การรับประทานยากลุ่ม statin นั้นส่งผลต่อประสิทธิภาพของวัคซีนไข้หวัดใหญ่หรือไม่?

เผยแพร่ครั้งแรก 15 ก.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
การรับประทานยากลุ่ม statin นั้นส่งผลต่อประสิทธิภาพของวัคซีนไข้หวัดใหญ่หรือไม่?

นักวิจัยพบว่าการรับประทานยากลุ่ม statin นั้นอาจส่งผลต่อการตอบสนองของภูมิคุ้มกันในร่างกาย

ยาในกลุ่ม statin นั้นเป็นยาที่มีข้อดีหลายประการ เช่นช่วยเพิ่มอัตราการรอดชีวิตหลังจากการเกิดภาวะหัวใจขาดเลือด, ลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเส้นเลือดสมองอุดตันซ้ำ และยังเป็นยาลด cholesterol ตัวเดียวที่ช่วยลดการเกิดภาวะหัวใจขาดเลือดและการเสียชีวิตในผู้ป่วยกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงและไม่ได้เป็นโรคหัวใจ นอกจากจะสามารถลดระดับ cholesterol ได้แล้วนั้น ยาในกลุ่มนี้นังทำให้ระดับความอักเสบที่เกิดขึ้นในร่างกายลดลง ซึ่งอาจเป็นกลไกที่ทำให้ยาสามารถป้องกันการเกิดภาวะหัวใจขาดเลือดและเส้นเลือดสมองอุดตัน อย่างไรก็ตามผลดังกล่าวอาจทำให้การตอบสนองของภูมิคุ้มกันร่างกายต่อการติดเชื้อนั้นลดลงเช่นกัน

ความสัมพันธ์ระหว่างการใช้ยากลุ่ม statin และการตอบสนองของภูมิคุ้มกัน

มีงานวิจัย 2 ชิ้นที่ทำการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการใช้ยาในกลุ่ม statin กับการตอบสนองของภูมิคุ้มกันร่างกายหลังจากได้รับวัคซีนไข้หวัดใหญ่ งานวิจัยชิ้นแรกนั้นได้ทำการเก็บข้อมูลผู้ป่วยและหาความสัมพันธ์ระหว่างการใช้ยากในกลุ่ม statin, การได้รับวัคซีนไข้หวัดใหญ่ และความถี่ในการพบแพทย์จากการมีอาการคล้ายไข้หวัด พบว่าผู้ป่วยที่รับประทานยาในกลุ่ม statin และได้รับวัคซีนไข้หวัดใหญ่นั้นจะมาพบแพทย์ด้วยอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่มากกว่าผู้ที่ไม่ได้รับประทานยา แสดงว่าผู้ป่วยที่ได้รับยานั้นอาจจะตอบสนองต่อวัคซีนไข้หวัดใหญ่ได้น้อยกว่าปกติ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

งานวิจัยอีกชิ้นหนึ่งนั้นเป็นการเก็บข้อมูลของผู้ที่เข้าร่วมการวิจัยเพื่อพัฒนาวัคซีนไข้หวัดใหญ่ชนิดใหม่ และพบว่าผู้ที่รับประทานยาในกลุ่ม statin อยู่นั้นจะมีระดับภูมิคุ้มกันต่อไวรัสไข้หวัดใหญ่ต่ำกว่าผู้ที่ไม่ได้รับประทานยา

อย่างไรก็ตาม งานวิจัยทั้งสองชิ้นนี้ก็มีข้อจำกัดในการแปลผล เนื่องจากผู้ที่รับประทานยากลุ่ม statin ส่วนใหญ่นั้นมักจะมีโรคประจำตัวรุนแรงอยู่เดิมเช่นเบาหวาน โรคหัวใจ โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ความผิดปกติทางระบบประสาท หรือโรคไต ดังนั้นการที่ผู้ป่วยกลุ่มนี้ตอบสนองต่อวัคซีนไข้หวัดใหญ่น้อยกว่ากลุ่มที่ไม่ได้รับประทานยานั้นอาจเกิดจากโรคประจำตัวของพวกเขาเองและไม่ได้เกิดจากการใช้ยากลุ่ม statin นอกจากนั้นมีงานวิจัยชิ้นหนึ่งที่ทำการศึกษาในผู้ที่มีสุขภาพแข็งแรง และพบว่าการรับประทานยากลุ่ม statin นั้นไม่ได้ส่งผลต่อการตอบสนองของภูมิคุ้มกันร่างกายต่อวัคซีนตับอักเสบ A

นอกจากนั้นยังมีงานวิจัยอีกหลายชิ้นที่พูดถึงการใช้ยาในกลุ่ม statin กับผลต่อระบบภูมิคุ้มกันในร่างกาย เช่นพบว่าการใช้ยาในกลุ่ม statin นั้นอาจจะช่วยลดความเสี่ยงจากการเสียชีวิตจากไข้หวัดใหญ่ เพิ่มความเสี่ยงเล็กน้อยต่อการเกิดงูสวัส ลดความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะปอดอักเสบ แต่ไม่มีผลต่อความเสี่ยงในการเกิดภาวะปอดอักเสบ และลดความเสี่ยงในการเสียชีวิตจากภาวะปอดอักเสบ

อย่าเพิ่งหยุดยา statin เอง

จากข้อมูลในปัจจุบันยังมีหลักฐานไม่มากพอที่จะทำให้แพทย์ต้องทำการเปลี่ยนแปลงแนวทางในการรักษาด้วยการใช้ยาในกลุ่ม statin เพราะยาในกลุ่มนี้มีประโยชน์หลายด้าน แต่ยังคงต้องทำการศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับผลของยาต่อความเสี่ยงในการติดเชื้อ


4 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Do statins interfere with the flu vaccine?. Harvard Health. (https://www.health.harvard.edu/blog/do-statins-interfere-with-the-flu-vaccine-201511308695)
Immunogenicity, Efficacy, and Effectiveness of Influenza Vaccinesplushome. Centers for Disease Control and Prevention (CDC). (https://www.cdc.gov/flu/professionals/acip/immunogenicity.htm)
Effect of Statin Use on Influenza Vaccine Effectiveness. National Center for Biotechnology Information. (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC5034952/)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
เตือนภัย 6 โรคยอดฮิต! ที่มากับหน้าหนาว
เตือนภัย 6 โรคยอดฮิต! ที่มากับหน้าหนาว

6 โรคพบบ่อยในหน้าหนาว ไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่ ปอดบวม หัด อุจจาระร่วง ไข้สุกใส พร้อมวิธีดูแลรักษาและป้องกัน

อ่านเพิ่ม
ข้อยกเว้นของสิทธิในการปฏิเสธการรักษา
ข้อยกเว้นของสิทธิในการปฏิเสธการรักษา

เมื่อไหร่ที่คุณจะไม่สามารถปฏิเสธการรักษาได้

อ่านเพิ่ม