โรคตับอ่อนอักเสบจากนิ่วในถุงน้ำดี

รู้ครบทุกเรื่อง เกี่ยวกับตับอ่อนและโรคตับอ่อนอักเสบทั้งแบบียบพลันและเรื้อรัง การวินิจฉัย การรักษาโรคด้วยวิธีต่างๆ วีธีเตรียมตัวก่อนพบแพทย์ ภาวะแทรกซ้อน วิธีการดูแลตัวเอง
เผยแพร่ครั้งแรก 23 เม.ย. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 7 นาที
โรคตับอ่อนอักเสบจากนิ่วในถุงน้ำดี

ตับอ่อนเป็นต่อมภายในร่างกายที่มีขนาดยาวแบน อยู่ข้างหลังกระเพาะที่อยู่ในช่องท้องส่วนบน ตับอ่อนมีหน้าที่ผลิตเอนไซม์ที่ช่วยในการย่อยอาหารและผลิตฮอร์โมนช่วยเร่งปฏิกิริยาที่ร่างกายใช้จัดการกับน้ำตาล (กลูโคส)

โรคตับอ่อนอักเสบสามารถเกิดขึ้นอย่างเฉียบพลันหรือก็คือภาวะที่แสดงอาการทันทีและคงอยู่เป็นระยะเวลาไม่กี่วัน หรืออาจเกิดขึ้นแบบเรื้อรังซึ่งจะแสดงอาการหลาย ๆ ครั้งในช่วงหลายปี

กรณีผู้ป่วยที่เป็นโรคตับอ่อนอักเสบไม่รุนแรงอาจสามารถหายได้เองโดยไม่ต้องรับการรักษา แต่สำหรับกรณีที่ร้ายแรง โรคนี้สามารถก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่เป็นอันตรายถึงชีวิตได้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

อาการ

สัญญาณและอาการของโรคตับอ่อนอักเสบจะแตกต่างกันไปตามประเภทของโรคที่คุณเป็น โดยโรคตับอ่อนอักเสบเฉียบพลันจะมีสัญญาณและอาการดังนี้:

  • มีอาการปวดช่วงท้อง
  • อาการปวดช่วงท้องลามไปยังหลัง
  • อาการปวดช่วงท้องจะรุนแรงขึ้นขณะรับประทานอาหาร
  • มีไข้
  • มีชีพจรเต้นเร็ว
  • คลื่นไส้
  • อาเจียน
  • มีอาการกดเจ็บบริเวณช่วงท้อง

โรคตับอ่อนอักเสบเรื้อรังจะมีสัญญาณและอาการดังนี้:

  • มีอาการปวดช่วงท้องส่วนบน
  • น้ำหนักลด
  • มีอุจจาระกลิ่นแรงและมีไขมันผสมอยู่มาก

ควรทำการพบแพทย์เมื่อไร?

ควรทำการนัดพบแพทย์หากคุณมีอาการปวดช่วงท้องต่อเนื่อง และหากอาการปวดมีความรุนแรงจนนั่งไม่ติดหรือต้องคอยหามุมที่ทำให้อาการเบาลง ควรรีบไปพบแพทย์โดยด่วน

สาเหตุ

โรคตับอ่อนอักเสบเกิดขึ้นมาจากการที่เอนไซม์ย่อยอาหารเกิดทำงานภายในตับอ่อน ทำให้เซลล์ตับอ่อนเกิดการระคายเคืองและทำให้เกิดการอักเสบขึ้น

หากมีอาการของภาวะตับอ่อนอักเสบเฉียบพลันบ่อยครั้ง จะยิ่งทำให้ตับอ่อนเสียหายและอาจพัฒนากลายไปเป็นโรคตับอ่อนอักเสบแบบเรื้อรังได้ อีกทั้งยังทำให้เกิดแผลเป็นที่เนื้อเยื่อตับอ่อนจนทำให้อวัยวะทำงานตกต่ำลง ซึ่งจะส่งผลกลายเป็นปัญหาการย่อยอาหารและโรคเบาหวานได้อีกด้วย

