Wolff-Parkinson-White syndrome (WPW)

อาการหัวใจเต้นเร็วผิดปกติอย่างกะทันหัน อาจเกิดจากภาวะ Wolff-Parkinson-White syndrome
เผยแพร่ครั้งแรก 17 เม.ย. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
Wolff-Parkinson-White syndrome (WPW)

Wolff-Parkinson-White syndrome (WPW) เป็นภาวะที่ทำให้หัวใจเต้นเร็วผิดปกติอย่างกะทันหัน หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า Supraventricular Tachycardia (SVT) โดยอาการสามารถเกิดขึ้นต่อเนื่องนานหลายวินาที หลายนาที หลายชั่วโมง หรืออาจเกิดนานหลายวันก็ได้

ภาวะ WPW เป็นภาวะที่พบได้มากในเด็กที่เกิดมาพร้อมกับภาวะหัวใจพิการแต่กำเนิด (Congenital Heart Disease) แต่ก็มีโอกาสพบได้ในเด็กที่ไม่มีภาวะนี้เช่นกัน

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

ภาวะ WPW อาจทำให้ผู้ป่วยมีอัตราการเต้นของหัวใจเพิ่มขึ้นอย่างมากจนทำให้เกิดภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว (Atrial Fibrillation) ขึ้น หากเกิดอาการร่วมกับภาวะ WPW อาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้

อาการของ Wolff-Parkinson-White syndrome

อาการที่พบบ่อยในเด็ก ได้แก่

อาการที่พบในช่วงวัยรุ่นจนถึงวัยกลางคน 

อาการจะเกิดขึ้นอย่างกะทันหัน และอาจเป็นนานหลายวินาทีจนถึงหลายชั่วโมง

อาการที่พบบ่อย ได้แก่

  • หัวใจเต้นเร็วกะทันหัน
  • ชีพจรเต้นเร็วมากจนวัดยาก
  • ความทนทานต่อการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ลดลง
  • ใจสั่น เวียนศีรษะ หน้ามืด
  • เป็นลมหมดสติ
  • วิตกกังวล

อาการที่รุนแรง ได้แก่

  • เจ็บแน่นหน้าอก
  • หายใจลำบาก
  • เสียชีวิตทันที

สาเหตุของ Wolff-Parkinson-White syndrome

ในหัวใจจะมีคลื่นไฟฟ้าหัวใจที่มีระบบการทำงานเหมือนกับแผงวงจรไฟฟ้า โดยจะส่งกระแสไฟฟ้าไปตามเส้นวงจรต่างๆ เช่น เวนตริเคิล (Ventricle) เอตริโอเวนทริคิวลาร์ (Atrioventricular valve) เอเตรียม (Atrium) เป็นต้น ซึ่งทำให้กล้ามเนื้อหัวใจบีบตัวอย่างสมบูรณ์ และส่งเลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกายได้อย่างปกติ

แต่เมื่อเกิดความผิดปกติในเส้นวงจรเหล่านี้ ก็จะทำให้สัญญาณไฟฟ้าของหัวใจเกิดลัดวงจร และถูกกลบไปจนทำให้เกิดอาการหัวใจเต้นเร็วมากผิดปกติ หรือภาวะ WPW นั่นเอง

ภาวะ WPW มักเป็นความผิดปกติมาแต่กำเนิด และเกี่ยวข้องกับพันธุกรรม สามารถทำให้เกิดภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะได้หลายแบบ

การวินิจฉัย Wolff-Parkinson-White syndrome

  • คุณควรไปพบแพทย์ หรือไปโรงพยาบาลทันที หากหัวใจของคุณมีอาการเต้นเร็วผิดปกติเป็นเวลานานกว่า 20 นาทีขึ้นไป
  • หากแพทย์คาดว่าคุณมีอาการของภาวะ WPW หลังประเมินอาการต่างๆ แพทย์อาจแนะนำให้เข้าตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (Electrocardiogram: ECG) เป็นการทดสอบบันทึกจังหวะการเต้นและการทำงานของคลื่นไฟฟ้าหัวใจ
  • ขั้นตอนการตรวจ ECG แพทย์จะติดปุ่มขนาดเล็กบนแขน ขา และหน้าอกของผู้ป่วย โดยปุ่มเหล่านี้จะมีสายโยงกลับไปยังเครื่องตรวจ ECG ที่ทำหน้าที่คอยบันทึกสัญญาณทางไฟฟ้าขนาดเล็กที่ปล่อยออกมาขณะที่หัวใจเต้นแต่ละครั้ง
  • หากคุณมีภาวะ WPW การตรวจ ECG จะบันทึกคลื่นเดลต้า (Delta wave) ได้ ซึ่งเป็นรูปแบบของคลื่นที่ไม่ควรเกิดขึ้นในผู้ที่มีสุขภาพดี

การรักษา Wolff-Parkinson-White syndrome

การรักษาอาการหัวใจเต้นเร็ว โดยทั่วไปแล้วมีด้วยกัน 3 ประเภท คือ

  • การให้ยารักษาหัวใจเต้นผิดปกติ (Anti-Arrhythmic)
  • การปล่อยกระแสไฟฟ้าเข้าหัวใจ (Electrical Cardioversion) เพื่อเริ่มต้นการทำงานของวงจรไฟฟ้าหัวใจใหม่
  • การใช้สายสวนจี้หัวใจ กระบวนการนี้จะมีการจี้ (ทำลาย) สัญญาณที่ไม่ปกติของหัวใจด้วยการใช้คลื่นวิทยุ

13 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Wolff-Parkinson-White syndrome (WPW). MedlinePlus. (https://medlineplus.gov/ency/article/000151.htm)
Wolff-Parkinson-White syndrome. NHS (National Health Service). (https://www.nhs.uk/conditions/wolff-parkinson-white-syndrome/)
Wolff-Parkinson-White (WPW) syndrome - Symptoms and causes. Mayo Clinic. (https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/wolff-parkinson-white-syndrome/symptoms-causes/syc-20354626)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
โรคหัวใจเต้นเร็วจากหัวใจห้องบน (Supraventricular Tachycardia)
โรคหัวใจเต้นเร็วจากหัวใจห้องบน (Supraventricular Tachycardia)

โรคหัวใจเต้นเร็วจากหัวใจห้องบน (Supraventricular Tachycardia)

อ่านเพิ่ม