การติดเชื้อจากการผ่าตัด

เผยแพร่ครั้งแรก 1 ก.พ. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 4 นาที
การติดเชื้อจากการผ่าตัด

จากความเจริญก้าวหน้าของเทคโนโลยีทางการแพทย์ในปัจจุบันทำให้ผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาโรคด้วยการผ่าตัดมีจำนวนเพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ โดยผู้ป่วยส่วนใหญ่มักมีการเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรังอื่น ๆ ร่วมด้วยอยู่แล้ว ประกอบกับการระบาดของเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพหลายชนิดในปัจจุบัน ทำให้ผู้ป่วยที่เข้ารับการผ่าตัดมีโอกาสเสี่ยงต่อการติดเชื้อภายหลังการผ่าตัดมากขึ้น

โดยพบการติดเชื้อที่ตำแหน่งผ่าตัดคิดเป็นร้อยละ 20 ของการติดเชื้อในโรงพยาบาลทั้งหมด การติดเชื้อที่เกิดขึ้นทำให้ผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดต้องอยู่รับการรักษาในโรงพยาบาลนานขึ้น ทำให้เสียค่าใช้จ่ายสูงขึ้นตามมา และหากผู้ป่วยมีการติดเชื้อรุนแรงลุกลามอาจส่งผลให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้ ดังนั้น การเฝ้าระวังและป้องกันการติดเชื้อภายหลังการผ่าตัดจึงมีความสำคัญเป็นอย่างมาก ซึ่งจะช่วยลดค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลและลดอัตราการเสียชีวิตลงได้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

สาเหตุของการติดเชื้อภายหลังการผ่าตัด

การติดเชื้อภายหลังการผ่าตัดเกิดได้จากหลายสาเหตุ 

  • เชื้อโรค อาจเป็นเชื้อโรคที่แฝงตัวอยู่ในร่างกายของผู้ป่วยเองอยู่ก่อนแล้ว หรืออาจเป็นเชื้อโรคจากภายนอกที่ปนเปื้อนเครื่องมือเครื่องใช้
  • สิ่งแวดล้อม หรือจากบุคคลากรทางการแพทย์ที่เกี่ยวข้อง
  • ตัวผู้ป่วยเอง สำหรับปัจจัยด้านผู้ป่วยเป็นปัจจัยที่เกี่ยวข้องตั้งแต่ในระยะก่อนผ่าตัด ซึ่งหลายปัจจัยผู้ป่วยสามารถป้องกันได้ประกอบด้วยปัจจัยดังต่อไปนี้
    • อายุ โดยพบว่าเด็กและผู้สูงอายุมีโอกาสเกิดการติดเชื้อที่ตำแหน่งผ่าตัดได้มากกว่าวัยอื่น ๆ เนื่องจากระบบการทำงานของร่างกายเด็กยังไม่สมบูรณ์และมีการสร้างภูมิคุ้มกันได้น้อย ในขณะที่ผู้สูงอายุ เซลล์ที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับภูมิคุ้มกันทำหน้าที่ลดลง
    • ภาวะขาดสารอาหารก่อนผ่าตัด มีผลโดยตรงต่อความสามารถในการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันเพื่อตอบสนองต่อกระบวนการอักเสบและการติดเชื้อ
    • ความอ้วน (ดัชนีมวลกาย ≥ 30 กิโลกรัมต่อตารางเมตร) โดยเนื้อเยื่อชั้นไขมันจะมีเลือดไปเลี้ยงน้อยลง ส่งผลให้ความต้านทานต่อการติดเชื้อลดลงตามไปด้วย
    • การได้รับการรักษาด้วยยากดภูมิคุ้มกันก่อนการผ่าตัด เช่น ยาในกลุ่มสเตียรอยด์ โดยยาจะไปยับยั้งการทำงานของระบบต่อมนํ้าเหลือง จึงทำให้ผู้ป่วยเสี่ยงต่อการติดเชื้อได้ มากขึ้น แผลหายช้าลง
    • ภาวะโรคร่วมอื่น ๆ ที่เป็นอยู่ก่อนผ่าตัด ผู้ป่วยที่มีโรคร่วมที่เป็นอยู่ก่อนผ่าตัดมีความเสี่ยงที่จะเกิดการติดเชื้อภายหลังการผ่าตัดสูงขึ้น เช่น ผู้ป่วยโรคเบาหวาน โรคมะเร็ง โรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง เป็นต้น

นอกจากนี้ การผ่าตัดในปัจจุบันแพทย์ส่วนใหญ่อาจมีการใช้ไหมละลายเพื่อเย็บบาดแผลให้ยึดติดกัน ไหมละลายที่ใช้ถือว่าเป็นสิ่งแปลกปลอมที่อยู่ในร่างกาย สำหรับผู้ป่วยบางรายที่มีความไวต่อสิ่งแปลกปลอมสูงอาจเกิดการอักเสบของบาดแผลได้ง่ายและรวดเร็วกว่าปกติ โดยไหมละลายจะทำปฏิกิริยาต่อเนื้อเยื่อของร่างกายส่งผลให้แผลเกิดการอักเสบและติดเชื้อตามมาได้ 

สำหรับก้อนเลือดที่ค้างอยู่ในบาดแผลระหว่างการผ่าตัดก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดการติดเชื้อในแผลผ่าตัดได้ หากการอักเสบติดเชื้อเกิดขึ้นโดยไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้องอย่างทันท่วงทีหรือผู้ป่วยมีร่างกายอ่อนแออยู่แล้ว ก็อาจทำให้ผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือดอย่างรุนแรงและเกิดการเสียชีวิตตามมาได้

สัญญาณเตือนของการติดเชื้อภายหลังการผ่าตัด 

ภายหลังการผ่าตัดผู้ป่วยอาจรู้สึกเจ็บปวดบริเวณบาดแผลผ่าตัดได้ เนื่องจากผิวหนังหรือเนื้อเยื่อบริเวณแผลผ่าตัดเกิดการบาดเจ็บจึงเกิดการเจ็บปวดที่บาดแผลตามมา โดยส่วนใหญ่แพทย์มักให้ยาลดอาการปวดและยาลดอักเสบร่วมด้วย หากผู้ป่วยพบแพทย์ตามนัดและดูแลรักษาบาดแผลให้สะอาดอยู่เสมอก็จะช่วยลดความเสี่ยงในการติดเชื้อได้

อย่างไรก็ตาม การติดเชื้อภายหลังการผ่าตัดอาจเกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัยร่วมกัน โดยมีวิธีง่าย ๆ ในการเฝ้าระวังและสังเกตเบื้องต้นว่าบาดแผลมีการติดเชื้อ ดังนี้

  • บริเวณแผลผ่าตัดมีอาการอักเสบ ได้แก่ ปวดหรือกดเจ็บบริเวณแผลผ่าตัด แผลผ่าตัดบวม แดง หรือร้อน อย่างใดอย่างหนึ่ง
  • ผู้ป่วยมีหนองออกจากรอยผ่าตัด
  • ผู้ป่วยรู้สึกหนาว มือและเท้าเย็นมาก ป่วยเป็นไข้ขึ้นสูง หายใจเร็วขึ้น ชีพจรเต้นเร็ว ผู้ป่วยบางรายอาการอาจค่อย ๆ เป็นหนักขึ้น ซึ่งเป็นข้อบ่งชี้ของอาการติดเชื้อในกระแสเลือด

หากผู้ป่วยพบอาการดังกล่าวอย่างใดอย่างหนึ่งต้องรีบพบแพทย์เพื่อรับการรักษาโดยเร็วที่สุด

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

การป้องกันการติดเชื้อที่ตำแหน่งผ่าตัด

อาศัยการจัดการกับปัจจัยที่เป็นสาเหตุในการติดเชื้อที่ตำแหน่งผ่าตัดทั้ง 3 องค์ประกอบ ได้แก่ ปัจจัยด้านผู้ป่วย เชื้อก่อโรค และสิ่งแวดล้อม

  • ปัจจัยด้านตัวผู้ป่วยที่เข้ารับการผ่าตัด แพทย์จะประเมินผู้ป่วยที่จะได้รับการผ่าตัดอย่างละเอียด และแก้ไขปัญหาสุขภาพหรือโรคร่วมก่อนผ่าตัด เพื่อให้ผู้ป่วยมีความพร้อมก่อนการผ่าตัด ลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อภายหลังผ่าตัด เช่น การฟื้นฟูผู้ป่วยสูงอายุ ผู้ป่วยขาดสารอาหาร ผู้ป่วยมะเร็ง หรือผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาด้วยเคมีบำบัดฉายรังสี หรือยากดภูมิคุ้มกัน ให้มีภูมิคุ้มกันที่ดีก่อนเข้ารับการผ่าตัด
  • สำหรับการจัดการกับปัจจัยด้านเชื้อโรคและสิ่งแวดล้อม แนะนำว่าผู้ป่วยควรเข้ารับการผ่าตัดที่สถานพยาบาลที่ได้รับการรับรองและมีความน่าเชื่อถือ มีความสะอาดถูกสุขลักษณะ โดยอุปกรณ์และเครื่องมือผ่าตัดต้องผ่านการฆ่าเชื้อโรค ทีมบุคลากรทางการแพทย์ที่เกี่ยวข้องกับการผ่าตัดต้องสวมหมวกคลุมผม สวมเสื้อกาวน์ ผ้าปิดปาก-จมูก และถุงมือปราศจากเชื้อตลอดการผ่าตัด นอกจากนี้แพทย์ต้องทำความสะอาดผิวหนังของผู้ป่วยด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อก่อนการผ่าตัด 

จะเห็นได้ว่า นอกเหนือจากปัจจัยด้านตัวผู้ป่วยเองแล้ว หลาย ๆ ปัจจัยที่ช่วยป้องกันการติดเชื้อที่ตำแหน่งผ่าตัดเป็นสิ่งที่ตัวผู้ป่วยเองไม่สามารถควบคุมได้แต่เพียงฝ่ายเดียว แต่ต้องอาศัยทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเป็นผู้ดูแลช่วยเหลือและป้องกัน ดังนั้น การเลือกสถานพยาบาลที่มีความน่าเชื่อถือ สะอาด ถูกตามหลักมาตรฐาน เพื่อเข้ารับการผ่าตัดจึงเป็นปัจจัยหนึ่งที่สำคัญเป็นอย่างยิ่ง เพื่อลดความเสี่ยงในการติดเชื้อของผู้ป่วยภายหลังการผ่าตัด

การรักษาแผลติดเชื้อภายหลังการผ่าตัด

  • สำหรับปัจจัยด้านผู้ป่วย ตัวผู้ป่วยเองควรรักษาสุขภาพให้แข็งแรง ทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ควบคุมระดับนํ้าตาลในเลือดให้น้อยกว่า 200 mg/dL รวมถึงระดับไตรกลีเซอร์ไรด์ให้อยู่ในช่วง 40-160 mg/dL และความดันเลือดไม่ให้สูงเกิน 120/80 มิลลิลิตรปรอท
  • การจัดการกับปัจจัยด้านเชื้อโรคและสิ่งแวดล้อม แพทย์ผู้ให้การรักษาอาจพิจารณาใช้ยาปฏิชีวนะเพื่อรักษาการติดเชื้อ โดยแพทย์อาจให้ยาปฏิชีวนะชนิดฉีดร่วมกับชนิดรับประทาน หรือชนิดใดชนิดหนึ่งขึ้นอยู่กับความรุนแรงของการติดเชื้อการป้องกันและรักษาอาการติดเชื้อภายหลังการผ่าตัดจำเป็นต้องอาศัยการประสานความร่วมมือกันระหว่างทีมแพทย์และตัวผู้ป่วยเอง

เพื่อลดความเสี่ยงและป้องกันการติดเชื้อภายหลังการผ่าตัดให้ได้มากที่สุด


12 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Signs and Symptoms of an Infection After Surgery. Verywell Health. (https://www.verywellhealth.com/signs-and-symptoms-of-an-infection-3156917)
Signs of Infection After Surgery. Healthline. (https://www.healthline.com/health/signs-of-infection-after-surgery)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
ทำความรู้จักกับการผ่าตัดยกกระชับหน้าอก
ทำความรู้จักกับการผ่าตัดยกกระชับหน้าอก

บอกลาเต้านมหย่อนคล้อย หย่อนยาน ด้วยการผ่าตัดยกกระชับหน้าอก อีกทางเลือกหนึ่งของการศัลยกรรมหน้าอก

อ่านเพิ่ม
การรักษาภาวะ Acute Respiratory Distress Syndrome (ARDS)
การรักษาภาวะ Acute Respiratory Distress Syndrome (ARDS)

การรักษาภาวะ ARDS โดยทั่วไป

อ่านเพิ่ม