สาเหตุที่ก่อให้เกิดโรคตับอ่อนอักเสบมีดังนี้:

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

  • ติดสุรา
  • นิ่วในถุงน้ำดี
  • การผ่าตัดช่วงท้อง
  • การใช้ยาบางประเภท
  • การสูบบุหรี่
  • โรคซิสติกไฟโบรซิส (CF)
  • สมาชิกในครอบครัวมีประวัติเคยเป็นโรคนี้มาก่อน
  • มีระดับแคลเซียมในเลือดสูง ซึ่งอาจเกิดมาจากการทำงานมากไปของต่อมพาราไทรอยด์
  • ระดับไตรกลีเซอร์ไรด์ในเลือดสูง
  • การติดเชื้อ
  • การบาดเจ็บที่ช่วงท้อง
  • มะเร็งตับอ่อน

การตรวจสอดกล้องท่อทางเดินน้ำดีและตับอ่อน (ERCP) เป็นกระบวนการที่ใช้รักษานิ่วในถุงน้ำดีซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งของการเกิดโรคตับอ่อนอักเสบ

ในบางกรณีก็ไม่พบสาเหตุที่ก่อให้เกิดโรคตับอ่อนอักเสบ

ภาวะแทรกซ้อน

โรคตับอ่อนอักเสบสามารถก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนร้ายแรงหลายอย่าง ดังนี้:

  • ถุงน้ำตับอ่อน: โรคตับอ่อนอักเสบเฉียบพลันสามารถทำให้ของเหลวและของเสียไปสะสมอยู่ในตับอ่อนจนกลายเป็นถุงน้ำคล้ายก้อนซีสต์ได้ หากถุงน้ำในตับอ่อนมีขนาดใหญ่และฉีกขาดจะทำให้เกิดภาวะเลือดออกภายในและก่อให้เกิดการติดเชื้อตามมา
  • การติดเชื้อ: โรคตับอ่อนอักเสบเฉียบพลันทำให้ตับอ่อนของคุณอ่อนไหวต่อการติดเชื้อแบคทีเรีย ซึ่งการติดเชื้อที่ตับอ่อนจะเป็นภาวะอันตรายที่ต้องได้รับการรักษาในทันที อย่างเช่นการผ่าตัดนำเนื้อเยื่อที่ติดเชื้อออก เป็นต้น
  • ไตล้มเหลว: โรคตับอ่อนอักเสบเฉียบพลันสามารถก่อให้เกิดภาวะไตล้มเหลวได้ หากไตล้มเหลวมีความรุนแรงมาก ผู้ป่วยต้องเข้ารับการฟอกเลือด
  • การหายใจมีปัญหา: โรคตับอ่อนอักเสบเฉียบพลันจะไปเปลี่ยนปฏิกิริยาเคมีในร่างกายซึ่งส่งผลไปยังการทำงานของปอด ทำให้ระดับออกซิเจนในเลือดตกลงจนอยู่ในระดับที่เป็นอันตราย
  • เบาหวาน: ความเสียหายที่เซลล์ที่มีหน้าที่ผลิตอินซูลินในตับอ่อนทำให้เกิดโรคเบาหวานขึ้น ซึ่งเป็นโรคที่เปลี่ยนรูปแบบการจัดการน้ำตาลในเลือด 
  • ภาวะทุพโภชณาการ: โรคตับอ่อนทั้งแบบเรื้อรังและเฉียบพลันทำให้ตับอ่อนมีการผลิตเอนไซม์ที่ใช้ย่อยและจัดการกับอาหารน้อยลง ทำให้เกิดภาวะทุพโภชนาการ อุจจาระร่วง และน้ำหนักลงแม้จะทานอาหารปริมาณเท่าเดิม
  • มะเร็งตับอ่อน: การติดเชื้อในตับอ่อนที่ยืดเยื้อมาเป็นเวลานาน (เกิดจากโรคตับอ่อนอักเสบเรื้อรัง) เป็นปัจจัยหลักที่เพิ่มความเสี่ยงที่จะเป็นมะเร็งตับอ่อน

