อาการและอันตรายของภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับที่ไม่ได้รับการรักษา

เผยแพร่ครั้งแรก 31 ส.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
อาการและอันตรายของภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับที่ไม่ได้รับการรักษา

การนอนนั้นเป็นส่วนที่สำคัญของชีวิตมนุษย์ โดยเฉลี่ยแล้วมนุษย์ใช้เวลาไปกับการนอนถึง 25-35% การนอนนั้นทำให้ร่างกายและสมองได้พักและฟื้นตัวจากความเครียดในชีวิตประจำวัน ดังนั้นการมีปัญหาเกี่ยวกับการนอนนั้นจึงสามารถทำให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพได้ และหากไม่ได้รับการรักษาก็อาจจะส่งผลระยะยาวได้

มีความเชื่อหนึ่งที่กล่าวว่ามันมีจำนวนชั่วโมงในการนอนที่ร่างกายต้องการ ในความจริงแล้วจำนวนชั่วโมงที่ร่างกายต้องการในการนอนนั้นมีได้หลากหลาย บางคนอาจจะต้องการการนอนเพียง 5 ชั่วโมง หรือบางคนอาจจะต้องการ 9 ชั่วโมงเพื่อให้ร่างกายทำงานได้อย่างเหมาะสมในวันรุ่งขึ้น นอกจากนั้น การนอนน้อยหรือมากเกินไปนั้นก็อาจทำให้เกิดปัญหาได้ ถึงแม้ว่าบางคนจะเชื่อว่าการนอนมากๆ นั้นจะทำให้รู้สึกผ่อนคลายมากขึ้น แต่ในความจริงแล้วการนอนเพิ่มขึ้นอีก 2-3 ชั่วโมงนั้นอาจทำให้ร่างกายนั้นเหนื่อยและเหมือนพักผ่อนน้อยได้ ในผู้ป่วยที่เป็นไมเกรนนั้นการนอนน้อยหรือมากเกินไปนั้นอาจจะสามารถกระตุ้นให้เกิดอาการได้ทั้งสิ้น การงีบระหว่างวันนั้นยังเป็นเรื่องที่ไม่ดีเพราะทำให้การนอนในตอนกลางคืนนั้นนอนได้น้อยลง

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ต้องเน้นที่คุณภาพไม่ใช่เฉพาะปริมาณ

แม้ว่าคุณอาจจะนอนหลับในปริมาณที่เหมาะสม แต่ก็อาจมีคุณภาพของการนอนที่แย่ได้ โดยเฉพาะเวลาที่มีการตื่นเป็นช่วง เพราะจะทำให้กลับไปนอนหลับได้ยากและต้องใช้เวลานานถึง 1 ชั่วโมงที่ร่างกายจะเข้าสู่ช่วงพักผ่อนในวงจรของการนอนหลับ ผู้ที่ตื่นหลายๆ ครั้งในตอนกลางคืนนั้นอาจจะไม่ได้นอนหลับลึกเลยก็ได้ การที่มีคุณภาพของการนอนที่แย่นั้นจะทำให้ง่วงนอนระหว่างวัน อ่อนเพลียเรื้อรัง ปวดหัว อารมณ์เปลี่ยนแปลง กระสับกระส่าย ความจำแย่ลงและมีผลต่อการรับรู้และตัดสินใจ

การปัสสาวะตอนกลางคืน

หนึ่งในปัจจัยที่ทำให้เราต้องตื่นมาตอนกลางคืนนั้นก็คือต้องเข้าห้องน้ำ ซึ่งพบได้บ่อยโดยเฉพาะในผู้สูงอายุ ในความเป็นจริงแล้ว กระเพาะปัสสาวะนั้นมักจะไม่ทำให้เราต้องตื่นนอน แต่พวกเขานั้นตื่นเองและเมื่อตื่นแล้วก็จะรู้สึกว่าอยากเข้าห้องน้ำ หากไม่เชื่อ ให้ลองลดการดื่มน้ำก่อนเข้านอนแล้วดูว่าคุณยังตื่นขึ้นมาบ่อยเท่าเดิมหรือไม่

หนึ่งในสาเหตุที่อาจทำให้เกิดการตื่นในตอนกลางคืนนั้นอาจจะเกิดจากการที่มีสัตว์เลี้ยงนอนอยู่บนเตียงเดียวกัน ซึ่งหลังจากแพทย์แนะนำให้ผู้ป่วยนำสัตว์เลี้ยงไปนอนในห้องที่ห่างออกไปประมาณ 2 ห้องเพื่อป้องกันไม่ให้ผู้ป่วยได้ยินเสียงข่วนประตูหรือเสียงอื่นๆ จากสัตว์เลี้ยง ก็พบว่าอาการปวดหัวและอ่อนเพลียที่เกิดจากการนอนไม่พอนั้นดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด

ปัญหาจากการกรน

ในผู้ที่มีการหยุดหายใจขณะหลับนั้น สมองจะเกิดการขาดอากาศในช่วงเวลาดังกล่าวร่วมด้วย หลายๆ คนมักจะขำเวลาที่คนอื่นนั้นกรนแต่ในความจริงแล้วการกรนเสียงดังนั้นกำลังแสดงว่าคนนั้นต้องการอากาศเพิ่มขึ้นเพราะสมองได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอ ภาวะนี้ส่งผลต่อการนอนทั้งในผู้ป่วยเองและผู้ที่นอนร่วมเตียง หลายคนอาจจะบอกว่าตัวเองนั้นนอนแบบนี้มานานแล้ว แต่ร่างกายที่มีอายุมากนั้นต้องใช้เวลาในการฟื้นตัวมากกว่าในสมัยที่ยังมีอายุน้อย ดังนั้นสมองของเราในขณะที่มีอายุยังน้อยนั้นก็สามารถปรับตัวเข้ากับสถานการณ์ไม่ดีต่างๆ เช่นการนอนไม่พอได้มากกว่าเมื่อมีอายุมากขึ้น

นอกจากภาวะนี้นั้นจะทำให้เกิดอาการปวดหัว อารมณ์เปลี่ยนแปลง ไม่มีแรง และทำให้ความจำแย่ลงแล้ว มันยังเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเส้นเลือดสมองตีบ หัวใจวายจากการขาดเลือดและความจำเสื่อมได้ ดังนั้นหากคุณมีอาการควรรีบมารักษาเพื่อให้สามารถนอนได้อย่างมีคุณภาพและดีต่อร่างกาย


29 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Snored to death: The symptoms and dangers of untreated sleep apnea. Harvard Health. (https://www.health.harvard.edu/blog/snored-to-death-the-symptoms-and-dangers-of-untreated-sleep-apnea-2017021311159)
The Effects of Sleep Apnea on the Body. Healthline. (https://www.healthline.com/health/sleep-apnea/effects-on-body#1)
Sleep Apnea - National Heart, Lung, and Blood Institute (NHLBI) (https://www.nhlbi.nih.gov/health-topics/sleep-apnea)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป