กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD
พญ.รุจิรา เทียบเทียม
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
พญ.รุจิรา เทียบเทียม

โรคหัวใจเต้นเร็วจากหัวใจห้องบน (Supraventricular Tachycardia)

โรคหัวใจเต้นเร็วจากหัวใจห้องบน (Supraventricular Tachycardia)
เผยแพร่ครั้งแรก 17 เม.ย. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 7 ก.พ. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
โรคหัวใจเต้นเร็วจากหัวใจห้องบน (Supraventricular Tachycardia)

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • โรคหัวใจเต้นเร็วจากหัวใจห้องบน (Supraventricular Tachycardia: SVT) คือ การลัดวงจรของระบบไฟฟ้าในกล้ามเนื้อหัวใจเป็นระยะๆ
  • เครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน ความวิตกกังวล ความเครียด ยาลดน้ำมูกบางชนิด การสูบบุหรี่มากๆ เป็นปัจจัยที่สามารถกระตุ้นให้เกิด SVT ได้
  • อาการ SVT ที่พบบ่อย เช่น เจ็บแน่นหน้าอก ใจสั่น หน้ามืด เป็นลม เหงื่อแตกตัวเย็น อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย หมดสติ
  • มีวิธีรักษา SVT หลายแบบขึ้นอยู่กับระดับความรุนแรงของอาการ เช่น ทำเองด้วยการบีบจมูก ปิดปาก การใช้ยา รักษาด้วยการช็อตไฟฟ้า การสวนและจี้ไฟฟ้าหัวใจ
  • ภาวะผิดปกติเกี่ยวกับหัวใจเป็นภัยเงียบที่อาจมาเยือนโดยคุณไม่รู้ตัว การดูแลสุขภาพและตรวจสุขภาพเป็นประจำจึงเป็นวิธีป้องกันที่ดีที่สุด (ดูแพ็กเกจตรวจสุขภาพและหัวใจได้ที่นี่)

โรคหัวใจเต้นเร็วจากหัวใจห้องบน (Supraventricular Tachycardia: SVT) อธิบายอย่างง่ายคือ มีการลัดวงจรของระบบไฟฟ้าในกล้ามเนื้อหัวใจเป็นระยะๆ  การลัดวงจรนี้โดยปกติอาจเกิดได้วันหนึ่งหลายๆ ครั้ง ครั้งละเป็นวินาที หรือเป็นนาที แต่ถ้าเกิดต่อเนื่องนานๆ เป็นชั่วโมงแล้ว เรียกว่า "ไม่ดีแน่"

หัวใจเริ่มเต้นตั้งแต่เรายังเป็นตัวอ่อน

การที่หัวใจเต้นเองได้ตั้งแต่อยู่ในครรภ์ของคุณแม่นั้นเป็นเพราะหัวใจมีกล้ามเนื้อพิเศษ ที่สามารถสร้างกระแสไฟฟ้าขึ้นเพื่อไป “กระตุก” ให้กล้ามเนื้อหัวใจหดตัวและคลายตัวเป็นจังหวะตลอดเวลา โดยไม่ต้องมีอะไรไปช่วย

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจหัวใจและหลอดเลือดวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 294 บาท ลดสูงสุด80%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

พอใช้งานไปซักระยะ (อายุเพิ่มมากขึ้น หรือมีปัจจัยอื่นๆ มากระตุ้น) ระบบไฟฟ้าก็ต้องมีระบบรวนกันบ้างเป็นเรื่องปกติ 

บางคนระบบไฟฟ้ารวนไม่กี่วินาทีก็กลับมาเป็นปกติ บางคนก็รวนนานไป หรือเกิดต่อเนื่องเป็นชั่วโมง กรณีเช่นนี้จำเป็นต้องให้คุณหมอช่วยจัดการระบบไฟฟ้าของหัวใจให้เข้าที่เข้าทาง

โรคหัวใจเต้นเร็วจากหัวใจห้องบน 

ภาวะที่มีการลัดวงจรของหัวใจ เรียกรวมๆ ว่า “Arrythmia” สามารถเกิดที่ตำแหน่งใดของหัวใจก็ได้ที่เป็นส่วนสร้างกระแสไฟฟ้า 

แต่สำหรับโรคหัวใจเต้นเร็วจากหัวใจห้องบน (Supraventricular Tachycardia) หรือที่คุณหมอชอบเรียกกันย่อๆว่า "SVT" เป็นภาวะที่แยกย่อยออกมา ก็คือหัวใจเต้นเร็วกว่าปกติ โดยจุดที่ผิดปกติไปอยู่ที่หัวใจห้องบน มาเต้นแทรกระหว่างที่หัวใจกำลังเต้นในจังหวะปกติ 

อธิบายให้เข้าใจง่ายขึ้นคือ คล้ายๆ กับเรากำลังตีกลองอยู่เป็นจังหวะ อยู่ๆ ก็มีคนตีกลองแทรกเข้ามาในจังหวะที่เรากำลังตีอยู่นั่นเอง 

ความถี่ของโรคหัวใจเต้นเร็วจากหัวใจห้องบน สามารถพบได้ที่ 2.25 คน ต่อประชากร 1,000 คน และผู้หญิงมักเกิดโรคนี้มากกว่าผู้ชาย อีกทั้งยังมีข้อมูลว่า ในคนอายุมากจะเกิดโรคนี้ได้บ่อยกว่าคนอายุน้อย

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

ปัจจัยที่กระตุ้นโรคหัวใจเต้นเร็วจากหัวใจห้องบน

SVT สามารถถูกกระตุ้นได้จากปัจจัยอื่นๆได้ ไม่จำเป็นว่า ต้องมีสาเหตุจากกล้ามเนื้อหัวใจเพียงอย่างเดียว ปัจจัยที่พบบ่อย เช่น 

  • เครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน 
  • ภาวะที่กังวลมาก 
  • ความเครียด 
  • ยาลดน้ำมูกบางชนิด หรือยาขยายหลอดลม 
  • การสูบบุหรี่จัดๆ

จะรู้ได้อย่างไรว่า ตนมีโรคหัวใจเต้นเร็วจากหัวใจห้องบน

เมื่อกล้ามเนื้อหัวใจบีบรัดตัวเองเร็วจะทำให้มีช่วงเวลาคลายตัวน้อยลง ส่งผลให้เลือดที่ไหลไปเลี้ยงร่างกายลดลง จึงอาจรู้สึกใจสั่นและรู้สึกว่า หัวใจเต้นเร็วในอก หรือลำคอ รู้สึกแน่นๆ ติดๆ ในลำคอ 

อาการดังกล่าวอาจเกิดขึ้นเป็นครั้งคราว หรือต่อเนื่องยาวนาน แต่หากมีอาการเหล่านี้ขึ้นมา ขอให้ไปพบแพทย์ทันทีเพื่อทำการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจเบื้องต้น (EKG) 

อาการที่พบบ่อย

อาการที่ว่ามาถือว่า "อันตรายมาก" และหากปล่อยทิ้งไว้ อาจเกิดภาวะช็อคจากการทำงานของหัวใจ หรือ Cardiogenic Shock ได้ ดังนั้นอย่ารีรอที่จะไปพบแพทย์

บางคนแม้จะไปพบแพทย์แล้วแต่ก็ยังอาจตรวจไม่พบก็ได้ เพราะตอนที่ใจสั่น กระแสไฟฟ้ามีการลัดวงจรอยู่ แต่พอไปถึงโรงพยาบาลแล้ว อาการได้หายไปก็เป็นได้ แต่ถึงอย่างก็ไม่เป็นไร ขอให้แจ้งอาการกับแพทย์ไว้ 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

แพทย์อาจพิจารณาให้วิ่งสายพานทดสอบ (EST) หรือติดเครื่องติดตามการเต้นของหัวใจตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อเฝ้าดูว่า มี SVT บ่อยขนาดไหน และยาวนานเพียงใด

การรักษาโรคหัวใจเต้นเร็วจากหัวใจห้องบน

มีหลายวิธีที่สามารถรักษา SVT ขึ้นอยู่กับอาการและความรุนแรงของผู้ป่วย ดังนี้

การรักษาเบื้องต้นด้วยตนเองที่บ้าน 

เช่น บีบจมูก ปิดปาก และพยายามเป่าลมให้แรง ๆ (Valsalva Maneuver) คล้ายกับการพยายามเบ่งขณะอยู่ในห้องน้ำ รวมทั้งการนวดบริเวณคอ (Carotid Massage) แต่วิธีนี้ระวังอาการหน้ามืดด้วย

การใช้ยา 

หากอาการเกิดขึ้นยาวนาน หรือมีความรุนแรง จะมีการใช้ยาอะดีโนไซน์ (Adenosine) ฉีดเข้าเส้นเลือดดำเพื่อเข้าปิดกั้นคลื่นกระตุ้นภายในหัวใจที่ผิดปกติ แต่ถ้าคุณเป็นโรคหอบหืด แพทย์จะฉีดยาวีราพามิล (Verapamil) ให้แทน 

นอกจากนี้ยังมียาอีกหลายชนิดที่ใช้ป้องกันการเกิดอาการ SVT ได้ เช่น ไดกอกซิน (Digoxin) เบต้าบล็อกเกอร์ (Beta Blockers)

รักษาด้วยการช็อตไฟฟ้า (Cardioversion) 

มักนำมาใช้เพื่อหยุดอาการ SVT โดยจะมีการใช้เครื่องกระตุกหัวใจ (Defibrillator) มาส่งกระแสไฟฟ้าเข้าที่หน้าอกของ แต่ไม่ต้องกลัวไปเพราะส่วนใหญ่จะใช้ยาสลบ (General Anaesthetic) ขณะทำการรักษาด้วยวิธีนี้

การสวนและจี้ไฟฟ้าหัวใจ (Catheter Ablation) 

เป็นกระบวนการรักษาที่ทำให้หัวใจมีแผลเป็นขนาดเล็กเพื่อช่วยปิดกั้นสัญญาณทางไฟฟ้าที่แล่นไปเป็นวงกลม และช่วยป้องกันการเกิดอาการของ SVT 

วิธีนี้จะใช้สายสวนสอดเข้าทางเส้นเลือดดำ ก่อนเคลื่อนไปยังหัวใจเพื่อบันทึกกิจกรรมทางไฟฟ้า เมื่อพบตำแหน่งที่เป็นสาเหตุแล้ว แพทย์จะจี้ความร้อนด้วยกระแสไฟฟ้า หรือความเย็น (Cryoablation)

หมั่นดูแลสุขภาพและหมั่นตรวจเช็คสุขภาพเป็นประจำเพื่อให้สุขภาพร่างกายและหัวใจแข็งแรง ห่างไกลจากโรค

ดูแพ็กเกจตรวจสุขภาพหัวใจและสมรรถภาพหัวใจ เปรียบเทียบราคา โปรโมชั่นล่าสุดจากโรงพยาบาลและคลินิกชั้นนำได้ที่นี่ หรือไม่พลาดทุกการอัปเดตแพ็กเกจต่างๆ เมื่อกดเป็นเพื่อนทางไลน์ @hdcoth และกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


2 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Zimetbaum P, Josephson ME, Evaluation of patients with palpitations. N Engl, J Med 1998;338:13691373.
Orejarena LA, Vidaillet H, DeStefano F, Nordstrom DL, Vierkant RA, Smith PN, Hayes JJ, Paroxysmal supraventricular tachycardia in the general population. J Am Coll Cardiol 1998;31:150157.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
Wolff-Parkinson-White syndrome (WPW)
Wolff-Parkinson-White syndrome (WPW)

อาการหัวใจเต้นเร็วผิดปกติอย่างกะทันหัน อาจเกิดจากภาวะ Wolff-Parkinson-White syndrome

อ่านเพิ่ม