การวินิจฉัย

  • การทดสอบและกระบวนการที่ใช้วินิจฉัยโรคตับอ่อนอักเสบมีดังนี้:
  • การตรวจเลือดเพื่อดูระดับเอนไซม์ตับอ่อน
  • การตรวจอุจจาระหาโรคตับอ่อนอักเสบเรื้อรัง เพื่อวัดระดับไขมันที่แสดงให้เห็นว่าระบบย่อยอาหารของคุณทำงานผิดปรกติ
  • การถ่ายภาพคอมพิวเตอร์หรือซีทีสแกน (CT) เพื่อตรวจหานิ่วในถุงน้ำดีและประเมินการติดเชื้อของตับอ่อน
  • การอัลตราซาวด์ช่วงท้องเพื่อมองหานิ่วถุงน้ำดีและการอักเสบของตับอ่อน
  • การอัลตราซาวด์กระเพาะอาหารเพื่อมองหาการติดเชื้อกับการอุดตันของท่อเดินน้ำดี
  • การถ่ายภาพสะท้อนแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI) เพื่อมองหาความผิดปรกติของถุงน้ำดี ตับอ่อน และท่อต่าง ๆ

โดยแพทย์จะเป็นผู้แนะนำการทดสอบอื่น ๆ ตามกรณีไป

การรักษา

การรักษาเริ่มต้นภายในโรงพยาบาลมีดังนี้:

  • อดอาหาร: คุณต้องงดรับประทานอาหารเป็นเวลาสองสามวันและพักอยู่ในโรงพยาบาลเพื่อทำให้ตับอ่อนฟื้นตัว
    เมื่อสามารถควบคุมการติดเชื้อในตับอ่อนได้แล้ว คุณสามารถดื่มน้ำเปล่าและทานอาหารปั่นได้ และไม่นานคุณก็สามารถกลับไปรับประทานอาหารได้ตามปกติ
    หากโรคตับอ่อนอักเสบยังคงเกิดขึ้นอยู่หรือคุณรู้สึกเจ็บปวดขณะรับประทาน แพทย์จะใช้วิธีสอดท่อส่งอาหารให้คุณ
  • การใช้ยารักษาอาการปวด: โรคตับอ่อนอักเสบจะสร้างความเจ็บปวดรุนแรงแก่ผู้ป่วย ทีมรักษาคุณจะจ่ายยาควบคุมอาการปวดให้
  • การให้น้ำเกลือเข้าเส้นเลือด: ขณะพักฟื้น ร่างกายของคุณจะใช้พลังงานและของเหลวส่วนใหญ่ไปกับการซ่อมแซมตับอ่อน คุณอาจเกิดภาวะขาดน้ำได้ในช่วงนี้ ทำให้แพทย์ต้องทำการเสียบน้ำเกลือเข้าเส้นเลือดไปตลอดการพักรักษาตัวที่โรงพยาบาล

เมื่อแพทย์สามารถควบคุมโรคตับอ่อนอักเสบได้แล้ว ทีมรักษาจะทำการรักษาอาการต่าง ๆ ของโรคนี้ ขึ้นซึ่งอยู่กับสาเหตุที่ก่อให้เกิดโรคตับอ่อนอักเสบเอง ดังนี้:

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

  • กระบวนการขจัดสิ่งอุดตันท่อน้ำดี: โรคตับอ่อนอักเสบจะทำให้ท่อน้ำดีเกิดการตีบหรือตันขึ้น
    แพทย์จะใช้กระบวนการที่เรียกว่าการตรวจสอดกล้องท่อทางเดินน้ำดีและตับอ่อน (ERCP) ซึ่งเป็นการใช้ท่อยาวที่มีกล้องอยู่ที่ปลายในการตรวจสอบท่อน้ำดีและตับอ่อนของคุณ ท่อดังกล่าวจะถูกสอดผ่านลำคอของคุณลงไป และกล้องจะส่งภาพระบบย่อยอาหารของคุณขึ้นบนจอภาพ
    ERCP สามารถใช้เพื่อวินิจฉัยปัญหาที่ท่อตับอ่อนหรือท่อน้ำดีได้ และยังสามารถใช้เพื่อการซ่อมแซมท่อเหล่านี้ได้อีกด้วย ในบางกรณี โดยเฉพาะผู้ป่วยที่สูงอายุ กระบวนการ ERCP สามารถนำไปสู่โรคตับอ่อนเฉียบพลันได้ด้วย
  • การผ่าตัดถุงน้ำดี: หากสาเหตุของการเกิดโรคตับอ่อนอักเสบมาจากถุงน้ำดี แพทย์จะแนะนำให้คุณเข้ารับการผ่าตัดนำถุงน้ำดีออก
  • การผ่าตัดตับอ่อน: เป็นการผ่าตัดเพื่อดูดของเหลวสะสมในตับอ่อนหรือเพื่อนำเนื้อเยื่อที่เสียหายออก
  • การรักษาภาวะติดแอลกอฮอล์: การดื่มสุราวันละหลาย ๆ แก้วมาเป็นเวลาหลายปีอาจก่อให้เกิดโรคตับอ่อนอักเสบได้ การดื่มต่อเนื่องจะทำให้โรคตับอ่อนอักเสบรุนแรงกว่าเดิม ซึ่งหมายถึงภาวะแทรกซ้อนอันตรายที่มากขึ้น หากประเด็นนี้เป็นสาเหตุของการเกิดโรคที่แท้จริง แพทย์จะแนะนำให้คุณเข้ารับโปรแกรมบำบัดผู้ติดแอลกอฮอล์ต่อไป

การรักษาโรคตับอ่อนอักเสบวิธีอื่น

โรคตับอ่อนเรื้อรังอาจต้องได้รับการรักษาอื่น ๆ ร่วมด้วยตามสถานการณ์ของคุณ ดังนี้:

  • การจัดการกับความเจ็บปวด: โรคตับอ่อนเรื้อรังอาจก่อให้เกิดความเจ็บปวดต่อเนื่องได้ โดยแพทย์จะคอยใช้ยาควบคุมอาการแก่คุณและอาจส่งคุณไปพบผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง
    สำหรับความเจ็บปวดรุนแรงอาจบรรเทาได้ด้วยการรักษาอื่นอย่างการอัลตราซาวด์กระเพาะอาหารหรือการผ่าตัดเพื่อปิดกั้นเส้นประสาทที่ส่งสัญญาณจากตับอ่อนไปยังสมอง
  • เอนไซม์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการย่อยอาหาร: การเสริมเอนไซม์ตับอ่อนสามารถช่วยร่างกายย่อยและจัดการสารอาหารต่าง ๆ ได้ 
  • การเปลี่ยนอาหาร: แพทย์อาจแนะนำให้คุณไปพบนักโภชนาการเพื่อให้พวกเขาช่วยวางแผนอาหารที่มีไขมันต่ำและปรับให้คุณทานแต่อาหารที่มีคุณค่าสูงแก่คุณแทน

วิถีการใช้ชีวิตและการฟื้นฟูที่บ้าน

เมื่อคุณออกจากโรงพยาบาล คุณต้องค่อย ๆ ปฏิบัติตัวตามคำแนะนำของแพทย์เพื่อให้ฟื้นตัวจากโรคตับอักเสบให้เร็วที่สุด อย่างเช่น:

  • หยุดดื่มแอลกอฮอล์: หากคุณไม่สามารถทำการหยุดหรือเลิกแอลกอฮอล์ด้วยตนเองได้ ให้สอบถามหาความช่วยเหลือจากแพทย์ โดยพวกเขาอาจแนะนำให้คุณไปยังโปรแกรมช่วยเหลือตามท้องที่แก่คุณ
  • หยุดสูบบุหรี่: หากคุณเป็นคนสูบบุหรี่หรือหากคุณไม่ได้สูบบุหรี่ ให้หยุดเสีย หากคุณไม่สามารถทำการหยุดหรือเลิกบุหรี่ได้ ให้สอบถามหาความช่วยเหลือจากแพทย์ที่อาจแนะนำให้คุณไปยังโปรแกรมปรึกษาหรือใช้ยาช่วยเหลือกับคุณได้
  • เลือกรับประทานอาหารไขมันต่ำ: อย่างเช่นผลไม้และผักสด ธัญยาพืช และโปรตีนที่ดี
  • ดื่มน้ำให้มากขึ้น: โรคตับอ่อนอักเสบทำให้ร่างกายขาดน้ำ คุณต้องทำการดื่มน้ำให้มากขึ้นตลอดทั้งวัน จะให้ดีคุณควรพกขวดน้ำหรือแก้วน้ำไปทุก ๆ ที่ด้วย

การรักษาอื่น ๆ

การบำบัดบางประเภทสามารถช่วยจัดการความเจ็บปวดที่มาจากโรคตับอ่อนอักเสบให้คุณได้ด้วย

ผู้ที่เป็นโรคตับอ่อนอักเสบเรื้อรังอาจประสบกับความเจ็บปวดต่อเนื่องที่ไม่สามารถควบคุมได้ด้วยยาทั่วไป ทำให้แพทย์ต้องใช้การบำบัดพร้อมกับการใช้ยาแทน

ตัวอย่างของการบำบัดที่ช่วยควบคุมความเจ็บปวดมีดังนี้:

  • การทำสมาธิ
  • การออกกำลังกายเพื่อผ่อนคลาย
  • โยคะ
  • การฝังเข็ม

การเตรียมความพร้อมเข้าพบแพทย์

เริ่มจากการเข้าพบแพทย์ประจำตัวของคุณหากคุณมีอาการหรือสัญญาณที่ทำให้คุณเป็นกังวล หากแพทย์สงสัยว่าคุณอาจเป็นโรคตับอ่อนอักเสบ คุณอาจถูกส่งตัวไปพบกับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคทางระบบทางเดินอาหารโดยเฉพาะ

เนื่องจากการนัดพบเป็นช่วงเวลาสั้น ๆ แต่มีหลายเรื่องที่คุณต้องพูดคุยกับแพทย์ จึงควรทำการเตรียมตัวล่วงหน้ามาก่อน ข้อมูลต่อไปนี้จะเป็นหลักปฏิบัติที่ช่วยให้คุณเตรียมตัวเข้าพบแพทย์แต่ละครั้ง:

คุณสามารถทำอย่างไรได้บ้าง?

  • เข้าใจถึงข้อจำกัดต่าง ๆ ก่อนการนัดหมาย: ในช่วงเวลาที่พบแพทย์ คุณต้องทราบก่อนว่าคุณต้องเตรียมตัวอย่างไรก่อน อย่างเช่นการงดรับประทานอาหารล่วงหน้า เป็นต้น
  • จดรายการอาการต่าง ๆ ที่คุณประสบมา: รวมไปถึงอาการความผิดปรกติที่ดูเหมือนไม่เกี่ยวข้องกับสาเหตุที่แพทย์ส่งคุณมาพบผู้เชี่ยวชาญ
  • จดข้อมูลส่วนตัวที่สำคัญมา: รวมไปถึงความเครียดหลัก หรือการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ในชีวิต
  • จดรายการยาที่กำลังใช้อยู่: รวมไปถึงวิตามินหรืออาหารเสริมต่าง ๆ 
  • พาสมาชิกในครอบครัวหรือเพื่อนมาด้วย: ในบางครั้งการจดจำข้อมูลทุกอย่างที่แพทย์ป้อนมาให้เป็นเรื่องที่ยากเกินไป หากนำบุคคลที่สามมาด้วยจะทำให้คุณสามารถเก็บตกข้อมูลต่าง ๆ ได้มากขึ้น
  • จดคำถามที่ต้องการจะถามมาล่วงหน้า

สำหรับกรณีโรคตับอ่อนอักเสบ คำถามที่คุณควรต้องสอบถามแพทย์มีดังนี้:

  • อะไรเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการหรือโรค?
  • ความเป็นไปได้ของสาเหตุอื่น ๆ ?
  • การทดสอบที่คุณต้องเข้ารับมีอะไรบ้าง?
  • โรคที่คุณเป็น เป็นแบบเรื้อรังหรือเฉียบพลัน?
  • แนวทางจัดการที่ดีที่สุดคืออะไร?
  • มีวิธีรักษาอื่น ๆ ที่แพทย์อยากเสนอหรือไม่?
  • หากมีสภาวะสุขภาพอื่น ๆ อยู่ จะสามารถจัดการร่วมกับการรักษาโรคตับอ่อนอักเสบได้อย่างไร?
  • มีข้อจำกัดใดที่ต้องปฏิบัติหรือไม่?
  • ควรไปพบผู้เชี่ยวชาญหรือไม่? มีค่าใช้จ่ายประมาณเท่าไร? และประกันสุขภาพของคุณครอบคลุมถึงเรื่องนี้หรือไม่?
  • มีการรักษาที่สามารถใช้แทนยาที่แพทย์จ่ายให้หรือไม่?
  • มีแผ่นพับหรือกระดาษข้อมูลที่คุณสามารถพกกลับบ้านได้หรือไม่? หรือมีเว็บไซต์ใดที่แพทย์แนะนำหรือไม่?
  • อะไรเป็นตัวบ่งชี้ว่าคุณควรวางแผนการเข้าพบติดตามผล?

นอกจากคำถามเหล่านี้แล้ว คุณควรถามคำถามอื่น ๆ ตามความสงสัยไปด้วย

ความคาดหวังระหว่างการพบแพทย์

แพทย์ของคุณจะสอบถามคุณในเรื่องต่าง ๆ ให้คุณเตรียมความพร้อมตอบคำถามอย่างซื่อตรงและรวดเร็วที่สุดเพื่อไม่เป็นการเสียเวลาทั้งสองฝ่าย:

  • อาการครั้งแรกเกิดขึ้นเมื่อไร?
  • อาการของคุณเป็นแบบต่อเนื่องหรือนาน ๆ เกิดที?
  • ความรุนแรงของอาการมีมากขนาดไหน?
  • อะไรเป็นตัวที่ช่วยทำให้อาการดีขึ้น?
  • อะไรเป็นตัวที่ช่วยทำให้อาการแย่ลง?
  • คุณเคยมีอาการเหล่านั้นมาก่อนหรือไม่?
  • คุณเคยถูกวินิจฉัยว่าเป็นโรคตับอ่อนอักเสบมาก่อนหรือไม่?
  • คุณดื่มแอลกอฮอล์หรือไม่? หากใช่ ดื่มปริมาณและความถี่เท่าไร?
  • คุณได้เริ่มใช้การรักษาก่อนมีอาการหรือไม่?
  • สมาชิกในครอบครัวของคุณมีใครเป็นโรคตับอ่อนอักเสบหรือไม่?

20 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Acute pancreatitis - Causes. NHS (National Health Service). (https://www.nhs.uk/conditions/acute-pancreatitis/causes/)
Acute & Chronic Pancreatitis: Symptoms, Treatment, Causes & Diet. MedicineNet. (https://www.medicinenet.com/pancreatitis/article.htm)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป