ความอยากอาหารเพิ่มมากขึ้น (Increased Appetite)

หากรู้สึกว่าหิวบ่อย และรับประทานอาหารมากกว่าที่เคยทานต่อเนื่องเป็นเวลานาน โดยที่ไม่ได้ทำกิจกรรมแตกต่างจากเดิม อาจเกิดจากภาวะทางสุขภาพบางอย่างได้
เผยแพร่ครั้งแรก 6 พ.ค. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
ความอยากอาหารเพิ่มมากขึ้น (Increased Appetite)

หากรู้สึกหิวบ่อยมากขึ้น หรือรับประทานอาหารในปริมาณมากกว่าที่เคยทาน หมายถึงร่างกายมีความอยากอาหารมากขึ้น และแน่นอนว่าการรับประทานอาหารมากกว่าที่ร่างกายต้องการก็จะทำให้น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น

เป็นเรื่องปกติถ้าจะรู้สึกหิวมากขึ้นหลังจากการออกแรงมากๆ เช่น การออกกำลังกาย หรือทำกิจกรรมต่างๆ แต่ถ้าความอยากอาหารเพิ่มขึ้นเป็นระยะเวลานาน อาจเป็นสัญญาณของโรคร้ายแรง เช่น โรคเบาหวาน หรือโรคฮอร์โมนไทรอยด์มากเกิน (Hyperthyroidism)

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

นอกจากการเจ็บป่วยทางกายแล้ว ความผิดปกติทางจิต เช่น ภาวะซึมเศร้า และการสะสมเครียดยังสามารถนำไปสู่การรับประทานอาหารที่มากเกินความจำเป็นได้

สาเหตุที่ทำให้ความอยากอาหารเพิ่มมากขึ้น

อาการหิวบ่อย หรือหิวอยู่ตลอดเวลา อาจเป็นอาการของโรคหรือปัญหาอื่นๆ เกี่ยวกับสุขภาพได้ เช่น

  • ความเครียด และความวิตกกังวล : ทำให้สมองหลั่งสารคอร์ติซอลออกมามาก ทำให้ร่างกายมีกลไกตอบสนองด้วยการอยากรับประทานอาหารมากกว่าปกติ

  • โรคซึมเศร้า : ทำให้ฮอร์โมนและสมดุลร่างกายเปลี่ยนไปจากเดิม ซึ่งอาจนำไปสู่การไม่รับประทานอาหารเลย หรือรับประทานอาหารตลอดเวลา

  • กลุ่มอาการก่อนมีประจำเดือน (Premenstrual Syndrome) : อาการทางกายภาพและอารมณ์ที่มีการเปลี่ยนแปลงช่วงก่อนมีประจำเดือน

  • ปฏิกิริยาตอบสนองต่อยาบางชนิด : เช่น กลุ่มยาสเตียรอยด์ กลุ่มยารักษาโรคซึมเศร้า และยา Cyproheptadine

  • การตั้งครรภ์ : การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในร่างกาย ทำให้หิวง่าย รวมถึงมีความรู้อยากอยากทานอาหารที่แตกต่างไปจากเดิม

  • โรคบูลิเมีย (Bulimia) : ซึ่งเป็นโรคเกี่ยวกับการทานอาหารโดยผู้ป่วยจะกินหรือดื่มอย่างหนัก แล้วล้วงคออาเจียนออกหรือใช้ยาระบายเพื่อไม่ให้น้ำหนักตัวเพิ่ม

  • โรคฮอร์โมนไทรอยด์มากเกิน (Hyperthyroidism) : มีผลทำให้รู้สึกหิวบ่อยขึ้น

  • โรคเกรฟ (Graves’ Disease) : โรคภูมิต้านทานทำลายตนเอง และกระตุ้นให้ต่อมไทรอยด์ของคุณผลิตฮอร์โมนไทรอยด์มากเกินไป

  • ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ (Hypoglycemia) : ทำให้รู้อยากรับประทานอาหาร โดยเฉพาะของหวาน ร่วมกับอาการมือสั่น ใจสั่น

  • โรคเบาหวาน : โรคเรื้อรังชนิดหนึ่งที่ทำให้ร่างกายมีปัญหาในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด

การวินิจฉัยสาเหตุของอาการอยากอาหารเพิ่มขึ้นผิดปกติ

หากความอยากอาหารเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ให้รีบไปพบแพทย์เพื่อหาความผิดปกติที่เกิดขึ้น ควรตอบคำถามต่างๆ ที่แพทย์ถามตามความจริง เช่น เรื่องของการควบคุมอาหาร การลดน้ำหนัก การรับประทานอาหารแต่ละมื้อ การออกกำลังกาย โรคประจำตัว หรือการใช้ยาเสพติด เป็นต้น เพื่อให้แพทย์สามารถประเมินอาการเบื้องต้นได้

หากยังไม่สามารถหาสาเหตุได้ แพทย์อาจพิจารณาให้มีการตรวจเลือดและวัดการทำงานของต่อมไทรอยด์เพื่อวัดระดับของฮอร์โมนไทรอยด์ในร่างกาย รวมถึงอาจมีการส่งตัวไปยังผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิต เพื่อวินิจฉัยว่าอาการอยากอาหารเพิ่มขึ้น เกิดจากโรคทางจิตเวชหรือไม่

การรักษาอาการอยากอาหารเพิ่มขึ้น

อย่าพยายามควบคุมน้ำหนัก หรือหยุดรับประทานอาหารดื้อๆ โดยไม่ปรึกษาแพทย์ก่อน เพราะทางเลือกการรักษาที่เหมาะสมจะขึ้นอยู่กับสาเหตุของความอยากอาหารที่เพิ่มขึ้น เช่น

  • หากได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคเบาหวาน แพทย์จะสอนเกี่ยวกับวิธีการต่างๆ ในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด และวิธีการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าหากอาการกำเริบขึ้น

  • หากปัญหาความอยากอาหารเกิดจากยาที่ใช้รักษาโรค แพทย์อาจเปลี่ยนเป็นตัวยาทางเลือกอื่น หรือปรับขนาดยา อย่าหยุดรับประทานยาตามใบสั่งแพทย์ด้วยตนเอง หรือเปลี่ยนขนาดยาโดยไม่ปรึกษาแพทย์

9 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Ann Pietrangelo, What causes increased appetite? (https://www.healthline.com/symptom/increased-appetite), October 19, 2016.
Why am I always hungry? 17 reasons for hunger even after eating. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/324523)
Increased Hunger, Food Cravings, Food Reward, and Portion Size Selection after Sleep Curtailment in Women Without Obesity. National Center for Biotechnology Information. (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC6470707/)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
อะไรคือภาวะผิดปกติทางอารมณ์จากการใช้สาร
อะไรคือภาวะผิดปกติทางอารมณ์จากการใช้สาร

เมื่อแอลกอฮอล์ สารเสพติดและยาทำให้คุณรู้สึกแย่กว่าเดิม

อ่านเพิ่ม