได้ยากขึ้น ฉะนั้นจึงควรฉีดวัคซีนเพื่อป้องกันตั้งแต่อายุ 9-15 ปี 

นอกจากจะเป็นวัยที่ยังไม่มีเพศสัมพันธ์ซึ่งหมายถึงมีโอกาสเสี่ยงต่อการติดเชื้อน้อยแล้ว ยังเป็นวัยที่สามารถจะกระตุ้นภูมิคุ้มกันได้ดีกว่าวัยผู้ใหญ่ เห็นได้ชัดจากการฉีดวัคซีน HPV เพียง 2 เข็มก็เพียงพอแล้ว  

ส่วนวัยผู้ใหญ่ตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป แม้จะมีภูมิต้านทาน HPV แล้ว แต่การฉีดวัคซีนจะทำให้ภูมิคุ้มกันแข็งแรงมากขึ้น เพราะฉะนั้นจึงสามารถฉีดได้เช่นกัน โดยคอร์สวัคซีนในวัยนี้จะอยู่ที่ 3 เข็ม

นอกจากผู้หญิงที่ควรฉีดวัคซีน HPV แล้ว ผู้ชายก็สามารถฉีดวัคซีนนี้ได้เช่นกัน ถึงแม้ผู้ชายจะไม่มีมดลูก แต่หากรับเชื้อ HPV ก็อาจทำให้เกิดหูดหงอนไก่ มะเร็งองคชาต และมะเร็งทวารหนักได้เช่นกัน ดังนั้นจึงควรฉีดวัซีนป้องกันตั้งแต่ช่วงอายุ 9-26 ปี

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ฉีดวัคซีน HPV วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 2548 บาท ลดสูงสุด 63%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

สำหรับผู้หญิงทุกวัย แม้จะได้รับการฉีดวัคซีน HPV ไปแล้ว แต่ยังควรต้องเข้ารับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกด้วยวิธี Pap Smear หรือตรวจด้วยวิธี Thin Prep ตามช่วงวัยปกติ เนื่องจากวัคซีนสามารถป้องกันการติดเชื้อ HPV ได้เฉพาะสายพันธุ์ที่จำกัดเท่านั้น

ข้อห้ามในการฉีดวัคซีน HPV

  • ผู้หญิงที่แพ้สารประกอบในวัคซีน
  • ผู้หญิงที่อยู่ระหว่างตั้งครรภ์

ราคาวัคซีน HPV ป้องกันมะเร็งปากมดลูก

ปัจจุบันมีโรงพยาบาลชั้นนำมากมายที่มีบริการฉีดวัคซีน HPV ป้องกันมะเร็งปากมดลูกแล้ว ซึ่งคุณสามารถเปรียบเทียบราคา สถานที่ ก่อนจองคิวเข้าไปใช้บริการกับ HD ได้ดังตารางด้านล่างนี้*

ชื่อโรงพยาบาล

ราคาต่อแพ็กเกจ

สถานที่ตั้ง

หมายเหตุ

โรงพยาบาลพญาไท1

7,325 บาท (4 สายพันธุ์ 3 เข็ม) 

อาคาร 3 ชั้น 6 364/1 ถนนศรีอยุธยา แขวงถนนพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร 10400

เหมาะสำหรับผู้หญิงอายุ 15 ปีขึ้นไป

โรงพยาบาลพญาไท2

7,325 บาท (4 สายพันธุ์ 3 เข็ม)

943 ถนนพหลโยธิน แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร 10400

เหมาะสำหรับผู้หญิงอายุ 15-45 ปี และ ผู้ชายอายุ 15-26 ปี

โรงพยาบาลพญาไท3

7,070 บาท (4 สายพันธุ์ 3 เข็ม)

111 ถนนเพชรเกษม แขวงปากคลองภาษีเจริญ เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร 10160

เหมาะสำหรับผู้หญิงอายุ 15-45 ปี และ ผู้ชายอายุ 15-26 ปี

โรงพยาบาลยันฮี

4,350 บาท (4 สายพันธุ์ 2 เข็ม)

454 ถนนจรัญสนิทวงศ์ แขวงบางอ้อ เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร 10700

เหมาะสำหรับผู้หญิงอายุ 9-14 ปี

5,795 บาท (2 สายพันธุ์ 3 เข็ม)

454 ถนนจรัญสนิทวงศ์ แขวงบางอ้อ เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร 10700

เหมาะสำหรับผู้หญิงอายุ 15-45 ปี และ ผู้ชายอายุ 15-26 ปี

โรงพยาบาลบางปะกอกรังสิต2

9,449 บาท (4 สายพันธุ์ 3 เข็ม)

757 ถนนรังสิต - นครนายก (คลอง 2) ตำบลประชาธิปัตย์ อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี 12130

เหมาะสำหรับผู้หญิงอายุ 15-45 ปี และผู้ชายอายุ 15-26 ปี

8,174 บาท (2 สายพันธุ์ 3 เข็ม)

เหมาะสำหรับผู้หญิงอายุ 15 ปีขึ้นไป

6,389 บาท (4 สายพันธุ์ 2 เข็ม)

เหมาะสำหรับผู้หญิงและผู้ชายอายุ 9-14 ปี

5,624 บาท (2 สายพันธุ์ 2 เข็ม)

เหมาะสำหรับผู้หญิงอายุ 9-14 ปี

โรงพยาบาลจุฬารัตน์ 9 แอร์พอร์ต

6,475 บาท (4 สายพันธุ์ 3 เข็ม)

90/5 หมู่ 13 ตำบลราชาเทวะ อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ 10540

เหมาะสำหรับผู้หญิงอายุ 15-45 ปี

*หมายเหตุ: ราคาพิเศษข้างต้นนี้ยังไม่รวมค่าแพทย์และบริการอื่นๆ ภายในโรงพยาบาล และเป็นราคาแพ็กเกจที่ต้องจองคิวผ่าน HD เท่านั้น โดยอาจมีการปรับเปลี่ยนราคาตามแพ็กเกจใหม่ได้ สามารถสอบถามกับแอดมินของ HD เพื่อขอรายละเอียดเพิ่มเติม หรือคลิกดูรายละเอียดตามแพ็กเกจในตารางได้ทันที

มะเร็งได้ชื่อว่าเป็น "ภัยเงียบ" ที่มาเยือนได้โดยไม่รู้ตัว แต่เราก็สามารถหาวิธีป้องกันโรคนี้ได้ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่ "เสี่ยง" ออกไป เช่น เน้นรับประทานอาหารปรุงสดใหม่ เลี่ยงการรับประทานอาหารมันๆ ทอดๆ เลี่ยงการอาหารแปรรูป อาหารปิ้งย่าง 

หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ พักผ่อนให้เพียงพอ หาวิธีผ่อนคลายความเครียด มีเพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัย

ยิ่งหากมีกระบวนการตรวจคัดกรองโรคที่ดี มีวัคซีน HPV ที่สามารถป้องกันการเกิดมะเร็งปากมดลูกและโรคอื่นๆ ซึ่งมีสาเหตุจากเชื้อเอชพีวีได้อย่างมีประสิทธิภาพด้วยแล้ว 

เรายิ่งไม่ควรนิ่งเฉยเพราะหากพลาดพลั้งป่วยเป็นโรคนี้ขึ้นมาจริงๆ กระบวนการรักษาย่อมต้องใช้เวลาและค่าใช้จ่ายมากกว่าการป้องกันอย่างแน่นอน  

เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจฉีดวัคซีนมะเร็งปากมดลูก (HPV) จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชั่นเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


3 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
ผศ. นพ. ชนเมธ เตชะแสนศิร, HPV ไวรัสร้ายใกล้ตัวที่ควรป้องกันตั้งแต่วัยรุ่น, (https://med.mahidol.ac.th/atrama/sites/default/files/public/pdf/column/%40Rama15_E01.pdf).
ผศ. พญ. เจนจิต ฉายะจินดา, “หูดหงอนไก่ ไม่ถึงตาย แต่ (อาจ) ทำลายชีวิตคู่”, (https://www.si.mahidol.ac.th/th/healthdetail.asp?aid=1289), 26 มิถุนายน 2560.
รศ. พญ. ศศิโสภิณ เกียรติบูรณกุล, HPV ไวรัสมะเร็งปากมดลูก ผู้ชายก็ติดเชื้อได้, (https://med.mahidol.ac.th/ramachannel/home/article/hpv-ไวรัสมะเร็งปากมดลูก-ผ).

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
Acetaminophen
Acetaminophen

ข้อควรรู้เกี่ยวกับการตรวจหา Acetaminophen จากเลือด เพื่อวินิจฉัยว่ามีการรับประทานยาเกินขนาดหรือไม่ และทำให้ตับเสียหายมากน้อยเพียงใด พร้อมวิธีการตรวจ

อ่านเพิ่ม
วัคซีน HPV
วัคซีน HPV

วัคซีน HPV คืออะไร? มีกี่แบบ? และใครบ้างที่ควรฉีด ตอบครบในบทความเดียว

อ่านเพิ่ม