7 วิธีแก้ปัญหา เริม ที่ดีที่สุด

เผยแพร่ครั้งแรก 30 ก.ย. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
7 วิธีแก้ปัญหา เริม ที่ดีที่สุด

เริมนั้นมีลักษณะเป็นตุ่มน้ำที่อยู่ใต้ผิวหนังรอบๆ ปากหรือบนริมฝีปาก มันอาจจะแตกและมีน้ำและสะเก็ดออกมารอบๆ ได้ และมักจะมีอาการประมาณ 7-10 วัน ซึ่งในระหว่างนั้นจะเป็นช่วงที่คุณรู้สึกไม่สบายตัวอย่างมาก แต่วิธีเหล่านี้อาจจะช่วยได้

ผู้ใหญ่ประมาณ 90% ทั่วโลกนั้นจะตรวจพบเชื้อไวรัสที่ทำให้เกิดโรคเริม และส่วนมากมักจะไม่เคยมีอาการ แต่บางคนอาจจะมีอาการได้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

โรคเริมนั้นเป็นอการของการติดเชื้อไวรัส herpes simplex virus (HSV-1) ถึงแม้ว่าเชื้อ HSV-2 นั้นสามารถทำให้เกิดเริมได้เช่นกันก็ได้ เวลาที่ผู้ป่วยนั้นสัมผัสกับเชื้อ พวกเขาจะมีอาการได้ภายในเวลาไม่กี่วัน การเป็นในครั้งแรกนั้นจะรุนแรงที่สุด และอาจจะมีไข้ เจ็บคอ ปวดและปวดหัวได้

แต่หลังจากมีอาการครั้งแรกแล้ว เชื้อไวรัสก็ยังคงอาศัยอยู่ในร่างกายโดยอยู่ในเซลล์ประสาท

และมักจะมีอาการซ้ำอีกครั้งเมื่อร่างกายนั้นถูกกระตุ้นด้วยความเครียด การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน การผ่าตัด มีไข้ อาการเจ็บปวดหรือได้รับแสงแดดเป็นต้น ถึงแม้ว่าอาการเหล่านี้จะหลีกเลี่ยงไม่ได้แต่ก็มีบางวิธีที่สามารถทำให้มีอาการสั้นลงได้

คุณสามารถลองใช้วิธีต่อไปนี้ในการรักษาได้แต่มันก็อาจจะไม่ได้ได้ผลในทุกๆ คน การใช้ยาฆ่าเชื้อไวรัสนั้นเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพมากกว่าทั้งในแง่ของการรักษาและการป้องกันการกลับเป็นซ้ำ   

Lemon balm

Lemon balm นั้นเป็นพืชตระกูลเดียวกับมิ้นท์ซึ่งอาจจะสามารถช่วยลดอาการบวมและแดงที่เกิดจากตุ่มน้ำได้ อย่างไรก็ตามอาจจะไม่สามารถบรรเทาอาการปวดและสะเก็ดได้ มีงานวิจัยที่เสนอให้ใช้ลิปมันที่มีส่วนผสมของ lemon balm อย่างน้อย 1% หรืออาจจะใช้ชาจาก lemon balm มาประคบที่บริเวณดังกล่าว นอกจากนั้น lemon balm อาจจะช่วยป้องกันการกลับเป็นซ้ำอีกด้วย

ยาฆ่าเชื้อไวรัส

ผลิตภัณฑ์ที่มีสาร docosanol หรือ benzyl alcohol นั้นอาจจะช่วยลดระยะเวลาที่มีอาการได้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

น้ำแข็ง

น้ำแข็งนั้นอาจจะไม่ได้ช่วยให้หายเร็วขึ้นแต่สามารถลดอาการไม่สบายและการอักเสบที่เกิดขึ้นได้ คุณสามารถใช้น้ำแข็งประคบที่บริเวณที่เป็นตุ่มน้ำโดยตรงเพื่อบรรเทาอาการ

อะโลเวร่า

เจลอะโลเวร่านั้นหาซื้อได้ทั่วไป แม้ว่าจะมีงานวิจัยที่พูดถึงการใช้อะโลเวร่าในการรักษาโรคเริมอยู่จำกัด แต่ก็พบว่าการทาอะโลเวร่าภายนอกนั้นอาจจะช่วยลดอาการที่ผิวหนังเวลาที่เริ่มเป็นตุ่มน้ำได้ เชื่อว่าอาจเกิดจากฤทธิ์ต้านการอักเสบในอะโลเวร่า

ครีมกันแดด

ครีมกันแดดนั้นไม่เพียงแต่ป้องกันริมฝีปากเวลาที่เริมนั้นกำลังค่อยๆ หายเท่านั้น แต่ยังอาจจะช่วยป้องกันการกลับเป็นซ้ำได้หากทาที่ริมฝีปากเป็นประจำทุกวัน ควรใช้ผลิตภัณฑ์ที่มี SPF อย่างน้อย 30 ขึ้นไปและทาทุกครั้งที่คุณคาดว่าจะต้องออกแดด

ลดความเครียด

เนื่องจากความเครียดนั้นสามารถกระตุ้นเชื้อไวรัสได้ ดังนั้นการลดความเครียดในชีวิตจึงเป็นวิธีหนึ่งในการป้องกันการเป็นโรคเริม การนั่งสมาธิ ออกกำลังกายเป็นประจำและหลีกเลี่ยงสาเหตุที่ทำให้เกิดความเครียดในชีวิตอาจจะช่วยได้

Ibuprofen หรือพาราเซตามอล

ยาทั้ง 2 ตัวนี้จะช่วยบรรเทาอาการปวดที่เกิดจากโรคเริมได้

ยาที่ต้องให้แพทย์สั่ง

โรคเริมนั้นสามารถหายได้เองในเวลาไม่กี่วัน แต่ก็มียาหลายตัวที่อาจจะสามารถช่วยทำให้หายเร็วขึ้นได้ หากคุณมีอาการปีละหลายครั้ง คุณอาจจะใช้ยาฆ่าเชื้อไวรัสตลอดทั้งปีเพื่อป้องกันการเกิดโรคเริม ตัวอย่างยาที่สามารถใช้ได้ประกอบด้วย

  • Acyclovir
  • Valacyclovir
  • Famciclovir
  • Penciclovir

สรุป

วิธีเหล่านี้ รวมถึงการลดความเครียดและดูแลสุขภาพให้แข็งแรงนั้นจะช่วยลดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคเริมซ้ำได้ และลดอาการปวดที่เกิดขึ้นจากโรคเริม


11 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Here’s How You Can Get Rid of a Cold Sore (Fast!). Health Essentials from Cleveland Clinic. (https://health.clevelandclinic.org/heres-how-you-can-get-rid-of-a-cold-sore-fast/)
The 9 Best Cold Sore Medicines of 2020. Verywell Health. (https://www.verywellhealth.com/best-cold-sore-medicines-4172210)
Cold sores: Home remedies and other treatment. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/311864)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป